ยักษ์ใหญ่ซอฟต์แวร์ธุรกิจอย่างออราเคิล (Oracle) ช็อกโลกไอทีด้วยการประกาศว่าพร้อมซื้อซันไมโครซิสเต็มส์ (Sun Microsystems) ด้วยราคา 7.4 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 2.59 แสนล้านบาท ผลที่เกิดขึ้นคือโปรแกรมภาษาจาวา (Java) ที่แฝงตัวอยู่ทั่วทุกแห่งในโลกไอทีนั้นจะต้องย้ายค่ายไปอยู่ใต้ชายคาออราเคิลด้วย
ไม่เพียงออราเคิลจะเป็นเจ้าของภาษาจาวา ซึ่งอุปกรณ์พกพาทั่วโลกกว่า 1 พันล้านชนิดรองรับการทำงานอยู่ในขณะนี้ ออราเคิลจะได้ระบบปฏิบัติการ Solaris และซอฟต์แวร์ฐานข้อมูล MySQL ไว้ในครอบครองด้วย
จริงอยู่ที่เพชรทั้ง 3 เม็ดนี้เป็นโอเพ่นซอร์สที่มีการแจกจ่ายฟรีอย่างแพร่หลายบนอินเทอร์เน็ต แต่ที่ผ่านมา ซันสามารถทำเงินจากการให้บริการแก้ไขและบำรุงรักษาระบบโอเพ่นซอร์สเหล่านี้แก่องค์กรบริษัทอย่างเป็นกอบเป็นกำ จุดนี้ออราเคิลเชื่อว่า หลังการควบรวม ออราเคิลจะสามารถบริหารงานและทำเงินจากธุรกิจนี้ได้มากกว่าที่ซันเคยทำได้
สนนราคา 7.4 พันล้านเหรียญที่ออราเคิลจะได้ซันมาครอบครองนั้นคิดเป็นมูลค่าหุ้นเฉลี่ย 9.5 เหรียญต่อหุ้น สูงกว่าที่ไอบีเอ็มเคยเสนอไว้ 9.4 เหรียญ ออราเคิลแสดงว่าตัวเองเห็นความคุ้มค่าของซันด้วยการประกาศว่า จาวาคือซอฟต์แวร์ภาษาคอมพิวเตอร์ที่สำคัญที่สุดเมื่อเทียบกับซอฟต์แวร์ที่ออราเคิลเคยซื้อมา จุดนี้นักวิเคราะห์ช่วยตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า ธุรกิจใหม่ของออราเคิลนาม Oracle Fusion Middleware ที่เติบโตอย่างรวดเร็วนั้นก็มีพื้นฐานบนจาวา ขณะที่ผลิตภัณฑ์อื่นๆของซันอย่างระบบปฏิบัติการ Sun Solaris ก็เป็นแพลตฟอร์มหลักที่ออราเคิลสนับสนุนมาโดยตลอด
มูลค่าหุ้นของซันเพิ่มขึ้น 36.77 เปอร์เซ็นต์รับข่าวนี้ ปิดที่ 9.15 เหรียญสหรัฐ ขณะที่มูลค่าหุ้นของออราเคิลลดลง 1.26 เปอร์เซ็นต์ ปิดที่ 18.82 เหรียญ เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาตามเวลาสหรัฐฯ
แลลรี่ เอลลิสัน (Larry Ellison) ซีอีโอออราเคิลกล่าวในแถลงการณ์ว่า การควบรวมกับซันครั้งนี้จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมไอทีโลก ระบุว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้นคือการประสานกันระหว่างซอฟต์แวร์สำหรับองค์กรประสิทธิภาพเยี่ยมและระบบการคำนวณคุณภาพสูง
"ออราเคิลจะเป็นเพียงบริษัทเดียวที่สามารถวางระบบและแอปพลิเคชันครบวงจรเพื่อการทำงานร่วมกันขององค์กรได้ในราคาที่ถูกลง แต่มีความเสถียร มั่นคงปลอดภัยมากขึ้น เชื่อว่า การซื้อซันจะทำให้บริษัทสามารถทำกำไรเพิ่มขึ้น 1.5 พันล้านเหรียญในช่วงปีแรก และจะเพิ่มเป็นตัวเลขเกิน 2 พันล้านเหรียญในปีต่อไป"
สอดคล้องกับ สก็อต แมคเนียลี (Scott McNealy) ประธานซันที่เรียกดีลนี้ว่า "การให้นิยามใหม่แก่อุตสาหกรรม" โดยขณะนี้ ทั้งซันและออราเคิลยังต้องรอมติอนุมัติจากผู้ถือหุ้นซันอย่างเป็นทางการอีกครั้ง พร้อมกับการอนุมัติจากคณะกรรมการตรวจสอบหลักทรัพย์สหรัฐฯ ด้วย คาดว่าการควบรวมจะแล้วเสร็จภายในฤดูร้อน ปีนี้
นักวิเคราะห์เชื่อว่าการซื้อซันจะทำให้ออราเคิลมีภาษีที่ดีขึ้นในธุรกิจฮาร์ดแวร์ เนื่องจากซันมีดีกรีเป็นผู้ผลิตเซิร์ฟเวอร์รายใหญ่อันดับ 4 ของโลก แม้ว่าจะสูญเสียส่วนแบ่งตลาดให้ไอบีเอ็ม เอชพี และเดลล์อย่างต่อเนื่องก็ตาม ขณะเดียวกัน ออราเคิลจะได้รับส่วนแบ่งในตลาดดาต้าเซ็นเตอร์มากขึ้น และสามารถให้บริการระบบแอปพลิเคชันแบบฝังรวมที่ครบวงจรได้ดียิ่งขึ้น ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และบริการในส่วนของซัน นักวิเคราะห์บางรายเชื่อว่าการถูกซื้อบริษัทจะทำให้ซันหายใจได้ทั่วท้องตามที่ต้องการ แต่จะยังมีความสับสนในอนาคตธุรกิจฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของซัน เนื่องจากยังไม่มีความชัดเจนว่าออราเคิลจะจัดการกับธุรกิจฮาร์ดแวร์ของซันอย่างไรในยุคที่ซันมีแนวโน้มส่วนแบ่งตลาดลดลงต่อเนื่องเช่นนี้
ในส่วนอื่นๆ นักวิเคราะห์เชื่อว่าไอบีเอ็มจะหันกลับมาทบทวนกลยุทธ์ของตัวเองอีกครั้งอย่างเร่งด่วน นอกจากนี้ การเจรจาซื้อขายบริษัทระหว่างซันและออราเคิลจะสร้างจุดสนใจให้กับคณะกรรมการกำกับดูแลการค้ายุติธรรมสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผู้ที่ออกมาแสดงความกังวลต่อข่าวลือว่าไอบีเอ็มจะซื้อซันซึ่งเกิดขึ้นก่อนหน้านี้
ขณะนี้ ซันมีพนักงานทั่วโลก 33,500 คน ถือเป็นตัวเลขที่สูงกว่า 12,000 คนซึ่งเป็นยอดพนักงานบริษัท PeopleSoft ที่ออราเคิลซื้อมารายล่าสุดด้วยเงิน 1.11 หมื่นล้านเหรียญเมื่อปี 2005 โดยขณะนี้ออราเคิลมีพนักงานราว 86,000 คนบนตัวเลขรายได้ปีงบการเงินล่าสุด 2.24 หมื่นล้านเหรียญ
Company Related Links : Oracle Sun
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์21 เมษายน 2552 15:49 น.
วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2552
วันศุกร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2552
3 ยักษ์ปลาดิบสานฝันใช้สมองควบคุมหุ่นยนต์
3 หน่วยงานยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น ฮอนด้า (Honda), สถาบันวิจัย ATR และบริษัท Shimazu จับมือกันพัฒนาเครื่องควบคุมหุ่นยนต์ด้วยสมองสำเร็จครั้งแรกของโลก การสาธิตทำให้เห็นว่าหุ่นยนต์เด็กอาสิโม (Asimo) สามารถยกมือและขาได้เพราะสัญญาณไฟฟ้าที่แปลงมาจากคลื่นสมองของมนุษย์ล้วนๆ
บริษัทสถาบันวิจัยฮอนด้า Honda Research Institute Japan Co., Ltd. ในเครือบริษัท Honda R&D ร่วมมือกับสถาบันวิจัยเทคโนโลยีก้าวหน้านานาชาติ Advanced Telecommunications Research Institute International (ATR) และบริษัท Shimadzu Corporation พัฒนาเทคโนโลยีเครื่องติดต่อสมองหรือ Brain Machine Interface (BMI) ซึ่งนำเทคโนโลยีการตรวจคลื่นสมอง EEG และเทคนิคการวิเคราะห์การกระทำ near-infrared spectroscopy (NIRS) มาใช้ในการแปลงคลื่นสมองเป็นสัญญาณไฟฟ้าสำหรับสั่งการหุ่นยนต์อย่างแท้จริง
จากการสาธิต อาสิโมสามารถเคลื่อนไหวได้โดยที่ผู้สาธิตไม่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อกดปุ่มใดๆ เชื่อว่าเทคโนโลยีแสนสบายนี้จะถูกนำไปพัฒนาเป็นแอปพลิเคชันเพื่อใช้ในนานาอุปกรณ์อัจฉริยะหรือหุ่นยนต์ในอนาคต
ส่วนที่สำคัญที่สุดของการพัฒนาเทคโนโลยี BMI นั้นอยู่ที่การตรวจจับและวิเคราะห์การหมุนเวียนของเลือดและความเปลี่ยนแปลงภายในสมองขณะเกิดความคิด ข้อมูลระบุว่าเซ็นเซอร์ตรวจจับคลื่นสมอง EEG จะทำหน้าที่เป็นตัวแปลงคลื่นสมองที่ได้ให้อยู่ในรูปสัญญาณไฟฟ้า ขณะที่เซ็นเซอร์การวิเคราะห์ NIRS จะทำหน้าที่แปลงการหมุนเวียนของเลือดในสมองออกมาเป็นคำสั่ง โดยระบบ BMI จะรวบรวมข้อมูลที่สลับซับซ้อนจากเซ็นเซอร์ทั้งสองชนิดเพื่อนำมาประมวลผล และส่งออกสัญญาณคำสั่งที่ได้ไปยังหุ่นยนต์
สถาบันวิจัยฮอนด้าและ ATR เปิดตัวเทคโนโลยี BMI ตั้งแต่ปี 2006 เริ่มจากการใช้เครื่องสแกนภาพ functional magnetic resonance imaging (fMRI) ใช้คลื่นวิทยุและสนามแม่เหล็กที่มีความเข้มสูงกว่าการฉายแสงมาสแกนสมองเพื่อดูว่าสมองส่วนไหนมีเส้นเลือดที่ขยายตัวเป็นพิเศษ ซึ่งภาพที่ได้จะสามารถแสดงความแตกต่างของสมองในภาวะแตกต่างกันได้ แต่ด้วยข้อจำกัดด้านสถานที่และเงื่อนไขในการใช้งานทำให้หันมาใช้เซ็นเซอร์ EEG และ NIRS ซึ่งมีความยืดหยุ่นในการใช้งานมากกว่าแทน
ยังไม่มีรายงานแผนการพัฒนาในเชิงพานิชย์ของฮอนด้าในขณะนี้ โดยในปี 2007 ฮิตาชิ (Hitachi) ผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของญี่ปุ่นเคยประกาศความสำเร็จในการพัฒนาเทคโนโลยี BMI ในรูปหมวกอ่านคลื่นสมองเช่นกัน แต่มีจุดประสงค์ในการพัฒนาเพื่อนำไปใช้เป็นรีโมทอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แห่งโลกอนาคต ที่ผู้ใช้จะสามารถเปิด ปิด และเปลี่ยนช่องทีวีได้โดยใช้ความคิดเท่านั้น
ขอบคุณภาพจากเอเอฟพี
บริษัทสถาบันวิจัยฮอนด้า Honda Research Institute Japan Co., Ltd. ในเครือบริษัท Honda R&D ร่วมมือกับสถาบันวิจัยเทคโนโลยีก้าวหน้านานาชาติ Advanced Telecommunications Research Institute International (ATR) และบริษัท Shimadzu Corporation พัฒนาเทคโนโลยีเครื่องติดต่อสมองหรือ Brain Machine Interface (BMI) ซึ่งนำเทคโนโลยีการตรวจคลื่นสมอง EEG และเทคนิคการวิเคราะห์การกระทำ near-infrared spectroscopy (NIRS) มาใช้ในการแปลงคลื่นสมองเป็นสัญญาณไฟฟ้าสำหรับสั่งการหุ่นยนต์อย่างแท้จริง
จากการสาธิต อาสิโมสามารถเคลื่อนไหวได้โดยที่ผู้สาธิตไม่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อกดปุ่มใดๆ เชื่อว่าเทคโนโลยีแสนสบายนี้จะถูกนำไปพัฒนาเป็นแอปพลิเคชันเพื่อใช้ในนานาอุปกรณ์อัจฉริยะหรือหุ่นยนต์ในอนาคต
ส่วนที่สำคัญที่สุดของการพัฒนาเทคโนโลยี BMI นั้นอยู่ที่การตรวจจับและวิเคราะห์การหมุนเวียนของเลือดและความเปลี่ยนแปลงภายในสมองขณะเกิดความคิด ข้อมูลระบุว่าเซ็นเซอร์ตรวจจับคลื่นสมอง EEG จะทำหน้าที่เป็นตัวแปลงคลื่นสมองที่ได้ให้อยู่ในรูปสัญญาณไฟฟ้า ขณะที่เซ็นเซอร์การวิเคราะห์ NIRS จะทำหน้าที่แปลงการหมุนเวียนของเลือดในสมองออกมาเป็นคำสั่ง โดยระบบ BMI จะรวบรวมข้อมูลที่สลับซับซ้อนจากเซ็นเซอร์ทั้งสองชนิดเพื่อนำมาประมวลผล และส่งออกสัญญาณคำสั่งที่ได้ไปยังหุ่นยนต์
สถาบันวิจัยฮอนด้าและ ATR เปิดตัวเทคโนโลยี BMI ตั้งแต่ปี 2006 เริ่มจากการใช้เครื่องสแกนภาพ functional magnetic resonance imaging (fMRI) ใช้คลื่นวิทยุและสนามแม่เหล็กที่มีความเข้มสูงกว่าการฉายแสงมาสแกนสมองเพื่อดูว่าสมองส่วนไหนมีเส้นเลือดที่ขยายตัวเป็นพิเศษ ซึ่งภาพที่ได้จะสามารถแสดงความแตกต่างของสมองในภาวะแตกต่างกันได้ แต่ด้วยข้อจำกัดด้านสถานที่และเงื่อนไขในการใช้งานทำให้หันมาใช้เซ็นเซอร์ EEG และ NIRS ซึ่งมีความยืดหยุ่นในการใช้งานมากกว่าแทน
ยังไม่มีรายงานแผนการพัฒนาในเชิงพานิชย์ของฮอนด้าในขณะนี้ โดยในปี 2007 ฮิตาชิ (Hitachi) ผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของญี่ปุ่นเคยประกาศความสำเร็จในการพัฒนาเทคโนโลยี BMI ในรูปหมวกอ่านคลื่นสมองเช่นกัน แต่มีจุดประสงค์ในการพัฒนาเพื่อนำไปใช้เป็นรีโมทอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แห่งโลกอนาคต ที่ผู้ใช้จะสามารถเปิด ปิด และเปลี่ยนช่องทีวีได้โดยใช้ความคิดเท่านั้น
ขอบคุณภาพจากเอเอฟพี
กูเกิลขยาย"Gmail Labs"พร้อมใช้49ภาษาทั่วโลก
กูเกิลพัฒนา Gmail Labs พร้อมใช้งานแล้ว 49 ภาษาทั่วโลก เพื่อเป็นพื้นที่สำหรับทดลองฟีเจอร์ใหม่ๆ ซึ่งเป็นบริการฟรีอีเมลของกูเกิล
พรทิพย์ กองชุน ผู้จัดการฝ่ายการตลาด – ประเทศไทย ของกูเกิล เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า กูเกิลนำเสนอฟีเจอร์ขั้นทดลองแก่ผู้ใช้ทั่วโลกในโอกาสฉลอง Gmail ครบรอบ 5 ปี โดยการพัฒนา Gmail Labs พร้อมใช้งานแล้วใน 49 ภาษาทั่วโลก เพื่อให้ Gmail Labs เป็นพื้นที่สำหรับทดลองฟีเจอร์ใหม่ๆ ซึ่งเป็นบริการฟรีอีเมลของกูเกิล
Gmail Labs นำเสนอเครื่องมือที่แปลกใหม่และเป็นประโยชน์สำหรับการปรับปรุงและปรับแต่งกล่องจดหมายตามความต้องการของผู้ใช้ Gmail Labs เปิดตัวเป็นครั้งแรกในเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษเมื่อเดือนมิถุนายน 2551 โดยนำเสนอ 43 ฟีเจอร์ใน 43 สัปดาห์ และปัจจุบันฟีเจอร์ส่วนใหญ่พร้อมใช้งานทั่วโลกเป็นภาษาท้องถิ่น รวมถึงภาษาไทย ผู้ใช้จะสามารถเปิดและปิดการใช้งานฟีเจอร์ Gmail Labs ได้ง่าย ด้วยการคลิกเมาส์เพียงไม่กี่ครั้งเท่านั้น ตัวอย่างฟีเจอร์ของ Gmail Labs ได้แก่
1.ออฟไลน์ จีเมล (Offline Gmail) – เข้าถึงอีเมลของคุณและเขียนอีเมลแม้กระทั่งในช่วงเวลาที่คุณไม่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ และเมื่อคุณเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอีกครั้ง การเปลี่ยนแปลงที่คุณกระทำก็จะถูกซิงโครไนซ์เข้ากับระบบ
2.ยกเลิกการส่ง (Undo Send) – เพิกถอนการส่งอีเมลหลังจากที่คลิกส่งไปแล้วไม่เกิน 5 วินาที
3.เมาไม่ส่ง (Mail Goggles) – ภายในช่วงเวลาที่กำหนด เครื่องมือนี้จะอนุญาตให้คุณส่งอีเมลได้ในเฉพาะกรณีที่คุณสามารถตอบโจทย์เลขง่ายๆ ได้อย่างถูกต้อง มิฉะนั้นคุณก็ควรจะเข้านอนเสียก่อน แล้วค่อยกลับมาตอบโจทย์อีกครั้งในตอนเช้า
4.เครื่องตรวจจับการลืมไฟล์แนบ (Forgotten Attachment Reminder) – ป้องกันไม่ให้คุณเผลอส่งข้อความโดยไม่ได้แนบไฟล์ที่เกี่ยวข้อง โดยจะมีข้อความแจ้งเตือนปรากฏขึ้นหากคุณเอ่ยถึงไฟล์แนบไว้ในอีเมล แต่คุณยังไม่ได้แนบไฟล์ใดๆ
5.Tasks – เพิ่มรายการสิ่งที่ต้องทำไว้ในกล่องจดหมายของคุณ โดยคุณจะสามารถสร้างรายการงานด้วยตนเอง หรือสร้างจากอีเมลโดยตรง และแก้ไขรายการจากโทรศัพท์ของคุณในขณะที่คุณกำลังเดินทาง
การเปิดตัว Gmail Labs ทั่วโลกในช่วงเวลาที่ Gmail ครบรอบ 5 ปี เป็นการสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องใน Gmail Labs ซึ่งเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงพัฒนาการของ Gmail ตลอดช่วงระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการสร้างโปรแกรมอีเมลที่แปลกใหม่และใช้งานง่ายสำหรับผู้ใช้
“หากมองย้อนกลับไปในอดีตขณะเมื่ออีเมลยังคงผูกติดอยู่กับระบบเดสก์ทอป เราจะพบว่าตอนนั้นอีเมลมีข้อจำกัดอย่างมากทั้งในเรื่องของพื้นที่เก็บข้อมูลและประโยชน์ใช้สอย เนื่องจาก Gmail ทำงานบนระบบ Cloud ที่แปลว่าเมฆในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ดังนั้นเราจึงสามารถสร้างนวัตกรรมได้อย่างรวดเร็ว และนำเสนอฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่สร้างสรรค์และมีประโยชน์ได้อย่างต่อเนื่อง”
ทั้งนี้ ภาษาใหม่ๆ สำหรับ Gmail Lab ได้แก่ เบงกาลี บัลแกเรีย คาตาลัน จีน (ดั้งเดิม, ประยุกต์) โครเอเชีย เช็ก เดนมาร์ก เอสโตเนีย ฟินแลนด์ เยอรมัน กรีก คุชราต ฮินดี ฮังกาเรียน ไอซ์แลนด์ อินโดนีเซีย อิตาลี ญี่ปุ่น คันนาดา เกาหลี ลัตเวีย ลิธัวเนีย มาเลย์ มาลายาลัม มาราธี นอร์เวย์ โอริยะ โปแลนด์ โปรตุเกส (บราซิล, โปรตุเกส) โรมาเนีย รัสเซีย เซอร์เบีย สโลวัก สโลเวเนีย สเปน สวีเดน ตากาล็อก ทมิฬ เตลูกู ไทย ตุรกี ยูเครน และเวียดนาม
Company Related Links : Google Gmail
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 10 เมษายน 2552 09:40 น.
พรทิพย์ กองชุน ผู้จัดการฝ่ายการตลาด – ประเทศไทย ของกูเกิล เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า กูเกิลนำเสนอฟีเจอร์ขั้นทดลองแก่ผู้ใช้ทั่วโลกในโอกาสฉลอง Gmail ครบรอบ 5 ปี โดยการพัฒนา Gmail Labs พร้อมใช้งานแล้วใน 49 ภาษาทั่วโลก เพื่อให้ Gmail Labs เป็นพื้นที่สำหรับทดลองฟีเจอร์ใหม่ๆ ซึ่งเป็นบริการฟรีอีเมลของกูเกิล
Gmail Labs นำเสนอเครื่องมือที่แปลกใหม่และเป็นประโยชน์สำหรับการปรับปรุงและปรับแต่งกล่องจดหมายตามความต้องการของผู้ใช้ Gmail Labs เปิดตัวเป็นครั้งแรกในเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษเมื่อเดือนมิถุนายน 2551 โดยนำเสนอ 43 ฟีเจอร์ใน 43 สัปดาห์ และปัจจุบันฟีเจอร์ส่วนใหญ่พร้อมใช้งานทั่วโลกเป็นภาษาท้องถิ่น รวมถึงภาษาไทย ผู้ใช้จะสามารถเปิดและปิดการใช้งานฟีเจอร์ Gmail Labs ได้ง่าย ด้วยการคลิกเมาส์เพียงไม่กี่ครั้งเท่านั้น ตัวอย่างฟีเจอร์ของ Gmail Labs ได้แก่
1.ออฟไลน์ จีเมล (Offline Gmail) – เข้าถึงอีเมลของคุณและเขียนอีเมลแม้กระทั่งในช่วงเวลาที่คุณไม่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ และเมื่อคุณเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอีกครั้ง การเปลี่ยนแปลงที่คุณกระทำก็จะถูกซิงโครไนซ์เข้ากับระบบ
2.ยกเลิกการส่ง (Undo Send) – เพิกถอนการส่งอีเมลหลังจากที่คลิกส่งไปแล้วไม่เกิน 5 วินาที
3.เมาไม่ส่ง (Mail Goggles) – ภายในช่วงเวลาที่กำหนด เครื่องมือนี้จะอนุญาตให้คุณส่งอีเมลได้ในเฉพาะกรณีที่คุณสามารถตอบโจทย์เลขง่ายๆ ได้อย่างถูกต้อง มิฉะนั้นคุณก็ควรจะเข้านอนเสียก่อน แล้วค่อยกลับมาตอบโจทย์อีกครั้งในตอนเช้า
4.เครื่องตรวจจับการลืมไฟล์แนบ (Forgotten Attachment Reminder) – ป้องกันไม่ให้คุณเผลอส่งข้อความโดยไม่ได้แนบไฟล์ที่เกี่ยวข้อง โดยจะมีข้อความแจ้งเตือนปรากฏขึ้นหากคุณเอ่ยถึงไฟล์แนบไว้ในอีเมล แต่คุณยังไม่ได้แนบไฟล์ใดๆ
5.Tasks – เพิ่มรายการสิ่งที่ต้องทำไว้ในกล่องจดหมายของคุณ โดยคุณจะสามารถสร้างรายการงานด้วยตนเอง หรือสร้างจากอีเมลโดยตรง และแก้ไขรายการจากโทรศัพท์ของคุณในขณะที่คุณกำลังเดินทาง
การเปิดตัว Gmail Labs ทั่วโลกในช่วงเวลาที่ Gmail ครบรอบ 5 ปี เป็นการสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องใน Gmail Labs ซึ่งเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงพัฒนาการของ Gmail ตลอดช่วงระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการสร้างโปรแกรมอีเมลที่แปลกใหม่และใช้งานง่ายสำหรับผู้ใช้
“หากมองย้อนกลับไปในอดีตขณะเมื่ออีเมลยังคงผูกติดอยู่กับระบบเดสก์ทอป เราจะพบว่าตอนนั้นอีเมลมีข้อจำกัดอย่างมากทั้งในเรื่องของพื้นที่เก็บข้อมูลและประโยชน์ใช้สอย เนื่องจาก Gmail ทำงานบนระบบ Cloud ที่แปลว่าเมฆในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ดังนั้นเราจึงสามารถสร้างนวัตกรรมได้อย่างรวดเร็ว และนำเสนอฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่สร้างสรรค์และมีประโยชน์ได้อย่างต่อเนื่อง”
ทั้งนี้ ภาษาใหม่ๆ สำหรับ Gmail Lab ได้แก่ เบงกาลี บัลแกเรีย คาตาลัน จีน (ดั้งเดิม, ประยุกต์) โครเอเชีย เช็ก เดนมาร์ก เอสโตเนีย ฟินแลนด์ เยอรมัน กรีก คุชราต ฮินดี ฮังกาเรียน ไอซ์แลนด์ อินโดนีเซีย อิตาลี ญี่ปุ่น คันนาดา เกาหลี ลัตเวีย ลิธัวเนีย มาเลย์ มาลายาลัม มาราธี นอร์เวย์ โอริยะ โปแลนด์ โปรตุเกส (บราซิล, โปรตุเกส) โรมาเนีย รัสเซีย เซอร์เบีย สโลวัก สโลเวเนีย สเปน สวีเดน ตากาล็อก ทมิฬ เตลูกู ไทย ตุรกี ยูเครน และเวียดนาม
Company Related Links : Google Gmail
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 10 เมษายน 2552 09:40 น.
วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2552
Intel เปิดเผยเทคโนโลยีการผลิตโปรเซสเซอร์แบบ 32 นาโนเมตรเป็นครั้งแรกของโลก
จากการแถลงข่าวที่ทาง Intel ได้จัดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ที่ซานฟานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เปิดเผยถึงความก้าวหน้าทางการพัฒนาเทคโนโลยีโพรเซสเซอร์ที่ลดลงจาก 45 นาโนเมตร เป็น 32 นาโนเมตร โดยในการสาธิตประสิทธิภาพของโปรเซสเซอร์ที่ทำการผลิตด้วยเทคโนโลยี 32 นาโนเมตรนี้จะเป็นการทดสอบทางด้านของ Desktop (PC) และ Laptop (Notebook) ก่อน โดยการผลิตโปรเซสเซอร์ Desktop และ Laptop ด้วยเทคโนโลยี 35 นาโนเมตรนี้ ทาง intel ได้ตั้งชื่อให้ว่า “Westmere” (เวสท์เมียร์) โดยจะเริ่มผลิตในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2552 โดยขั้นตอนการผลิตโปรเซสเซอร์แบบ 32 นาโนเมตรนี้จะส่งผลให้การทำงานของโปรเซสเซอร์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยทาง intel ได้แจ้งว่า “จะทยอยนำโปรเซสเซอร์ที่ใช้ในขั้นตอนการผลิน Westmere นี้ไปใช้กับ Desktop , Laptop และ Saver ตามลำดับ”
ขั้นตอนในการผลิตโปรเซสเซอร์ด้วยเทคโนโลยี 32 นาโนเมตรนี้ จะผลิตด้วยเทคโนโลยีทรานซิสเตอร์ที่มี Hi-K metal gate อยู่ด้วย
Hi-K metal gate คืออะไร??
Hi-K เป็นเทคโนโลยีที่ Intel ได้พัฒนาขึ้นมาจากการผลิตทรานซิสเตอร์ โดยคุณสมบัติของเทคโนโลยีนี้คือ จะช่วยลดการรั่วของกระแสไฟฟ้าภายในทรานซิสเตอร์ ที่มีผลต่อการออกแบบขนาดการผลิตที่เล็กและการใช้พลังงาน เมื่อเปรียบเทียบกับในรุ่นก่อน ๆ อย่าง 45 นาโนเมตรซึ่งใช้ เทคโนโลยี Hi-K นี้เช่นกันในการผลิต จะเห็นได้ว่าด้วยขนาดที่เล็กลงทำให้การลงทรานซิสเตอร์เข้าไปในโปรเซสเซอร์ทำได้ง่ายขึ้น มีผลทำให้การใช้พลังงานลดลงไปด้วย
คุณสมบัติของโปรเซสเซอร์ที่ใช้กระบวนการผลิต “Westmere”
-เทคโนโลยี Intel Turbo Boost : เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยเร่งการทำงานของคอร์ที่ไม่ได้ทำงานอยู่ในขณะนั้น เพื่อเร่งประสิทธิภาพในการประมวลผลของโปรเซสเซอร์
-เทคโนโลยี Intel Hyper-Threading (2 C 4 T)
แคชมีขนาดถึง 4 MB พร้อมทั้ง integrate Memory Controller (IMC) รองรับ DDR 3 -2ch
-เนื่องจากการผลิตด้วยเทคโนโลยี 32 นาโนเมตรนี้ทำให้มีพื้นที่เพียงพอสำหรับลงระบบกราฟิกในตัวเพื่อรองรับการทำงานของการใช้การ์ดจอแยกและสลับการทำงานระหว่างกราฟิกในตัวของโปรเซสเซอร์และการ์ดจอ
ตารางรหัส ของ Nahalem และ Westmere และรายละเอียดทั้งหมด
-Desktop เครื่อง PC : ในส่วนของ High-End ในส่วนของ Nelgalem (45nm) รหัส Bloonfield จะมีแกนประมวลผล 4 Core กับ 8 Task ในส่วนของ Mainstream จะเป็นรหัส Lynnfield โดยจะมีแกนประมาวผล 4 Core กับ 8 Task และ Westmere (32 nm) มีรหัสที่ชื่อว่า Guftown มีแกนประมวลผลเพิ่มขึ้นเป็น 6 Core 12 Task ในด้านกลุ่ม Desktop ในระดับกลาง- ล่าง จะเป็นรหัส Ckarkdale จะมีแกนประมวลผลเพียง 2 Core 4 Tesk เนื่องจากมีชิบประมวลผลกราฟฟิก (iGFX)
-Mobile เครื่อง Netbook และ Notebook : ในส่วนของ Nelgalem (45nm) รหัส Arrandale มีแกนประมวลผล 2 Core 4 Tesk และมีชิบประมวลผลกราฟฟิกใส่รวมไปด้วย
-ในส่วนของ Server ทาง intel ในส่วนของ 32 นาโน นั้นยังไม่เปิดเผยรายละเอียดมากพอ
เข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.intel.com/pressroom
97% ของอีเมล์เป็น "สแปม"
เช้านี้ประเด็นข่าวที่น่าตกใจคงหนีไม่พ้นเรื่องของอีเมล์ที่มีรายงานออกมาว่า 97.3% ของอีเมล์ที่ได้รับในปี 2008 เป็น "สแปม" ความจริงต้องบอกว่า สถิติที่ไมโครซอฟท์รายงานครั้งนี้ไม่ได้แย่อย่างที่คิดนะครับ เพราะมันลดลงจากปี 2007 ที่มีการส่งสแปมสูงถึง 98.4% กันเลยทีเดียว
ไมโครซอฟท์รายงานเพิ่มเติมว่า จากผลสำรวจสแปมที่ถูกส่งเข้าไปใน Junk Mail ส่วนใหญ่จะเป็นโฆษณายาจากบริษัทห้างร้านขายยาต่างๆ โดยมีมากถึง 72% โดยในส่วนของสแปมที่เสนอขายยาเพิ่มสมรรถนะทางเพศอย่างเช่น Viagra หรือ Cialis ในปีที่ผ่านมามีจำนวนลดลงไปอย่างเห็นได้ชัด ในขณะที่สแปมที่แนบไฟล์อันตรายเติบโตจากปีก่อนหน้านั้นถึง 17% ซึ่งสถิติเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตกเป็นเหยื่อไฟล์แนบอันตรายที่มากับสแปมเมล์ทั่วโลกระบุว่า ทุกๆ 1,000 เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ได้รับสแปมลักษณะนี้ จะมี 8.3 เครื่องที่โดนเล่นงาน
นอกจากนี้ ผลการสำรวจยังพบอีกว่า ซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยจอมปลอมที่หลอกให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดไปติดตั้ง เพื่อป้องกันไวรัส แต่ความจริงกลับไม่ได้ทำอะไรเลย (หลอกให้จ่ายเงินฟรี) หรือไม่ก็ขโมยข้อมูลส่วนตัวของเหยื่อ มีจำนวนเพิ่มขึ้น ที่แพร่หลายมากๆ ก็คือ Win32/Renos แอพพลิเคชันที่พบในคอมพิวเตอร์กว่า 70% ซึ่งมันเป็นโทรจันที่สามารถดาวน์โหลดโปรแกรม Antivirusxp ไปติดตังบนเครื่องผู้ใช้ได้โดยตรง สันนิษฐานว่า พวกมันจะได้รับการติดตั้งไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วโลกว่า 4.4 ล้านเครื่อง
แม้โปรแกรมอันตรายจะแพร่กระจายไปกับสแปมจนระบบกรองของ Exchange รายงานว่า มีการกำจัดอีเมล์ที่ไม่ต้องการ 39 ฉบับในทุกๆ 40 ฉบับก็ตาม แต่รายงานดังกล่าวยังตั้งข้อสังเกตว่า มีเพียง 0.8% ของคอมพิวเตอร์ทั่วโลกที่โดนเล่นงานจากมัลแวร์เหล่านี้
ไมโครซอฟท์รายงานเพิ่มเติมว่า จากผลสำรวจสแปมที่ถูกส่งเข้าไปใน Junk Mail ส่วนใหญ่จะเป็นโฆษณายาจากบริษัทห้างร้านขายยาต่างๆ โดยมีมากถึง 72% โดยในส่วนของสแปมที่เสนอขายยาเพิ่มสมรรถนะทางเพศอย่างเช่น Viagra หรือ Cialis ในปีที่ผ่านมามีจำนวนลดลงไปอย่างเห็นได้ชัด ในขณะที่สแปมที่แนบไฟล์อันตรายเติบโตจากปีก่อนหน้านั้นถึง 17% ซึ่งสถิติเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตกเป็นเหยื่อไฟล์แนบอันตรายที่มากับสแปมเมล์ทั่วโลกระบุว่า ทุกๆ 1,000 เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ได้รับสแปมลักษณะนี้ จะมี 8.3 เครื่องที่โดนเล่นงาน
นอกจากนี้ ผลการสำรวจยังพบอีกว่า ซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยจอมปลอมที่หลอกให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดไปติดตั้ง เพื่อป้องกันไวรัส แต่ความจริงกลับไม่ได้ทำอะไรเลย (หลอกให้จ่ายเงินฟรี) หรือไม่ก็ขโมยข้อมูลส่วนตัวของเหยื่อ มีจำนวนเพิ่มขึ้น ที่แพร่หลายมากๆ ก็คือ Win32/Renos แอพพลิเคชันที่พบในคอมพิวเตอร์กว่า 70% ซึ่งมันเป็นโทรจันที่สามารถดาวน์โหลดโปรแกรม Antivirusxp ไปติดตังบนเครื่องผู้ใช้ได้โดยตรง สันนิษฐานว่า พวกมันจะได้รับการติดตั้งไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วโลกว่า 4.4 ล้านเครื่อง
แม้โปรแกรมอันตรายจะแพร่กระจายไปกับสแปมจนระบบกรองของ Exchange รายงานว่า มีการกำจัดอีเมล์ที่ไม่ต้องการ 39 ฉบับในทุกๆ 40 ฉบับก็ตาม แต่รายงานดังกล่าวยังตั้งข้อสังเกตว่า มีเพียง 0.8% ของคอมพิวเตอร์ทั่วโลกที่โดนเล่นงานจากมัลแวร์เหล่านี้
IE8 แตะเบรค Firefox ไม่สำเร็จ!!!
รายงานข่าวล่าสุดแจ้งว่า ส่วนแบ่งตลาดของบราวเซอร์ไฟร์ฟอกซ์ (Firefox) ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่โครม (Chrome) ของกูเกิ้ล และซาฟารี (Safari) ของแอปเปิ้ลมีการเติบโตเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ซึ่งดูเหมือนว่า IE 8 ที่เพิ่งเปิดตัวได้สองสัปดาห์จะไม่สามารถยับยั้งการเติบโตของคู่แข่งได้เลย
จากข้อมูลสถิติการใช้บราวเซอร์ทั่วโลกพบว่า ไมโครซอฟท์ยังคงสูญเสียส่วนแบ่งตลาดบราวเซอร์ให้กับไฟร์ฟอกซ์ของโมซิลล่าอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลล่าสุดจาก Net Applications ระบุว่า IE ตกลงจาก 67.44% ในเดือนกุมภาพันธ์มาอยู่ที่ 66.82% ในเดือนมีนาคม ซึ่งสวนทางกับคู่แข่งอย่าง Firefox ที่มีส่วนแบ่งตลาดโตขึ้นจาก 21.77% ไปเป็น 22.05% ในช่วงเวลาเดียวกัน
ส่วนทางด้านบราวเซอร์ Chrome ของ Google และ Safari ของ Apple มีการเติบโตเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดย Chrome มีการเติบโตจาก 1.15% ไปเป็น 1.23% ส่วน Safari เพิ่มขึ้นจาก 8.02% ไปเป็น 8.23% ผลสำรวจตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคมที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม สถิติข้างต้นอาจจะยังไม่ใช่ข้อสรุปที่ถูกต้องนัก เนื่องจากหากพิจารณาเฉพาะ IE 8 เพียงอย่างเดียวจะพบว่า มันมีส่วนแบ่งตลาดที่เติบโตเร็วมาก โดยสถิติล่าสุดเมื่อวันที่ 31 มีนาคม IE 8 สามารถแย่งแชร์มาได้สูงถึง 3.07% ในขณะเดียวกันยั้งส่งผลต่อยอดผู้ใช้ IE โดยรวมเพิ่มขึ้นถึง 1.83% ซึ่งคงต้องให้เวลากับบราวเซอร์ตัวนี้ได้พิสูจน์ตัวเองต่อไป นอกจากนี้ หาก Windows 7 ออกมาได้ตามกำหนดจริง ก็จะยิ่งเป็นตัวเร่งเครื่องให้ส่วนแบ่งตลาด IE เพิ่มขึ้นได้อีก ถึงเวลานั้น Firefox และบราวเซอร์ตัวอื่นๆ คงต้องงัดกลยุทธ์ไม้เด็ดกันออกมาป้องกันส่วนแบ่งตลาดที่อาจจะถูกแย่งคืนกลับไปก็ได้
ที่มา :
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02com04290152&day=2009-01-29ionid=0209
-->
Tags: IE8 Firefox Browser
จากข้อมูลสถิติการใช้บราวเซอร์ทั่วโลกพบว่า ไมโครซอฟท์ยังคงสูญเสียส่วนแบ่งตลาดบราวเซอร์ให้กับไฟร์ฟอกซ์ของโมซิลล่าอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลล่าสุดจาก Net Applications ระบุว่า IE ตกลงจาก 67.44% ในเดือนกุมภาพันธ์มาอยู่ที่ 66.82% ในเดือนมีนาคม ซึ่งสวนทางกับคู่แข่งอย่าง Firefox ที่มีส่วนแบ่งตลาดโตขึ้นจาก 21.77% ไปเป็น 22.05% ในช่วงเวลาเดียวกัน
ส่วนทางด้านบราวเซอร์ Chrome ของ Google และ Safari ของ Apple มีการเติบโตเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดย Chrome มีการเติบโตจาก 1.15% ไปเป็น 1.23% ส่วน Safari เพิ่มขึ้นจาก 8.02% ไปเป็น 8.23% ผลสำรวจตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคมที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม สถิติข้างต้นอาจจะยังไม่ใช่ข้อสรุปที่ถูกต้องนัก เนื่องจากหากพิจารณาเฉพาะ IE 8 เพียงอย่างเดียวจะพบว่า มันมีส่วนแบ่งตลาดที่เติบโตเร็วมาก โดยสถิติล่าสุดเมื่อวันที่ 31 มีนาคม IE 8 สามารถแย่งแชร์มาได้สูงถึง 3.07% ในขณะเดียวกันยั้งส่งผลต่อยอดผู้ใช้ IE โดยรวมเพิ่มขึ้นถึง 1.83% ซึ่งคงต้องให้เวลากับบราวเซอร์ตัวนี้ได้พิสูจน์ตัวเองต่อไป นอกจากนี้ หาก Windows 7 ออกมาได้ตามกำหนดจริง ก็จะยิ่งเป็นตัวเร่งเครื่องให้ส่วนแบ่งตลาด IE เพิ่มขึ้นได้อีก ถึงเวลานั้น Firefox และบราวเซอร์ตัวอื่นๆ คงต้องงัดกลยุทธ์ไม้เด็ดกันออกมาป้องกันส่วนแบ่งตลาดที่อาจจะถูกแย่งคืนกลับไปก็ได้
ที่มา :
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02com04290152&day=2009-01-29ionid=0209
-->
Tags: IE8 Firefox Browser
วันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2552
"อินเทล"ส่งโปรเซสเซอร์เอ็นเตอร์ไพรส์ รองรับเครือข่ายอนาคต
อินเทลเปิดตัวโปรเซสเซอร์ระดับเอ็นเตอร์ไพรส์พร้อมกัน 17 รุ่น นำโดยอินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรีส์ 5500 ซึ่งเป็นโปรเซสเซอร์สำหรับเซิร์ฟเวอร์ที่รองรับระบบเครือข่ายการสื่อสารในอนาคต และเป็นการเปลี่ยนโฉมระบบอินเทอร์เน็ต
นายเอกรัศมิ์ อวยสินประเสริฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า อินเทลได้มีการเปิดตัวโปรเซสเซอร์ระดับเอ็นเตอร์ไพรส์พร้อมกัน 17 รุ่น ซึ่งนำโดยอินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรีส์ 5500 ชื่อรหัสเดิมคือ เนฮาเลม-อีพี (Nehalem-EP) เป็นรุ่นที่มีเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยมากช่วยเพิ่มความเร็วและการใช้งาน ที่หลากหลายของระบบอย่างเห็นได้ชัด
ชิปรุ่นใหม่นี้สามารถปรับระดับการใช้พลังงานตามปริมาณทรานเซ็กชันของดาต้าเซ็นเตอร์และความต้องการดึงฐานข้อมูลลูกค้าได้โดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ ยังมีบทบาทสำคัญต่อการค้นพบสิ่งใหม่ๆ ทางวิทยาศาสตร์ของนักวิจัยที่ใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์เป็นพื้นฐานในการทำวิจัย ขณะเดียวกัน ยังมีประสิทธิภาพด้านการประหยัดพลังงาน จึงช่วยประหยัดค่าไฟได้มาก
“ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรีส์ 5500 สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของยูสเซอร์ และจะเป็นการเปลี่ยนแปลงการใช้งานอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ ยังเชื่อว่าตลาดเซิร์ฟเวอร์ไพรส์เพอร์ฟอร์แมนซ์จะเป็นตัวเปลี่ยนแปลงตลาดอีกอย่างคือเรื่องคอนโซดิเดตที่จะทำให้คนซื้อเซิร์ฟเวอร์”
สำหรับซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรีส์ 5500 ซึ่งมีด้วยกัน 4 รุ่น ประกอบด้วย L5518, L5508, E5540 และ E5504 มีบริการรองรับตลอดระยะเวลาการใช้งานนานถึง 7 ปี สำหรับตลาดธุรกิจด้านการสื่อสารและเทคโนโลยีระบบการประมวลผลแบบฝังตัว (embedded) จะสามารถใช้กับอุปกรณ์พื้นฐานด้านการสื่อสารที่มีอยู่ในปัจจุบันได้ เช่น ระบบโทรศัพท์แบบใช้สายและระบบโทรสาร และยังรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ในอนาคต เช่น เทคโนโลยี 4G และการสื่อสารแบบโฮโลกราฟ (holographic communication)
โปรเซสเซอร์รุ่นล่าสุดทั้งหมด โดดเด่นด้วยเทคโนโลยี อินเทล เวอร์ชวลไลเซชัน สำหรับการเชื่อมต่อ Directed I/O ซึ่งจะช่วยให้สามารถผสานรวบรวมคุณสมบัติต่างๆ และจัดการแอปพลิเคชันเทเลโฟนีรุ่นเก่าเข้ากับซอฟต์แวร์ใหม่ๆ ได้ ส่งผลให้สามารถประหยัดพื้นที่และประหยัดพลังงาน
นอกจากนี้ โปรเซสเซอร์ดังกล่าวยังรองรับประสิทธิภาพการทำงานของเครือข่าย 10GbE ตอบสนองได้ตรงตามความต้องการที่หลากหลายของเทคโนโลยีการสื่อสารทั้งในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งรวมถึงเทคโนโลยี VoIP, 3G, 4G, บริการ video-on-demand และเทคโนโลยีฮอโลแกรม
ซีออน โปรเซสเซอร์ รุ่น L5518 และ L5508 เป็นรุ่นที่ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษ เพื่อรองรับตลาดด้านการสื่อสาร โดยสองรุ่นนี้มาพร้อมออพชั่นการใช้พลังงานระดับต่ำสำหรับแอปพลิเคชันขนาดเล็กที่มีข้อจำกัดด้านอุณหภูมิ เช่น เบลด และอุปกรณ์พื้นฐานเพื่อใช้กับแอปพลิเคชันด้านระบบการสื่อสาร ความปลอดภัย จัดเก็บข้อมูล และด้านการแพทย์ รวมถึงการใช้กับ เซิร์ฟเวอร์แบบแร็กที่มีความน่า เชื่อถือและเสถียรภาพสูง เซิร์ฟเวอร์รุ่นเฉพาะต่างๆ และรุ่นที่มีฟอร์มแฟกเตอร์ต่างๆ ที่อยู่นอกเหนือแบบมาตรฐาน เช่น โมดูลเราท์เตอร์ และเทคโนโลยีซับมารีน เป็นต้น
ส่วนราคาอินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ รุ่น L5518, L5508, E5540 และ E5504 จำหน่ายในราคา 530, 423, 744 และ 224 เหรียญสหรัฐตามลำดับต่อปริมาณซื้อที่ 1,000 ตัว ซึ่งไม่ใช่ราคาขายปลีก
Company Related Links : Intel
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์1 เมษายน 2552 11:38 น.
นายเอกรัศมิ์ อวยสินประเสริฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า อินเทลได้มีการเปิดตัวโปรเซสเซอร์ระดับเอ็นเตอร์ไพรส์พร้อมกัน 17 รุ่น ซึ่งนำโดยอินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรีส์ 5500 ชื่อรหัสเดิมคือ เนฮาเลม-อีพี (Nehalem-EP) เป็นรุ่นที่มีเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยมากช่วยเพิ่มความเร็วและการใช้งาน ที่หลากหลายของระบบอย่างเห็นได้ชัด
ชิปรุ่นใหม่นี้สามารถปรับระดับการใช้พลังงานตามปริมาณทรานเซ็กชันของดาต้าเซ็นเตอร์และความต้องการดึงฐานข้อมูลลูกค้าได้โดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ ยังมีบทบาทสำคัญต่อการค้นพบสิ่งใหม่ๆ ทางวิทยาศาสตร์ของนักวิจัยที่ใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์เป็นพื้นฐานในการทำวิจัย ขณะเดียวกัน ยังมีประสิทธิภาพด้านการประหยัดพลังงาน จึงช่วยประหยัดค่าไฟได้มาก
“ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรีส์ 5500 สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของยูสเซอร์ และจะเป็นการเปลี่ยนแปลงการใช้งานอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ ยังเชื่อว่าตลาดเซิร์ฟเวอร์ไพรส์เพอร์ฟอร์แมนซ์จะเป็นตัวเปลี่ยนแปลงตลาดอีกอย่างคือเรื่องคอนโซดิเดตที่จะทำให้คนซื้อเซิร์ฟเวอร์”
สำหรับซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรีส์ 5500 ซึ่งมีด้วยกัน 4 รุ่น ประกอบด้วย L5518, L5508, E5540 และ E5504 มีบริการรองรับตลอดระยะเวลาการใช้งานนานถึง 7 ปี สำหรับตลาดธุรกิจด้านการสื่อสารและเทคโนโลยีระบบการประมวลผลแบบฝังตัว (embedded) จะสามารถใช้กับอุปกรณ์พื้นฐานด้านการสื่อสารที่มีอยู่ในปัจจุบันได้ เช่น ระบบโทรศัพท์แบบใช้สายและระบบโทรสาร และยังรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ในอนาคต เช่น เทคโนโลยี 4G และการสื่อสารแบบโฮโลกราฟ (holographic communication)
โปรเซสเซอร์รุ่นล่าสุดทั้งหมด โดดเด่นด้วยเทคโนโลยี อินเทล เวอร์ชวลไลเซชัน สำหรับการเชื่อมต่อ Directed I/O ซึ่งจะช่วยให้สามารถผสานรวบรวมคุณสมบัติต่างๆ และจัดการแอปพลิเคชันเทเลโฟนีรุ่นเก่าเข้ากับซอฟต์แวร์ใหม่ๆ ได้ ส่งผลให้สามารถประหยัดพื้นที่และประหยัดพลังงาน
นอกจากนี้ โปรเซสเซอร์ดังกล่าวยังรองรับประสิทธิภาพการทำงานของเครือข่าย 10GbE ตอบสนองได้ตรงตามความต้องการที่หลากหลายของเทคโนโลยีการสื่อสารทั้งในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งรวมถึงเทคโนโลยี VoIP, 3G, 4G, บริการ video-on-demand และเทคโนโลยีฮอโลแกรม
ซีออน โปรเซสเซอร์ รุ่น L5518 และ L5508 เป็นรุ่นที่ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษ เพื่อรองรับตลาดด้านการสื่อสาร โดยสองรุ่นนี้มาพร้อมออพชั่นการใช้พลังงานระดับต่ำสำหรับแอปพลิเคชันขนาดเล็กที่มีข้อจำกัดด้านอุณหภูมิ เช่น เบลด และอุปกรณ์พื้นฐานเพื่อใช้กับแอปพลิเคชันด้านระบบการสื่อสาร ความปลอดภัย จัดเก็บข้อมูล และด้านการแพทย์ รวมถึงการใช้กับ เซิร์ฟเวอร์แบบแร็กที่มีความน่า เชื่อถือและเสถียรภาพสูง เซิร์ฟเวอร์รุ่นเฉพาะต่างๆ และรุ่นที่มีฟอร์มแฟกเตอร์ต่างๆ ที่อยู่นอกเหนือแบบมาตรฐาน เช่น โมดูลเราท์เตอร์ และเทคโนโลยีซับมารีน เป็นต้น
ส่วนราคาอินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ รุ่น L5518, L5508, E5540 และ E5504 จำหน่ายในราคา 530, 423, 744 และ 224 เหรียญสหรัฐตามลำดับต่อปริมาณซื้อที่ 1,000 ตัว ซึ่งไม่ใช่ราคาขายปลีก
Company Related Links : Intel
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์1 เมษายน 2552 11:38 น.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)