วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

แก้ MSN ส่งลิงก์มั่วอัตโนมัติ ง่ายนิดเดียว !

เชื่อว่าชาว MSN ทุกคนล้วนเคยได้รับข้อความแนบลิงก์แปลกๆจากเพื่อนเป็นภาษาอังกฤษ ที่มองผาดเดียวก็รู้ว่าเพื่อนเราไม่คิดจะพิมพ์ข้อความแบบนี้ส่งมาให้แน่ๆ พอยิงคำถามถามไปเพื่อนก็เงียบ ไม่ยักจะตอบกลับมา หรือไม่ก็ออฟไลน์หนีไปเลย

คุณสามารถสรุปได้เลยว่า ข้อความ MSN แนบลิงก์"อะไรก็ไม่รู้"นี้เป็นการส่งโดยอัตโนมัติ ซึ่งทางแก้ไขเบื้องต้นนั้นง่ายนิดเดียว

นั่นคือบอกให้เพื่อนรายนั้นลองเปลี่ยนรหัสผ่าน หรือพาสเวิร์ดอีเมลดูก่อน ซึ่งอาจหยุดการส่งลิงก์มั่วอัตโนมัติได้โดยไม่ต้องเปลืองเวลาฟอร์แม็ตเครื่อง หรืออัปเดทแอนตี้ไวรัส ทำไมแก้ง่ายจัง

เหตุที่ทำให้การแก้ปัญหาง่ายๆอย่างการเปลี่ยนรหัสผ่านสามารถแก้ปัญหาการส่งข้อความ MSN อัตโนมัติได้ เป็นเพราะหลักการทำงานของการส่งข้อมูลอัตโนมัติเหล่านี้เกิดจากผู้ใช้อีเมลถูกดักจับพาสเวิร์ดจากโปรแกรมโทรจันที่ฝั่งอยู่ในเครื่อง หรือไม่ก็บังเอิญไปกรอกรหัสไว้ในเว็บไซต์ที่มีแบบฟอร์มให้กรอกข้อมูล-แบบสอบถามต่างๆ

เมื่อได้รหัสผ่าน โปรแกรมที่เรียกว่าบอท (Bot) จะทำการ Log in เข้ามาเพื่อส่งข้อความหาสมาชิกในรายชื่อผู้ติดต่อ เมื่อส่งข้อความเสร็จก็จะทำการ Sign Out ออกไปและเข้าไปยัง ID อื่นๆ ที่มีพาสเวิร์ด
อยู่

เท่ากับหากเราเปลี่ยนรหัสผ่าน พาสเวิร์ดเดิมที่โทรจันเหล่านี้มีก็ไม่สามารถแอบล็อกอินแทนเราได้ และนี่คือคำตอบว่า ทำไมหลังการส่งข้อความอัตโนมัติ ชื่อผู้ใช้งานอีเมลนั้นๆจะออฟไลน์หลังจากส่งข้อความทันที ต้องทำอะไรต่ออีก

หลังจากเปลี่ยนพาสเวิร์ดอีเมลแล้ว อย่าเพิ่งนิ่งนอนใจว่าพาสเวิร์ดใหม่จะไม่ถูกขโมยไปใช้งานอีก ดังนั้นจึงควรหาโปรแกรมสแกนไวรัส มาค้นหาโทรจันที่แฝงอยู่ในเครื่องต่อไป

ฉะนั้นใครที่รู้ตัวว่าถูกแอบอ้างส่งข้อความอัตโนมัติ และใครที่มีเพื่อนชอบส่งข้อความแบบนี้มาให้ ก็ลองลงมือเปลี่ยนพาสเวิร์ดดูได้เลย อย่านิ่งนอนใจว่าเว็บไซต์ที่แนบมาในข้อความอัตโนมัตินี้จะมีเว็บไซต์ธรรมดาที่ไม่มีอันตราย ปะปนมากับเว็บไซต์ที่มีไวรัสแฝงตัวด้วย หรือคิดว่าไม่มีใครหลงคลิกลิงก์ (หรอก)


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 28 พฤษภาคม 2552 19:27 น.

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

แจ้งเกิด"Moblin"ลินุกส์พันธุ์อินเทลสำหรับเน็ตบุ๊ก

อินเทลผสมโรงต้านแรงมหาอำนาจอย่างไมโครซอฟท์วินโดวส์ เปิดให้ทดลองดาวน์โหลด "Moblin" โอเอสลินุกส์เวอร์ชันเพรียวลมที่อินเทลสร้างมาเพื่อเน็ตบุ๊กและอุปกรณ์เล่นเน็ตพกพาโดยเฉพาะ การันตีประหยัดพลังงานกว่าและสามารถบูตเครื่องภายใน 5 วินาที แจ๋วกว่าวินโดวส์เอ็กซ์พีที่ต้องใช้เวลากว่า 1 นาทีในการบูต

อินเทลนั้นเปิดให้ทดสอบ Moblin 2.0 เบต้าเวอร์ชันแล้วในขณะนี้ โดยชูจุดขายว่า Moblin เป็นระบบปฏิบัติการลินุกส์ที่สร้างมาเพื่อให้เหมาะกับการแสดงผลบนหน้าจอขนาดจิ๋วของเน็ตบุ๊กและอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็๋ตพกพาหรือ MID (mobile Internet Device) การันตีว่า Moblin จะสามารถทำงานได้ดีบนอุปกรณ์ที่ใช้ชิปอะตอม ประหยัดพลังงานและหน้าตาโปรแกรมใช้งานง่ายเพิ่มรูปภาพ


Doug Fisher รองประธานและผู้จัดการทั่วไปฝ่ายซอฟต์แวร์และบริการของอินเทลให้ข้อมูลว่า สาเหตุที่อินเทลคลอดระบบปฏิบัติการลินุกส์ของตัวเองทั้งที่เน็ตบุ๊กส่วนใหญ่ในตลาดล้วนใช้งานวินโดวส์เอ็กซ์พีของพันธมิตรอย่างไมโครซอฟท์อยู่ในขณะนี้ เป็นเพราะอินเทลต้องการสร้างแพลตฟอร์มที่มั่นใจได้ว่ามีการปรับแต่งเพื่อการแสดงภาพบนหน้าจอขนาดเล็กและประหยัดพลังงานเหมาะกับชิปอะตอมจริงๆ ไม่ได้ต้องการแข่งขันกับไมโครซอฟท์แต่อย่างใด

คำว่าเน็ตบุ๊กนั้นหมายถึงคอมพิวเตอร์พกพาที่มีหน้าจอเล็กกว่า ราคาต่ำกว่า ความสามารถน้อยกว่า และประหยัดไฟมากกว่าคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก สร้างมาเพื่อเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ส่งอีเมล และพิมพ์งานพื้นฐาน เน็ตบุ๊กส่วนใหญ่ในตลาดขณะนี้วางจำหน่ายพร้อมชิปอะตอมของอินเทลและวินโดวส์เอ็กซ์พีของไมโครซอฟท์ ยอดจำหน่ายทั่วโลกในไตรมาสแรกอยู่ที่ราว 4.5 ล้านตัว โดยบริษัทวิจัยไอดีซีเชื่อว่ายอดจำหน่ายเน็ตบุ๊กจะแตะระดับที่ 22 ล้านตัวได้ในปีนี้


สิ่งที่จะมาใน Moblin 2.0 เบต้าเวอร์ชันคือส่วนติดต่อผู้ใช้แบบใหม่ที่สามารถอัปเดทสถานะส่วนบุคคลของเครือข่ายสังคมหลายแห่งไว้ในเมนูบาร์ด้านบนหน้าจอ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้ติดต่อสื่อสารกับเพื่อนในกลุ่มได้ง่ายขึ้น ที่สำคัญ ยังมาพร้อมเทคโนโลยีพิเศษที่จะทำให้โหมดนอนหลับหรือ sleep mode ของเน็ตบุ๊กประหยัดพลังงานได้มากกว่าเดิม ขณะเดียวกัน Fisher ระบุว่า Moblin 2.0 ยังใช้เวลาบูตเครื่องเพียง 5 วินาที เทียบกับเอ็กซ์พีที่ใช้เวลาสูงสุดมากกว่า 1 นาที อย่างไรก็ตาม อินเทลยอมรับว่าการผลักดันให้เกิดการใช้ลินุกส์ในกลุ่มผู้บริโภคยังเป็นเรื่องยาก เนื่องจากความสามารถที่จำกัดบางประการและการไม่รองรับอุปกรณ์ตลอดจนแอปพลิเคชันบางชนิด โดยผู้สนใจสามารถดาวน์โหลด Moblin 2.0 เบต้าเวอร์ชัน ไปใช้งานได้ที่เว็บไซต์ของ Moblin




Company Related Links : Moblin

วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

เทคโนโลยีหน้าจอสัมผัสที่สัมผัสได้จริง?


ระบบหน้าจอสัมผัสของมือถืออย่าง iPhone อาจจะทำให้หลายคนคิดถึงปุ่มสัมผัสแบบเดิมๆ ที่ให้ความรู้สึกถึงการสัมผัสที่แท้จริงอันเกิดจากการตอบสนองที่เกิดขึ้นใต้นิ้วเวลากด และสำหรับผู้ที่สามารถพิมพ์สัมผัสได้(พิมพ์โดยไม่ต้องมองแป้นคีย์บอร์ด)คงไม่มีปุ่มแบบไหนที่ช่วยให้พิมพ์ได้เร็วเท่าคีย์บอร์ดทั่วไป เชื่อว่า คงมีหลายคนฉุกคิดในเรื่องนี้ และหนึ่งในนั้นก็คือ ทีมพัฒนาคอนเซปต์ของเทคโนโลยีปุ่มมหัศจรรย์กับ "สัมผัสที่เด้งได้"









Chris Harrison นักศึกษาและ Scott Hudson ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัย Carnegie Mellon ได้พัฒนาอินเตอร์เฟซระบบสัมผัสแบบใหม่ที่จะช่วยให้ผู้ใช้รู้สึกถึงสัมผัสที่แท้จริงจากการสัมผัสปุ่มบนหน้าจอเสมือน โดยต้นแบบจะมีการทำงานร่วมกันระหว่างภาพที่ถูกฉายจากด้านหลัง เซ็นเซอร์อินฟราเรด และชั้นของยางที่จะทำให้ปุ่มนูนขึ้น หรือยุบตัวลงได้



ขั้นอะคริลิกที่ถูกตัด และซ่อนอยู่ภายใต้ปุ่มจะเป็นตัวทำให้แผ่นยางสัมผัสสามารถขึ้นรูปในลักษณะต่างๆ เมื่อมีการปั๊มอากาศเข้า หรือดูดออก โดยปั้มลมจะถูกซ่อนอยู่ใต้ปุ่ม และจะเปลี่ยนแปลงสถานะของปุ่มโดยอัตโนมัติเช่นเดียวกับการเปลียนแปลงของภาพที่แสดงผลขึ้นมาบนอินเตอร์เฟซ




นอกจากนี้อินเตอร์เฟซยังสามารถตรวจจับการกดของนิ้วได้มากกว่าหนึ่งตำแหน่งพร้อมกันด้วยเทคโนโลยีมัลติทัชอินฟราเรดทีมีอยู่แล้ว อีกทั้งยังสามารถตรวจจับระดับความแรงของการกดปุ่ม(กดหนัก หรือกดเบา)ด้วยการวัดค่าจากแรงดันอากาศที่เปลี่ยนแปลงได้อีกด้วย


ในขณะที่ต้นแบบจะดูไม่ออกเหมือนกันว่า มันจะใช้ได้จริง หรือเปล่า? และคุ้มค่ากับต้นทุนการผลิตปุ่มชนิดนี้ หรือไม่? แต่ต้องยอมรับว่า มันเป็นแนวคิดที่เท่มากๆ โจทย์ใหญ่ก็คือ ทำอย่างไรให้มันมีขนาดเล็กลงจนสามารถติดตั้งบนมือถือได้นั่นเอง





Tags: touch screen button mobile หน้าจอ สัมผัส ปุ่ม เสมือน มือถือ

Fennec ไฟร์ฟอกซ์บนมือถือวินโดวส์

เมื่อช่วงต้นปี โมซิลล่าได้ปล่อยบราวเซอร์ไฟร์ฟอกซ์บนมือถือออกมาให้ผู้ใช้ได้ตื่นตาตื่นใจกันอีกรอบ แต่ก็ยังคงเป็นเวอร์ชันทดสอบ (beta 1) ในแพลตฟอร์มซิมเบี้ยน โดยทำงานบน Nokia N810 และ N800 (Internet tablet) แต่ล่าสุดเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา โมซิลล่าได้ปล่อย Fennec (โค้ดเนมไฟร์ฟอกซ์บนมือถือ) เวอร์ชันรันบน Windows Mobile ออกมายั่วน้ำลายผู้ใช้กลุ่มใหม่ที่น่าจะทำให้บราวเซอร์ตัวนี้ไดรับความสนใจมากยิ่งขึ้น


Fennec Alpha 1 (ยังคงเป็นรุ่นทดสอบ ขนาดไฟล์.CAB 9.1MB) สำหรับ Windows Mobile 6 จะมีอินเตอร์เฟซ และฟังก์ชันการใช้งานเทียบเท่ากับ Beta 1 ของเวอร์ชันที่รันบนซิมเบียน โดยโปรแกรมได้รับการปรับแต่งสำหรับใช้รันบน HTC Touch Pro ซึ่งหลังจากนี้คงจะมีเวอร์ชั่นสำหรับสมาร์ทโฟนรุ่นอื่นๆ ตามมา


สำหรับอินเตอร์เฟซของ Fennec Alpha 1 จะเรียบง่าย แต่มีฟังก์ชันการใช้งานที่น่าสนใจ แม้การเข้าถึงอาจจะสับสนเล็กน้อยในข่วงแรกของการหัดใช้งาน โดยด้านบนจะช่องป้อน URL ของเว็บไซต์ที่ต้องการท่องเข้าไป ซึ่งสามารถพิมพ์ด้วย virtual keyboard หรือเลือกจาก suggestion ก็ได้ เมื่อใช้นิ้วมือสัมผัสหน้าจอแล้วเลื่อนไปทางขวา ทางด้านซ้ายของจอจะปรากฎบาร์ที่แสดงหน้าต่างเล็กๆ ของเว็บไซต์ต่างๆ ลักษณะเดียวกับการใช้แท็บบนไฟร์ฟอกซ์นั่นเอง และเมื่อใช้นิ้วเลื่อนไปทางซ้าย เมนูบาร์จะปรากฎขึ้น ซึ่งก็จะมีคำสั่งง่ายๆ อย่าง ไปหน้าเว็บถัดไป หน้าเว็บก่อนหน้านี้ และ Favorite ส่วนด้านล่างจะเป็นไอคอนเมนู settings โดยเมื่อคลิกที่ปุ่มนี้บนหน้าจอ ปุ่มต่างๆ ของเมนู setting จะย้ายไปอยู่ด้านซ้าย ซึ่งสามารถตั้งค่าต่างๆ ได้มากมาย โดยสรุปโครงสร้างของอินเตอร์เฟซของ Fennec Allpha 1 for Windows Mobile ก็จะประกอบด้วย ช่องค้น/พิมพ์ URL ที่อยู่ด้านบนตรงกลาง บาร์ด้านซ้าย(ต้องใช้นิ้วเลื่อนมันให้โผล่ออกมา)เป็นฟังก์ชันแท็บ ส่วนบาร์ด้านขวาจะเป็นเมนูบาร์และปุ่ม settings ส่วนพื้นที่ที่เหลือตรงกลางจะใช้สำหรับการแสดงเว็บเพจทั้งหมด


อย่างไรก็ตาม ฟังก์ชันที่ดูเหมือนจะได้รับความสนใจจากผู้เชี่ยวชาญที่ได้ทดลองใช้ก็เห็นจะเป็น add-ons เพราะนั่นหมายความว่า ผู้ใช้จะสามารถเพิ่มเติมความสามารถที่ชื่นชอบให้กับ Fennec ได้เช่นเดียวกับบราวเซอร์ Firefox บนพีซีนั่นเอง สำหรับข้อมูลทางด้านเทคนิค อินเตอร์เฟซของ Fennec Alpha 1 จะใช้ CSS ซึ่งช่วยให้สามารถจัดวางอินเตอร์เฟซได้หลากหลายตามขนาดหน้าจอของสมาร์ทโฟนแต่ละรุ่นได้อย่างง่ายดาย และเนื่องจากเวอร์ชันนี้ยังเป็นแค่รุ่นทดสอบ Alpha 1 แน่นอนว่า มันจะยังคงมีข้อผิดพลาดของการทำงานอยู่บ้างพอสมควร ตลอดจนประสิทธิภาพการทำงาน เช่น ความหน่วงในการแพนหน้าเว็บเวลาใช้นิ้วลาก หรือการปรับแต่งโค้ดการทำงานกับ JavaScript ให้เรียบร้อย รวมถึงกราฟิกต่างๆ สำหรับขั้นตอนการติดตั้งสามารถเข้าไปดูได้ที่บล็อกของโมซิลล่า


วันเสาร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ผู้ค้าแอนตี้ไวรัสเล็งตลาดไอโฟนแอพฯ

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า McAfee และ Symantec สองบริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาดซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัส และระบบรักษาความปลอดภัยบนคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ตกำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาแอพพลิเคชันเพื่อใช้บน iPhone ผลิตภัณฑ์ยอดนิยมของ Apple


Dave DeWalt ซีอีโอของ MacAfee กล่าวกับรอยเตอร์ว่า ขณะนีทางบริษัทกำลังพัฒนาซอฟต์แวร์ระบบรักษาความปลอดภัยสำหรับมือถือ iPhone และคอมพิวเตอร์ Mac เพื่อปกป้องอุปกรณ์ทั้งสองของผู้ใช้กลุ่มนี้ให้ปลอดภัยจากอันตรายต่างๆ ที่รออยู่บนเน็ต "เรากำลังพัฒนาชุดซอฟต์แวร์ suite สำหรับผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของ Apple" ซึ่งนอกจากแนวทางการทำธุรกิจที่มุ่งเน้นพัฒนาซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสแล้ว ทางบริษัทยังจะเน้นการทำตลาดซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้การท่องเน็ตมีความปลอดภัย ตลอดจนซอฟต์แวร์การเข้ารหัสข้อมูล

ผลจากความสำเร็จและเป็นทีนิยมของ iPhone ที่มีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้หลายบริษัทซอฟต์แวร์ต่างเร่งรีบที่จะพัฒนาโปรแกรมให้สามารถทำงานบนอุปกรณ์ตัวนี้ ยอดการดาวน์โหลดโปรแกรมกว่าพันล้านครั้งจาก App Store ของ Apple ภายใน 9 เดือน ซึ่งนอจาก McAfee แล้ว อันดับหนึ่งอย่าง Symantec ก็กำลังพัฒนาแอพพลิเคชันบน iPhone ด้วยเหมือนกัน แต่่จะเป็นบริการสำรอง และปกป้องข้อมูลที่อยู่ในมือถือ iPhone โดยผู้ใช้ iPhone จะสามารถเข้าถึงข้อมูลที่อยู่บนพีซี หรือเว็บไซต์ได้ อย่างไรก็ตาม แนวทางของซอฟต์แวร์ที่ Symantec กำลังพัฒนาอยู่นั้น ดูท่าจะเป็นการแข่งขันกับบริการ MobileMe ของ Apple โดยตรง เนื่องจากมันช่วยสำรองข้อมูลต่างๆ ซึ่งรวมถึงอีเมล์ และบริการอื่นๆ ด้วย Trollope รองประธานอาวุโสบริษัท Symantec กล่าวกับรอยเตอร์ว่า บริษัทได้ติตตามความเคลื่อนไหวของ iPhone โดยเฉพาะเรื่องของความปลอดภัยอย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตาม ทางบริษัทก็ยังไม่มีแผนที่จะแนะนำซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยตัวใหม่สำหรับ iPhone ในอนาคตอันใกล้


ทางด้าน McAfee ก็ยังไม่มีการกำหนดวันที่แน่นอนของการผลิตภัณฑ์รักษาความปลอดภัยบน iPhone ด้วยเหมือนกัน (ต่างดูท่าทีกันพอสมควร) รวมถึงยังไม่ได้บอกว่า จะมีผลิตภัณฑ์อะไรบ้างของทางบริษัทที่จะเจาะตลาดสมาร์ทโฟน เพียงแต่กล่าวว่า "ยิ่ง (ไอโฟน หรือสมาร์ทโฟน) มีแอพพลิเคชันให้ใช้งานมากเท่าไร ภัยคุกคามของระบบรักษาความาปลอดภัยก็จะเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะภัยคุกคาม(จากการขโมยและสวมรอยใช้)ข้อมูลส่วนบุคคล ตลอจนความเสียหายของข้อมูล"

วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

MiFi "ฮอตสปอต"ติดตัวอัจฉริยะ

หลายคนคงจะคุ้นเคยกับคำว่า WiFi (วายฟาย) บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายสาธารณะที่ทำให้ผู้บริโภคสามารถเชื่อมต่อไร้สายคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก หรือเน็ตบุ๊กเข้าสู่อินเทอร์เน็ตได้อย่างง่ายดายในอณาบริเวณที่ได้รับการติดตั้งฮอตสปอต แต่สำหรับคำว่า MiFi (มายฟาย) คงจะไม่คุ้นหูใครหลายๆ คนแน่นอน ว่าแต่เจ้า MiFi คืออะไรล่ะ?

MiFi ไม่ใช่ชื่อย่อของเทคโนโลยี แต่ป็นชื่อเรียกแก็ดเจ็ดใหม่ล่าสุดจากบริษัท Novatel Wireless โดยนิยามสั้นๆ ของมันก็คือ "ฮอตสปอตเคลื่อนที่อัจฉริยะ" อาจจะรู้สึกสับสนเล็กน้อยกับนิยามของอุปกรณ์ไฮเทคชิ้นนี้ เพราะตามปกติฮอตสปอตจะได้รับการติดตั้งตามจุดต่างๆ มากกว่าที่มันจะเคลื่อนที่ไปเรื่อย แต่สำหรับเจ้า MiFi มันสามารถตามติดไปกับคุณได้ทุกที่

Novatel Wireless ให้ข้อมูลว่า MiFi จะทำงานโดยไม่จำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์ในการติดตังแต่อย่างใด ผู้ใช้เพียงแค่ตั้งค่าเน็ตเวิร์กไร้สายบนพีซีให้เข้ากับ MiFi ก็เป็นอันเรียบร้อย ทางบริษัจจะขาย MiFi ไปกับผู้บริการอย่าง AT&T, Verizon และ Sprint ประเด็นใหญ่ที่ MiFi ต้องเจอก็คือ ค่าแบรนด์วิดธ์รายเดือน เนื่องจาก MiFi จะแปลงสัญญาณอินเทอร์เน็ตมือถือ(3G)ไปอยู่ในรูปของสํญญาณ WiFi ที่สามารถใช้งานได้พร้อมกันสูงสุด 5 คน ดังนั้น ค่าบริการจะสูงขึ้นอันเนื่องจากการใช้แบรนด์วิดธิที่มากขึ้นนั่นเอง

Tags: mifi verizon wifi มายฟาย วายฟาย

ทรีคอมปรับแบรนด์เขย่าบัลลังก์ซิสโก้ เปิดตัว 2 สวิตช์ส่งข้อมูลสูงสุด 2.2 พันล้านแพกเกจต่อวินาที

ทรีคอม (3Com) ปรับกลยุทธ์ใหม่เพื่อรุกตลาดอุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ชูแบรนด์เอชทรีซี (H3C) สำหรับทำตลาดในกลุ่มเอนเตอร์ไพรส์โดยเฉพาะ ล่าสุดเปิดตัว 2 ผลิตภัณฑ์สวิตช์เพื่อใช้กับดาต้าเซ็นเตอร์ตระกูลเอชทรีซีที่มีความเร็วในการส่งข้อมูลสูงสุด 2.2 พันล้านแพกเกจต่อวินาที พร้อมโชว์ซอฟต์แวร์ระบบบริหารจัดการอัจฉริยะตัวล่าสุด ซึ่งทรีคอมการันตีว่าใช้งานสะดวกและง่ายดายกว่าคู่แข่งเบอร์หนึ่งอย่างซิสโก้แน่นอน

สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ทรีคอมแบ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์ออกเป็นสามส่วน หนึ่งคือสายเอชทรีซีเพื่อเน้นตลาดองค์กรขนาดใหญ่และใช้งานกับศูนย์กลางข้อมูลหรือดาต้าเซ็นเตอร์ สองคือสายทรีคอมที่จะเน้นตลาดองค์กรขนาดรองลงมาทั้ง SME และ SMB สามคือส่วนของทิปปิ้งพอยต์ (TippingPoint) ที่เน้นการดูแลระบบรักษาความปลอดภัยระดับไฮเอนด์

"การใช้แบรนด์เอชทรีซีในการทำตลาดลูกค้าเอนเตอร์ไพรส์ของทรีคอมนั้นจะสร้างความชัดเจนให้กับบริษัทและพันธมิตรมากขึ้น ขณะเดียวกันก็แสดงว่าเอชทรีซีเป็นแบรนด์ของทรีคอมเต็มตัว" ปีเตอร์ ชัย รองประธานบริษัทและผู้จัดการทั่วไป ทรีคอม เอเชียแปซิฟิก กล่าว

สาเหตุที่ชัยกล่าวเช่นนั้นเป็นเพราะทรีคอมซื้อแบรนด์เอชทรีซีคืนจากหัวเหว่ย (Huawei) ในราคา 882 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อปี 2006 ส่วนแบ่งตลาดอุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เอชทรีซีมีอยู่มากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ในประเทศจีน เช่น อุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่ายข้อมูลทั้งแบบมีสายและไร้สาย สวิตช์เชื่อมต่อโครงข่ายดาต้าเซ็นเตอร์ ระบบโทรศัพท์และระบบรักษาความปลอดภัยเครือข่ายข้อมูล ทั้ง VPN และไฟร์วอลล์ จึงตกเป็นของทรีคอมแต่ผู้เดียว

ชัยระบุว่าการเป็นที่หนึ่งในตลาดจีนเป็นข้อพิสูจน์ว่าผลิตภัณฑ์เอชทรีซีมีคุณภาพดี สิ่งที่ทรีคอมกำลังทำคือการนำโซลูชันเน็ตเวิร์กสำหรับลูกค้าองค์กรของ H3C มาให้บริการกับลูกค้าทั่วโลกนอกประเทศจีน โดยการให้ความสำคัญกับแบรนด์เอชทรีซีจะไม่มีผลกระทบกับสินค้าตระกูลทรีคอมที่มีอยู่เดิม

เพื่อรับกับการประกาศครั้งนี้ ทรีคอมเปิดตัวผลิตภัณฑ์ตระกูลเอชทรีซีขึ้นใหม่ 2 ชิ้น หนึ่งคือ H3C S12500 สวิตช์สำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ความเร็ว 6.6 เทราบิตต่อวินาทีที่สามารถรับส่งแพกเกจข้อมูล 2.2 พันล้านชุดต่อวินาที มาพร้อม 10G อีเธอเน็ตพอร์ตจำนวน 512 พอร์ต และพอร์ต 1G จำนวน 864 พอร์ต หวังชนกับสวิตช์ตระกูล Nexus ของซิสโก้

แอนดรูว์ ฮินด์มาร์ช ผู้จัดการฝ่ายการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ประจำภูมิภาค ทรีคอมเอเชียแปซิฟิกให้ข้อมูลว่า S12500 นั้นมีความสามารถเหนือกว่า Nexus 7000 สองเท่าตัว แต่กลับใช้พลังงานน้อยกว่าและมีขนาดเล็กกว่า โดยทรีคอมยังไม่ประกาศราคาจำหน่าย S12500 อย่างเป็นทางการในขณะนี้ กำหนดการวางจำหน่ายจริงคือเดือนกรกฎาคม

สวิตช์อีกรุ่นที่ถูกเปิดตัวใหม่คือ S5800 Flex-Chassis ซึ่งมีสมาชิกในกลุ่มอีก 6 รุ่นที่สามารถเชื่อมต่อสวิตช์ 1G และ 10G เข้าเป็นสวิตช์เสมือนตัวเดียวเพื่อความสะดวกในการใช้งานแอปพลิเคชัน โดยสวิตช์ S5800 ถูกออกแบบมาเพื่อใช้เป็นส่วนเชื่อมต่อดาต้าเซ็นเตอร์และเครือข่าย สามารถรองรับพอร์ต 10G อีเธอร์เน็ตมากกว่า 24 พอร์ต หรือ 192 พอร์ตหากทำงานในรูปเสมือน โดยสามารถรับพอร์ต 1G อีเธอร์เน็ตได้ 80 พอร์ตหรือ 640 พอร์ตกรณีทำงานแบบเสมือน พร้อมวางจำหน่ายในเดือนกรกฎาคมเช่นกัน

พร้อมกันนี้ ทรีคอมยังเปิดตัวโปรแกรม H3C Intelligent Management Center โปรแกรมจัดการที่ช่วยเหลือให้การดึงข้อมูลในดาต้าเซ็นเตอร์เข้าสู่เครือข่ายทำได้ง่ายดายและสะดวกขึ้นกว่าเดิม มีทั้งเวอร์ชันที่ลูกค้าสามารถดาวน์โหลดได้ฟรี และแบบที่ต้องชำระค่าบริการ โดยราคายังไม่เปิดเผย แผนการจำหน่ายคือเดือนมิถุนายน

"สวิตช์และโปรแกรม IMC จะถูกเรียกรวมว่า H3C Extensible Data Center Switching and Management Platform แพลตฟอร์มนี้จะมีหน้าต่างให้จัดการเรื่องความปลอดภัย และทราฟฟิกต่างๆได้ในที่เดียว รองรับทิศทางดาต้าเซ็นเตอร์ยุคหน้า ลดค่าใช้จ่าย ลดงาน เน้น 5 ความต้องการพื้นฐานเครือข่าย เช่น รักษาสิ่งแวดล้อม มาตรฐานเปิด สามารถดำเนินการต่อได้ทุกสถานการณ์ ประสิทธิภาพในการดำเนินงานเพิ่มขึ้น และความปลอดภัย" แอนดรูว์กล่าว "บริษัทอื่นอาจซื้อบริษัทแล้วเอาเทคโนโลยีมาอินทิเกรด แต่เราพัฒนาเอง H3C IMC ไม่ใช่แค่ระบบที่จัดการสวิตช์ในเครือข่ายแต่สามารถเชื่อมต่อกับซอฟต์แวร์ของบริษัทอื่น ทำให้ลูกค้าดึงข้อมูลจากดาต้าเซ็นเตอร์เข้ามาในเครือข่ายได้ในพื้นที่เดียว"

แอนดรูว์กล่าวด้วยว่า ทรีคอมที่ผ่านมาเน้นการจำหน่ายเครือข่ายและการจัดการเครือข่าย พื้นที่ที่ทรีคอมจะไปในอนาคตคือการเชื่อมระหว่างเครือข่ายเข้ากับซอฟต์แวร์, เครือข่ายกับเซิร์ฟเวอร์ และเครือข่ายกับดาต้าเซ็นเตอร์ ซึ่งทั้งหมดจะนำไปสู่การประสานเป็นเครือข่ายครบวงจรไร้รอยต่อหรือ Unified Fabric กับนานาบริษัทพันธมิตร

"เราไม่ได้มองว่าผลิตภัณฑ์ใหม่เหล่านี้จะดึงมาร์เกตแชร์จากคู่แข่งเท่าใด แต่เรามองว่าความสามารถในการแข่งขันของเราดีขึ้น"

นิโคลา เฮย์ส รองประธานบริษัทวิจัย BroadGroup เชื่อว่าทิศทางการเติบโตของตลาดดาต้าเซ็นเตอร์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะส่งผลดีต่อการทำตลาดผลิตภัณฑ์กลุ่มเอชทรีซีของทรีคอม โดยเฉพาะใน 5 ตลาดหลักอาเซียนคือ สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย อินโดนีเซีย และเวียดนาม ที่คาดว่าอัตราการเติบโตจะต่อเนื่องไปถึงปี 2015

"สิงคโปร์จะอยู่ในระดับสูงสุด รองลงมาคือ มาเลเซีย เวียดนาม ไทย และอินโดนีเซีย กลุ่มหลักที่จะผลักดันตลาดคือกลุ่มองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่"

สำหรับตลาดโลก บริษัทวิจัยการ์ทเนอร์เคยประมาณการณ์ว่า 70% ของบริษัทชั้นนำ 1,000 แห่งทั่วโลกจะต้องอัปเกรดดาต้าเซ็นเตอร์ของตัวเองแน่นอนภายใน 5 ปีนับจากนี้ เป็นตัวเลขที่น่าสนใจมากสำหรับผู้ค้าอุปกรณ์เครือข่ายทุกราย

Company Related Links : 3com

วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

แกะรอยออนไลน์...สืบจาก LOG

หากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ถูกบุกรุก ข้อมูลถูกเปลี่ยนแปลงหรือสูญหาย ไม่ว่าจะเกิดจากฝีมือคนในองค์กร หรือนอกองค์กร ไม่ว่าจะทำด้วยเจตนา หรือด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หลักฐานสำคัญสำหรับการสืบสวนสอบสวนคือ “Log File” องค์ประกอบหนึ่งของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเพียงเครื่องมือช่วยในการสืบสวนสอบสวน และเป็นหลักฐานประกอบคดี ขณะที่สาระสำคัญอยู่ที่ “การสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิด” ก่อนแกะรอยหาหลักฐานออนไลน์ เรามาทำความเข้าใจถึงที่มาของ Log กันก่อน

Log File หรือข้อมูลจราจร เกิดขึ้นจากการสื่อสาร ส่ง-รับ และลำเลียงข้อมูล เช่น ระหว่างคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งกับเว็บไซต์หนึ่ง เมื่อกดปุ่ม Enter เรียกดูเว็บไซต์ ข้อมูลคำสั่งจากเครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกลำเลียงผ่านอุปกรณ์เครือข่าย ไปยังผู้ให้บริการ ISP, Internet Gateway (หากเว็บนั้นอยู่ต่างประเทศ) ต่อไปยังเว็บไซต์ปลายทาง ประมวลผล แล้วลำเลียงข้อมูลกลับสู่ต้นทาง ระยะทางแสนไกล แต่ใช้เวลาสั้นกระชับ ทุกที่ที่มีการลำเลียงข้อมูล จะทิ้งร่องรอยไว้เสมอ หากมีการเก็บบันทึก Log ตลอดเส้นทางลำเลียงข้อมูล และมีแฮกเกอร์ประมาทเลินเล่อ คิดเพียงลบ Log ที่ตนทำและรับรู้ อาจไม่สามารถลบได้หมดจด จึงไม่ยากนักกับการหาร่องรอยผู้กระทำความผิดในโลกดิจิตอล



ข้อมูลที่ไหลเวียนบนระบบเครือข่าย อยู่ในรูปแบบ Real-Time ไม่สามารถเรียกดูย้อนหลังได้ ทำได้เพียงวิธีเดียว คือ ดูจาก Log File ซึ่งหากให้ง่ายต่องานสืบสวนสอบสวน Log ที่บันทึกควรระบุใคร, ทำอะไร, ที่ไหน, เวลาใด และอย่างไร ตามหลักห่วงโซ่ของเหตุการณ์ (Chain of Event) สิ่งบันทึกเหล่านี้เรียกว่า “Data Archive” ซึ่งหากมีการแก้ไขข้อมูลบนห่วงโซ่ใดห่วงโซ่หนึ่ง ร่องรอยหลักฐานยังคงปรากฏอยู่บนห่วงโซ่ที่เหลือ แต่อาจส่งผลให้ข้อมูลบนห่วงโซ่คลาดเคลื่อนผิดเพี้ยน ไม่อาจสืบหาสาเหตุต้นตอ หรือเกิดกรณี “หลักฐานไม่เพียงพอ” ได้เช่นกัน ดังนั้น เพื่อให้หลักฐานเกิดความน่าเชื่อถือ จึงต้องมีการยืนยันความถูกต้องของข้อมูลที่บันทึก ว่าไม่ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไข เรียกว่า ทำ “Data Hashing” เป็นการยืนยันความถูกต้องของหลักฐาน นำไปประกอบคดีได้ในชั้นศาล

คดีความออนไลน์ส่วนใหญ่มักเกิดจากกรณีหมิ่นประมาท, หลอกลวงให้ผู้อื่นเสียหาย, การขโมย/ปลอมแปลงข้อมูล ซึ่งหนีไม่พ้นการใช้ Web, Mail, Chat, VoIP, Upload/Download ไฟล์ ฯลฯ มีสาเหตุจากการใช้งานด้วยพฤติกรรมไม่เหมาะสม ขาดจริยธรรม ก่อเกิดเป็นคดีความที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามความเจริญทางเทคโนโลยีและวัตถุ ซึ่งผู้ที่เสี่ยงต่อการก่อเหตุไม่พึงประสงค์ล้วนแล้วแต่เป็น “ผู้ใช้งาน” (User) และส่วนใหญ่เป็นคนในองค์กร การควบคุมผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตทำได้หลากวิธี ไม่ยุ่งยาก แต่การควบคุมผู้ใช้งานภายในองค์กรไม่ใช่เรื่องง่ายนัก ต้องอาศัยโครงสร้างพื้นฐาน ประกอบด้วย คน เทคโนโลยี และนโยบายที่เหมาะสม ประสานการทำงานให้สอดคล้องกัน

บทความ : บริษัท โกลบอลเทคโนโลยี อินทิเกรเทด

วันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

IE8 ทำงานลุล่วงเร็วยิ่งขึ้นด้วยการใช้ 'ส่วนช่วยดำเนินการ'

ดูเส้นทางการขับขี่ แปลคำศัพท์ อีเมลผลการค้นหาบนเว็บไปให้ผู้อื่น และอื่นๆ อีกมากมายด้วยการคลิกเมาส์เพียงไม่กี่ครั้ง



ทำงานลุล่วงเร็วยิ่งขึ้นด้วยการใช้ 'ส่วนช่วยดำเนินการ'ดูเส้นทางการขับขี่ แปลคำศัพท์ อีเมลผลการค้นหาบนเว็บไปให้ผู้อื่น และอื่นๆ อีกมากมายด้วยการคลิกเมาส์เพียงไม่กี่ครั้ง ทำกิจกรรมการเรียกดูประจำวันได้ลุล่วงรวดเร็วยิ่งขึ้นโดยการใช้คุณลักษณะ 'ส่วนช่วยดำเนินการ' ใหม่



ลองใช้ 'ส่วนช่วยดำเนินการ' เหล่านี้

- ค้นหาใน Facebook เพิ่ม 'ส่วนช่วยดำเนินการ Facebook' และติดต่อกับเพื่อนๆ เพื่อนร่วมงาน และคนอื่นๆ ในเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ยอดนิยมได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
- ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม- ดูวิดีโอ
รับ Add-on ที่ Internet Explorer Galleryปรับ Internet Explorer 8 ให้เป็นแบบส่วนตัวเพื่อตอบรับความต้องการของคุณโดยการเพิ่มคุณลักษณะใหม่ๆ อย่าง 'ส่วนช่วยดำเนินการ' และ Web Slice, ผู้ให้บริการการค้นหา และอื่นๆ เพื่อการเรียกดูที่รวดเร็วและง่ายดายขึ้นกว่าเดิม ข้อมูลเพิ่มเติม
IE8เรียนรู้การทำเว็บให้รองรับความสามารถใหม่ๆ ใน Internet Explorer 8 ซึ่งช่วยให้ผู้ท่องเว็บได้สัมผัสกับประสิทธิภาพของ IE8 ที่แท้จริง เช่นการสร้าง Web Slice หรือ Accelerator เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ การทำให้เว็บสามารถแสดงผลได้อย่างถูกต้อง ในทุกๆ เวอร์ชันของ Internet Explorer เป็นต้น



สร้าง IE8 Web Slice ด้วยตนเอง

อินเทลเปิดตัวสุดยอดนวัตกรรมโปรเซสเซอร์ ที่จะเข้ามาเปลี่ยนโฉมระบบอินเทอร์เน็ต

อินเทลเปิดตัวโปรเซสเซอร์ระดับเอ็นเตอร์ไพรส์พร้อมกัน 17 รุ่น นำโดย อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 5500 ซึ่งเป็นโปรเซสเซอร์สำหรับเซิร์ฟเวอร์ที่ปฏิวัติวงการมากที่สุด ของอินเทล นับตั้งแต่เริ่มทำตลาดเซิร์ฟเวอร์ด้วย อินเทล เพนเทียม โปร โปรเซสเซอร์ เมื่อเกือบ 15 ปีที่ผ่านมา


ชิปรุ่นใหม่นี้สามารถปรับระดับการใช้พลังงานตามปริมาณทรานแซคชั่นของดาต้าเซ็นเตอร์และความต้องการดึงฐานข้อมูลลูกค้าได้โดยอัตโนมัติ ตลอดจนมีบทบาทสำคัญต่อการค้นพบสิ่งใหม่ๆ ทางวิทยาศาสตร์ของบรรดานักวิจัยที่ใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์เป็นพื้นฐานในการทำวิจัย ขณะเดียวกันยังมีประสิทธิภาพด้านการประหยัดพลังงานที่เยี่ยมยอด จึงช่วยประหยัดค่าไฟได้มาก


อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 5500 ที่มีชื่อรหัสเดิมว่า เนฮาเลม-อีพี (Nehalem-EP) เป็นรุ่นที่มีเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยมากมาย ช่วยเพิ่มความเร็วและการใช้งานที่หลากหลายของระบบอย่างเห็นได้ชัด เช่น เทคโนโลยี อินเทล เทอร์โบ บูสต์” (Intel Turbo Boost Technology) เทคโนโลยี อินเทล ไฮเปอร์-เธรดดิ้ง (Intel Hyper-Threading Technology) เทคโนโลยี อินทิเกรท พาวเวอร์ เกทส์ (Integrated Power Gates) เทคโนโลยี อินเทล เวอร์ช่วลไลเซชั่น รุ่นใหม่ (Intel Virtualization Technology : VT) ที่เพิ่มเทคโนโลยี เอ็กซ์เทนด์ เพจ เทเบิ้ลส์ (Extended Page Tables) ซึ่งจะช่วยให้ระบบสามารถปรับให้เข้ากับปริมาณงานที่หลากหลายได้โดยอัตโนมัติ


นายเอกรัศมิ์ อวยสินประเสริฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 5500 คือพื้นฐานของนวัตกรรมในทศวรรษต่อไป เพราะ ชิปประมวลผลรุ่นนี้แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าครั้งใหญ่ในด้านประสิทธิภาพการทำงาน การทำเวอร์ช่วลไลเซชั่น และการจัดการเวิร์คโหลดงานได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะช่วยเปิดโอกาสให้เราสามารถเอาชนะความท้าทายต่างๆ ที่มีความซับซ้อนที่สุดในโลก ตลอดจนทำลายข้อจำกัดต่างๆ เพื่อการค้นพบทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้”


อุปกรณ์เชื่อมต่อ 15,000 ล้านชิ้น การใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ขยายตัวในทิศทางที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของอินเทลที่ต้องการให้มีอุปกรณ์ต่างๆ เชื่อมต่อกันได้ถึง 15,000 ล้านชิ้น ดังนั้น อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 5500 จะเข้ามาเป็นตัวขับเคลื่อนสำหรับการเปลี่ยนแปลงในด้านโครงสร้างพื้นฐานของระบบอินเทอร์เน็ตในอนาคตอันใกล้นี้ ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมไฮเทคต่างให้การสนับสนุนเป้าหมายในการใช้งานแอพพลิเคชั่นต่างๆ ด้วยโปรเซสเซอร์ที่สามารถทำงานเต็มประสิทธิภาพและฮาร์ดแวร์ด้านการคำนวณ ที่พร้อมใช้งานได้ตามความต้องการที่สามารถขยายการใช้งานได้ตามปริมาณงานที่หลากหลาย การที่วิสัยทัศน์ดังกล่าว หรือที่เรียกกันว่า คลาวด์ คอมพิวติ้ง (cloud computing) จะเป็นจริงได้นั้น ต้องอาศัยความสามารถในการปรับความสามารถของระบบให้เข้ากับลักษณะของงาน สมรรถนะการทำงาน และประสิทธิภาพที่เยี่ยมยอดของ อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 5500


ประสิทธิภาพระดับสูงแบบก้าวกระโดดครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์อินเทล ซีออน1 อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 5500 ได้สร้างสถิติโลกมากถึง 30 กว่ารายการ2 ซึ่งนับเป็นการสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับประสิทธิภาพการทำงานของเซิร์ฟเวอร์แบบ 2 ซ็อกเก็ต ขณะเดียวกันยังมีประสิทธิภาพสูงกว่า อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 5400 รุ่นเดิมได้มากกว่าถึงสองเท่าตัว แพลตฟอร์มเซิร์ฟเวอร์ PRIMERGY* ของฟูจิตสึ สามารถสร้างสถิติใหม่ๆ จากการทดสอบโดยใช้เบนช์มาร์ก SPECint* rate base 2006 และ SPECfp* rate base 2006 ด้วยคะแนนสูงถึง 240 และ 194 คะแนนตามลำดับ เซิร์ฟเวอร์ HP ProLiant* DL370 G6 ของเอชพี มีประสิทธิภาพที่สามารถทำลายสถิติเดิม จากการทดสอบด้วยเบนช์มาร์ก TPC*-C โดยได้คะแนน 631,766 tpmC จากการใช้ Oracle 11g* Database ส่วนเซิร์ฟเวอร์ IBM System x* 3650 M2 ที่ทดสอบด้วยเบนช์มาร์ก SAP*-SD ได้สร้างสถิติใหม่ด้วยคะแนน 5100 SD users เซิร์ฟเวอร์ของซิสโก้สามารถทำผลการทดสอบ SPEComp* Mbase 2001 ซึ่งเป็นเบนช์มาร์กที่ใช้ทดสอบการคำนวณประสิทธิภาพสูง ที่ช่วยวัดระดับประสิทธิภาพของแอพลิเคชั่น OpenMP โดยสามารถทำคะแนนได้สูงกว่า อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 5400 รุ่นเก่าได้ถึงร้อยละ 154 ทีเดียว นอกจากนี้ เมื่อทดสอบโดยใช้เบนช์มาร์ก SPECpower* ssj 2008 เพื่อวัดประสิทธิภาพด้านการประหยัดพลังงานของเซิร์ฟเวอร์ พบว่าแพลตฟอร์มเซิร์ฟเวอร์ของ Verari System VB1305 ซึ่งใช้ อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 5500 สามารถทุบสถิติโลกด้วยคะแนน 1943 ssj_ops/watt และเมื่อนำเซิร์ฟเวอร์หลายๆ รุ่นที่ใช้อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 5500 ไปทดสอบประสิทธิภาพด้านการทำเวอร์ช่วลไลเซชั่นโดยใช้เบนช์มาร์ก VMmark* พบว่า สามารถทำได้ดีกว่าสถิติเก่าจาก อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 5400 ได้ถึงร้อยละ 150 ซึ่งรวมถึง แพลตฟอร์ม Dell PowerEdge* R710 ที่ให้ผลลัพธ์ด้วยคะแนนที่สูงตลอดเวลาในส่วนของเซิร์ฟเวอร์แบบ 2 ซ็อกเก็ต โดยได้คะแนนถึง 23.55@16 tiles


อัจฉริยภาพแบบก้าวกระโดด เซิร์ฟเวอร์ที่ใช้อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 5500 จะเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการทำงาน ทั้งสำหรับองค์กรธุรกิจที่ต้องทำธุรกรรมซึ่งต้องการระบบที่มีสมรรถนะสูง หรือเป็นการทำธุรกรรมจำลอง (simulations) และแม้แต่กลุ่มนักวิจัยที่มุ่งมั่นในการค้นหาแหล่งพลังงานใหม่ๆ หรือกาแลคซี่อันไกลโพ้น อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ 5500 มาพร้อมกับหน่วยความจำที่มีแบนด์วิดท์สูงกว่าโปรเซสเซอร์สำหรับเซิร์ฟเวอร์ในรุ่นก่อนๆ ถึงสามเท่าตัว ซึ่งจะส่งทำให้แพลตฟอร์มที่ใช้โปรเซสเซอร์รุ่นนี้สามารถจัดการงานในปริมาณมากๆ ได้หลากหลาย ภายใต้สภาวะและเงื่อนต่างๆ กันได้อย่างง่ายดาย นอกจากนี้ คุณสมบัติพิเศษใหม่ๆ อย่างเช่น เทคโนโลยี อินเทล เทอร์โบ บูสต์ ก็จะเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพของระบบได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน โดยปรับความเร็วสัญญาณนาฬิกาของคอร์ประมวลผลแต่ละตัวได้ คือ ปรับได้ทั้งแบบหนึ่งคอร์หรือมากกว่า


อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 5500 ยังมีประสิทธิภาพเสริมด้วยระบบประหยัดพลังงานแบบอัตโนมัติ ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้มากขึ้น โดยประสิทธิภาพเสริมดังกล่าวนั้น ทำให้โปรเซสเซอร์จะใช้พลังงานเพียง 10 วัตต์เท่านั้นในช่วงไม่มีงาน (Idle) ซึ่งเป็นปริมาณที่ลดลงถึง ร้อยละ 503 เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์รุ่นก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ การใช้ทรานซิสเตอร์รุ่นใหม่ที่มี “integrated power gates” ที่ใช้เทคโนโลยี High-k metal gate ยังช่วยให้คอร์ที่ไม่ได้ใช้งาน สามารถลดการใช้พลังงานลงได้เองอีกด้วย


อินเทล ซีออน โปรเซสเวอร์ ซีรี่ส์ 5500 ยังล้ำหน้าไปอีกขั้นในด้านการใช้พลังงานแบบอัจฉริยะ โดยมีสถานะการใช้งานอัตโนมัติมากถึง 15 ระดับ จึงทำให้ชิปมีสมรรถนะเพิ่มขึ้นในด้านการจัดการการใช้พลังงาน โดยสามารถปรับระบบการใช้พลังงานตามปริมาณงานแบบเรียล-ไทม์ได้ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานโดยรวม สมรรถนะที่เยี่ยมยอดต่างๆ ดังกล่าว จะทำให้เกิดความคุ้มค่าอย่างมากต่อผู้ที่ต้องการเปลี่ยนระบบการใช้งานจากเดิมมาเป็นระบบใหม่ได้อย่างราบรื่น ด้วย อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 5500 สำหรับในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจ มีความท้าทายดังเช่นในปัจจุบัน ลูกค้าสามารถนำเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ ซีออน รุ่นเก่ามาเปลี่ยนเป็นซีออน ซีรี่ส์ 5500 รุ่นใหม่ โดยสามารถคืนทุนได้อย่างรวดเร็วภายในเวลาเพียงแปดเดือนเท่านั้น


เปิดตัว Embedded Processors รุ่นล่าสุด อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ รุ่น L5518 และ L5508 เป็นรุ่นที่ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษเพื่อรองรับตลาดด้านการสื่อสาร โดยสองรุ่นนี้มาพร้อมออพชั่นที่เหมาะอย่างยิ่งกับการใช้งานแอพพลิเคชั่นสำหรับเครื่องขนาดเล็ก ที่มีข้อจำกัดด้านการควบคุมอุณหภูมิแวดล้อม เช่น เบลดเซิร์ฟเวอร์ และอุปกรณ์สำหรับโครงสร้างเครือข่ายพื้นฐานด้านการสื่อสาร ความปลอดภัย จัดเก็บข้อมูล และด้านการแพทย์ รวมถึงการใช้กับเซิร์ฟเวอร์แบบแร็คที่มีเสถียรภาพสูง เซิร์ฟเวอร์รุ่นเฉพาะต่างๆ และรุ่นที่มีฟอร์มแฟคเตอร์ที่อยู่นอกเหนือแบบมาตรฐาน อาทิ โมดูลเราท์เตอร์ และเทคโนโลยีซับมารีน เป็นต้น ทั้งนี้ อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ รุ่น L5518 มีความเร็ว 2.13 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) และใช้พลังงาน 60 วัตต์ ส่วนรุ่น L5508 มีความเร็ว 2.00 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) และใช้พลังงาน 38 วัตต์ โปรเซสเซอร์แบบ embedded สำหรับการสื่อสารทั้งสองรุ่นนี้ มีอายุการให้การสนับสนุนยาวนานถึง 7 ปี และยังรองรับเทคโนโลยีในอนาคต อย่างเช่น ไวแม็กซ์ บริการ video-on-demand และการสื่อสารแบบโฮโลกราฟได้อีกด้วย ผลิตภัณฑ์องค์ประกอบใหม่ ในโอกาสเดียวกันนี้ อินเทล ยังได้ประกาศเปิดตัวบอร์ดเซิร์ฟเวอร์รุ่นใหม่ๆ ที่มาพร้อมส่วนประกอบต่างๆ แบบเบ็ดเสร็จ อินเทลยังได้เปิดตัวอุปกรณ์ Intel 82599 10 Gigabit Ethernet Controller ที่จะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพของการเชื่อมต่อ I/O ของระบบเครือข่ายในดาต้าเซนเตอร์แบบเสมือนจริง และสามารถรองรับหน่วยความจำที่มีแบนด์วิดธ์เพิ่มขึ้นของแพลตฟอร์มที่ใช้ อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 5500 ได้อีกด้วย โดยมีปริมาณการเชื่อมต่อของ I/O มากขึ้นถึงร้อยละ 250 เมื่อเทียบกับเซิร์ฟเวอร์รุ่นก่อนหน้านี้ เพื่อตอบสนองความต้องการของแอพพลิเคชั่นเวอร์ช่วลไลเซชั่นได้ดีที่สุด


พร้อมกันนี้ อินเทลยังวางจำหน่ายชุดอุปกรณ์พัฒนาซอฟต์แวร์ Intel Data Center Manager ที่จะช่วยให้ผู้พัฒนาแมเนจเม้นท์ คอนโซล สามารถควบคุมการใช้พลังงานของแพลตฟอร์มได้ดีขึ้น โดยสามารถตั้งค่านโยบายการใช้พลังงานของเซิร์ฟเวอร์และดาต้าเซ็นเตอร์ได้ตลอดเวลา และตอบสนองต่อปริมาณงานของเซิร์ฟเวอร์ที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเซิร์ฟเวอร์จะไม่ใช้พลังงานเกินกว่าระดับที่กำหนดไว้
ทางด้านแอพพลิเคชั่นต่างๆ ของเซิร์ฟเวอร์นั้น โปรเซสเซอร์มีความเร็วสูงสุดที่ 2.93 กิกะเฮิรตซ์ พร้อมด้วยหน่วยความจำ DDR3 ที่มีความเร็วสูงสุดที่ 1333 เมกะเฮิร์ซ และใช้พลังงานได้ในระดับตั้งแต่ 60-95 วัตต์ เทคโนโลยี อินเทล เทอร์โบ บูสต์ ยังสามารถเร่งความเร็วในการใช้งานได้สูงสุดถึง 3.33 กิกะเฮิรตซ์ ในบางสภาวะของการใช้งาน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการปรับตั้งค่าระบบและโปรเซสเซอร์ ส่วนความเร็วของเวิร์กสเตชั่นอาจสูงได้ถึง 3.20 กิกะเฮิรตซ์ ด้วยการใช้พลังงานในระดับ 130 วัตต์ และสามารถวิ่งไปได้ถึง 3.46 กิกะเฮิร์ซ ด้วยเทคโนโลยี อินเทล เทอร์โบ บูสต์ ทั้งนี้ โปรเซสเซอร์แต่ละรุ่นจะประกอบด้วยแคช L3 ซึ่งมีความเร็วสูงสุด 8 เมกะบิต
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป คาดว่าจะมีการเปิดตัวเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 5500 รุ่นใหม่ๆ ที่มีความพิเศษแตกต่างกันไปมากกว่า 230 รุ่น โดยบริษัทผู้ผลิตกว่า 70 รายทั่วโลก ซึ่งรวมไปถึงลูกค้าใหม่ของอินเทล เช่น ซิสโก้ รวมทั้งผู้ผลิตรายอื่นๆ ได้แก่ เดลล์ ฟูจิตสึ-ซีเมนส์ เอชพี ไอบีเอ็ม ซัน ไมโครซิสเต็มส์ และรายอื่นๆ เป็นต้น


นอกจากนี้ ยังมีบริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์อีกหลายรายที่ขานรับแพลตฟอร์มที่ใช้ อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 5500 เช่น ซิทริกซ์ ไอบีเอ็ม ไมโครซอฟท์ โนเวลล์ เรดแฮท เอสเอพี เอจี ซัน ไมโครซิสเต็มส์ และวีเอ็มแวร์ สำหรับรายละเอียดเพิ่มเกี่ยวกับประสิทธิภาพอันโดดเด่นของแพลตฟอร์มจากอินเทลและบริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์รายใหญ่ๆ สามารถเข้าชมได้ที่

http://www.intel.com/business/software/testimonials/xeon5500.htm


อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 5500 มีวางจำหน่ายในราคาตั้งแต่ 188 – 1,600 เหรียญสหรัฐ ในปริมาณซื้อที่ 1,000 ตัว อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 3500 แบบซ็อกเก็ตเดี่ยว วางจำหน่ายในราคาตั้งแต่ 284 – 999 เหรียญสหรัฐในปริมาณซื้อที่ 1,000 ตัว โปรเซสเซอร์แบบ embedded รุ่น L5518 และ L5508 สำหรับตลาดด้านการสื่อสารนั้น จำหน่ายในราคา 530 และ 423 เหรียญสหรัฐตามลำดับต่อปริมาณซื้อที่ 1,000 ตัว สำหรับข้อมูลเพิ่มเกี่ยวกับ ซีออน ซีรี่ส์ 5500 สามารถเข้าชมได้ที่

www.intel.com/xeon

ส่วนรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถิติโลกต่างๆ รวมถึงประสิทธิภาพที่มีการอ้างอิงถึง สามารถเข้าชมได้ที่

http://www.intel.com/performance/server/xeon/summary.htm?iid=perf_server_lhn+dp_sum

AMD โชว์วิสัยทัศน์ ดาต้าเซ็นเตอร์ในอนาคต ผ่านโร้ดแม็ปเซิร์ฟเวอร์รุ่นใหม่

AMDเผยรายละเอียดโปรเซสเซอร์ Six-Core โค้ดเนม “Istanbul” รุ่นใหม่ พร้อมโชว์ศักยภาพแพลตฟอร์มเซิร์ฟเวอร์ G34 ที่งานฉลองครบรอบ 6 ปีโปรเซสเซอร์ AMD Opteron ซึ่งจัดขึ้นที่สำนักงานใหญ่ของเอเอ็มดีในซันนี่วัลเล่, แคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา บริษัทเอเอ็มดี (NYSE: AMD) ได้เปิดเผยโร้ดแม็ปล่าสุดสำหรับกลุ่มผลิตภัณฑ์เซิร์ฟเวอร์ และการดำเนินตามแผนที่กำหนด


เอเอ็มดีเตรียมเปิดตัวโปรเซสเซอร์ Six-Core AMD Opteron ใหม่โค้ดเนม “Istanbul” ในเดือนมิถุนายนปีนี้ พร้อมสมรรถนะที่เพิ่มขึ้น 30% ขณะที่ใช้พลังงานเท่าเดิม และสนับสนุนแพลตฟอร์มเดิม เช่นเดียวกับ Quad-Core AMD Opteron รุ่นปัจจุบัน1
เอเอ็มดียังเปิดเผยเกี่ยวกับสถาปัตกรรม Direct Connect Architecture 2.0 ซึ่งเป็นก้าวถัดไปของเซิร์ฟเวอร์โปรเซสเซอร์ โดยในเบื้องต้นรองรับสูงสุดถึง 12 คอร์ พร้อมเมมโมรี่และ I/O ระดับไฮเอนด์, สมรรถนะเวอร์ชวลไลเซชั่นที่เกือบเท่าของจริง และอัตราการใช้พลังงานที่ยังคงเท่าเดิม


เอเอ็มดีเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้จะยังประโยชน์สูงสุดแก่ผู้บริโภค เป็นการพลิกประวัติศาสตร์เซิร์ฟเวอร์ ด้วยสมรรถนะระดับไฮเอนด์ และความยืดหยุ่นสูงสุดสำหรับการอัพเกรดระบบไปใช้โปรเซสเซอร์รุ่นใหม่ที่มีคอร์โปรเซสเซอร์มากกว่า และในระดับพื้นฐานเอง สิ่งที่เอเอ็มดีเห็นก็คือความสามารถในการจัดการพลังงานซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับระบบ Cloud Computing รวมถึงการทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมแบบ Ultra-dense


ในปี 2010 เอเอ็มดีมีแผนวางจำหน่ายโปรเซสเซอร์ AMD Opteron 6000 Series สำหรับเซิร์ฟเวอร์ 2P และ 4P ซึ่งออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดดาต้าเบส ที่ต้องการคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง พร้อมความสามารถด้านเวอร์ชวลไลเซชั่น โปรเซสเซอร์ AMD Opteron 6000 Series จะพัฒนาบนสถาปัตยกรรม Socket G34 สำหรับแพลตฟอร์ม “Maranello” และใช้โปรเซสเซอร์ 8- และ 12-Core โค้ดเนม “Magny-Cours”


AMD Opteron 4000 Series ก็จะมีการเปิดตัวออกมาในปี 2010 เช่นกัน เป็นโปรเซสเซอร์สำหรับเซิร์ฟเวอร์ 1P และ 2P ออกแบบขึ้นสำหรับงาน virtualized Web และ cloud computing โปรเซสเซอร์ 4000 Series จะพัฒนาบนสถาปัตยกรรม Socket C32 สำหรับแพลตฟอร์ม “San Marino” และใช้โปรเซสเซอร์ 4- และ 6-Core โค้ดเนม “Lisbon”


โปรเซสเซอร์ 12- และ 16-Core โค้ดเนม “Interlagos” จะพัฒนาบนคอร์ “Bulldozer” และใช้เทคโนโลยี 32nm ในการผลิต มีกำหนดวางตลาดในปี 2011 และสนับสนุนแพลตฟอร์ม “Maranello” ส่วนโปรเซสเซอร์ 6- to 8-core โค้ดเนม “Valencia” จะใช้เทคโนโลยี 32nm ในการผลิต และมีกำหนดวางตลาดในปี 2011 บนแพลตฟอร์ม “San Marino”


“ตลอด 6 ปีที่ผ่านมา เอเอ็มดีได้เปลี่ยนโฉมหน้าของอุตสาหกรรม x86 Server ให้เป็นอย่างทีเห็นในปัจจุบันด้วยโปรเซสเซอร์ AMD Opteron โปรเซสเซอร์ที่มีสมรรถนะต่อวัตต์สูงสุดและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และในปี 2010 และ 2011 เอเอ็มดีมีแผนจะพลิกประวัติศาสตร์อีกครั้งด้วยโปรเซสเซอร์ที่มีสมรรถนะสูงขึ้นอีกขั้นโดยยังคงใช้พลังงานในระดับเท่าเดิม ตอนนี้เรากำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา แต่คร่าวๆ มันจะมีสมรรถนะสูงกว่า Single-Core AMD Opteron รุ่นแรกถึง 35 เท่าทีเดียว” แพ็ตทริค พัตลา (Patrick Patla) รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ (Vice President) และผู้จัดการทั่วไป (General Manager) กลุ่มธุรกิจเซิร์ฟเวอร์/เวิร์คสเตชั่น บริษัทเอเอ็มดี กล่าวและว่า “ด้วยผลิตภัณฑ์และสมรรถนะที่หลากหลาย เอเอ็มดีกำลังนำมูลค่าสูงสุด ณ ทุกๆระดับราคา สู่ผู้บริโภค และจะดำเนินตามนโยบายนี้อย่างต่อเนื่องต่อไปในอนาคต”

วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

P5S-MX SE สุดยอดความคุ้มค่าเต็มประสิทธิภาพ

SIS กลับมาสร้างตำนานครั้งยิ่งใหญ่ด้วยการเปิดตัวชิปเซ็ต SiS 671FX ออกสู่ตลาด ซึ่งมาพร้อมกับสถาปัตยกรรมการผลิตระดับสูง รองรับการใช้งานซีพียูอินเทลรุ่นใหม่ตระกูล Core 2 Duo พร้อมสนับสนุนเทคโนโลยี Hyper-threading และรวมระบบการแสดงผลกราฟิกชิปเซ็ต SiS Mirage 3 ซึ่งสามารถทำงานได้ทั้งระบบปฏิบัติการ Windows XP และ Windows Vista อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งทั้งหมดนี้ถูกกำเนิดเป็นเมนบอร์ด ASUS P5S-MX SE


P5S-MX SE เป็นเมนบอร์ด Micro ATX ที่ถูกออกแบบมาให้ใช้งานร่วมกับซีพียูอินเทล LGA775 สถาปัตยกรรม 65 nm สนับสนุนเทคโนโลยี Hyper-threading รองรับซีพียู Pentium 4 ไปจนถึงระดับ Core 2 Duo ทำงานเต็มความเร็ว FSB 1066 MHz รันการทำงานได้ทั้งแบบ 64 bit และ 32 bit พร้อมทั้งรองรับหน่วยความจำ DDRII สูงสุดถึง 4 GB ที่ความเร็ว 667/533/400 MHz ทำงานแบบ Single Channel


โดดเด่นด้วยเทคโนโลยีกราฟิกระบบอัจฉริยะทางด้านการแสดงผลกราฟิกชิปเซ็ต Mirage 3 แชร์เมโมรี่ได้สูงสุดถึง 256MB รองรับเทคโนโลยี DirectX9.0 สามารถประมวลผลภาพ 2D และ 3D ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สมจริงและยังรองรับกราฟิกการ์ดแบบใหม่ผ่านสล็อต PCI-Express X16 ทำงานเต็มที่แบนวิธ 4GB/s สำหรับผู้ที่ต้องการใช้งานกราฟิกออกแบบหรือเล่นเกมสามมิติระดับสูง พร้อมถอดรหัสเสียงที่สมจริงแบบ HD Audio Codec ด้วยชิป Realtek ALC662 แบบ 6 ทิศทางและมี S/PDIF-out รองรับการเชื่อมต่อเข้ากับชุดเครื่องเสียงภายนอก


นอกจากนี้ยังยังมีชิป SiS® 968 ที่เป็น South Bridge ควบคุมอุปกรณ์คอนโทรลเลอร์ต่างๆ ด้วยเทคโนโลยี MuTIOL® 1G ที่แบนวิธด์ 1GB/s รองรับการเก็บข้อมูลด้วยฮาร์ดดิสก์มาตรฐาน ATA100/133 และ Serial ATA 3.0Gb/s สนับสนุนการทำ Raid 0 เพื่อยกระดับการทำงานที่เร็วเต็มประสิทธิภาพและสนับสนุนการทำ Raid 1 เพื่อความปลอดภัยของระบบ อีกทั้งยังมี Utility ที่ควบคุมการทำงานฮาร์ดแวร์ได้อย่างยืดหยุ่น มีความเสถียรภาพการใช้งานที่อยู่ในเกณฑ์ที่ดี


ASUS P5S-MX SE เป็นเมนบอร์ดที่มากด้วยฟีเจอร์ รองรับอนาคตไปได้ไกล สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่อพ่วงได้หลากหลาย นับเป็นทางเลือกสุดคุ้มที่ไม่ควรพลาด

Planet Pre-N เน็ตเวิร์กไร้สายความเร็วสูง

เมื่อมาตรฐานของเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงตัวใหม่ อย่าง 802.11n กว่าจะได้ถูกนำมาใช้งานก็คงเป็นปี 2010 แต่ความต้องการเครือข่ายไร้สายที่ให้ความเร็วสูงมากกว่า 802.11g ก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ครั้นจะไปใช้เครือข่ายไร้สายที่มีรูปแบบเฉพาะตัวก็กลัวว่าจะมีปัญหากับการอัพเกรดในอนาคต


แต่เพื่อสนองตอบความต้องการของผู้ใช้ ทำให้ผู้ผลิตหลายๆ รายต่างก็นำเสนอรูปแบบของเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงที่เรียกว่า Pre-N หรือมาตรฐานก่อน N ออกมา เพื่อให้ผู้ใช้ที่ต้องการเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงสามารถใช้งานได้ก่อน และพร้อมที่จะอัพเกรดไปเป็น 802.11n หากว่าประกาศออกมาเป็นทางการแล้วได้


ทำให้สินค้าตามแบบของ Pre-N ไม่เพียงแค่มีผู้คิดค้นเทคโนโลยีจากฝั่งอเมริกาที่ผลิตขึ้นมารองรับเท่านั้นแลัว หนึ่งในผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ระบบเครือข่ายจากไต้หวันอย่าง Planet ก็ยังได้พัฒนาโซลูชันสำหรับเครือข่ายตามมาตรฐาน Pre-N ด้วยเช่นกัน ประกอบด้วยทั้งเราเตอร์แบบ Pre-N การ์ดเน็ตเวิร์กแบบ PCI และการ์ดเน็ตเวิร์กที่ใช้การเชื่อมต่อผ่านทางพอร์ต USB เพื่อเป็นโซลูชันพร้อมใช้งานสำหรับผู้ที่ต้องการเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงนั่นเอง


Pre-N เร็วอย่างไร? มาตรฐานของ 802.11n นั้นถือว่าเป็นเครือข่ายความเร็วสูง ที่ให้ความเร็วในการเชื่อมต่อที่สูงมาก โดยสูงกว่า 802.11g ในปัจจุบันถึงกว่า 6 เท่า โดยที่จะมีความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลอยู่ที่ 600 เมกะบิตต่อวินาที อีกทั้งยังให้ระยะทางในการเชื่อมต่อที่ไกลกว่าด้วย ซึ่งด้วยเครือข่าย N นี้จะให้ประสิทธิภาพ ในการใช้งานเครือข่ายนั้นสูงขึ้นกว่าเดิม และ Pre-N ถึงแม้จะเป็นเพียงมาตรฐานก่อน N แต่ก็ให้ประสิทธภาพได้ไม่น้อยเหมือนกัน เพราะตามสเปกนั้น จะให้การเชื่อมต่อที่ความเร็วสูงถึง 300 เมกะบิตต่อวินาที โดยที่ยังคงให้ระยะทางในการเชื่อมต่อ มากกว่าตามไปด้วย ทำให้เราสนใจว่าประสิทธิภาพของ Pre-N ที่ว่ากันว่าสูงกว่าเครือข่ายในปัจจุบันได้จริงๆ แค่ไหน โดยในโซลูชันนี้ เรามีทั้งเราเตอร์ตามมาตรฐานของ Pre-N และการ์ดเน็ตเวิร์กในยี่ห้อเดียวกันแบบครบครัน


Planet WNRT610 เราเตอร์สำหรับ Pre-N ที่ออกแบบสำหรับการใช้งานทั้งออฟฟิศและการใช้งานภายในบ้าน โดยคุณสมบัติของเราเตอร์ไม่ได้เป็น ADSL ในตัว แต่สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายได้โดยตรง จากทั้งสัญญาณที่มาจากอีเธอร์เน็ตของโมเด็ม ADSL หรือว่าการเป็นเราเตอร์สำหรับใช้งานในระบบเครือข่ายก็ย่อมได้ ซึ่งด้านหลังมีช่องสำหรับเสียบสัญญาณเอาไว้ครบ ทั้ง 1 WAN พอร์ต สำหรับเน็ตเวิร์กจากภายนอก และ 4 พอร์ต Ethernet สำหรับการกระจายโดยใช้สายไปยังเครื่องต่างๆ ภายในออฟฟิศ โดยก่อนอื่นต้องกำหนดค่าการทำงานของเราเตอร์ผ่านทางหน้า Web UI ผ่านทางไอพีแอดเดรสของเราเตอร์โดยตรง โดยกำหนดได้ทั้งการทำงานของเครือข่ายไร้สาย ว่าจะให้รองรับการทำงานในเครือข่ายไหน ระหว่าง 11b+11g+11n หรือ 11g+11n หรือการทำงานเฉพาะ 11n อย่างเดียว และรองรับการทำงานตามรูปแบบมาตรฐานของเราเตอร์ในระบบเครือข่ายอย่างครบถ้วน ซึ่งการกำหนดการทำงานของเราเตอร์ในแต่ละโหมดนั้น จะทำให้รองรับไคลเอนต์ในมาตรฐานที่แตกต่างกันตามไปด้วย แน่นอนว่าย่อมรวมถึงการกำหนดสิทธิและการรักษาความปลอดภัยไปด้วยในตัว


เพื่อให้เข้าชุดกับการทำงานแบบ Pre-N ทางด้าน Planet ได้มีอะแดปเตอร์สำหรับ Pre-N ออกมาสองรูปแบบคือ แบบที่เป็น PCI รุ่น WNL-9310 สำหรับการติดตั้งในเดสก์ทอป และ USB รุ่น WNL-U550 สำหรับโน้ตบุ๊กและเดสก์ทอป ที่ติดตั้งการ์ด PCI ลำบากนั่นเอง โดยอะแดปเตอร์ USB หรือว่ารุ่น WNL-U550 จะแตกต่างไปจาก USB อะแดปเตอร์ทั่วๆ ไป เพราะไม่ได้เป็นแท่งติดตั้งเข้ากับเครื่องโดยตรง เหมือนกับอะแดปเตอร์ USB อื่นๆ แต่จะเป็นแท่นสำหรับวางและเสียบสายเข้ากับเครื่อง เพื่อให้มีพื้นที่สำหรับรับส่งสัญญาณได้ดีกว่า และสามารถใช้งานร่วมกับเดสก์ทอปโดยวางตัวอะแดปเตอร์ไว้บนตัวเครื่องได้เพื่อให้สามารถรับส่งสัญญาณได้ดีขึ้นกว่าการติดตั้งไว้ด้านหน้าหรือด้านหลังของตัวเครื่อง และการ์ดเน็ตเวิร์กแบบ PCI ก็ให้ประสิทธิภาพการทำงานที่ดีกว่า เพราะไม่ได้ติดตั้งเสาอากาศเข้ากับเครื่องโดยตรง แต่จะเชื่อมสายมายังเสาอากาศด้านนอก เพื่อให้รับส่งสัญญาณได้ดีขึ้น ซึ่งคุณสามารถวางเสาอากาศไว้บนโต๊ะหรือว่าบนเดสก์ทอปได้เลย


มาดูกันถึงประสิทธิภาพการทำงาน สำหรับ Pre-N ระบุสเปกไว้ว่าให้ความเร็วในการทำงานสูงถึง 300 เมกะบิตต่อวินาที ทำให้เราคาดหวังว่าจะสามารถให้ประสิทธิภาพใกล้เคียงได้กับความเร็วของอีเธอร์เน็ตมากขึ้น แน่นอนว่าเราติดตั้งคอมพิวเตอร์เดสก์ทอปเข้ากับเราเตอร์โดยตรง และติดตั้งอะแดปเตอร์ USB เข้ากับโน้ตบุ๊กเพื่อให้สามารถทำงานตามมาตรฐาน Pre-N ได้ พร้อมกับทดสอบการเชื่อมต่อผ่านทาง Ethernet ไปพร้อมๆ กัน ซึ่งผลที่ได้สำหรับ Pre-N เราวัดการทำงานในการรับส่งข้อมูลได้เพียง 34 เมกะบิตต่อวินาที ที่ระยะการทำงาน 10 ฟุต และหากว่าเปรียบเทียบกับ 11g พบว่าให้อัตราการส่งข้อมูลมากกว่า 2 เท่า จากที่ 11g วัดการทำงานได้เพียง 17 เมกะบิตต่อวินาทีเท่านั้นเอง และแน่นอนว่าคงไม่สามารถที่จะแทนที่ Ethernet ด้วย Pre-N ได้ เนื่องจากสภาพแวดล้อมเดียวกัน เราสามารถวัดประสิทธิภาพของอีเธอร์เน็ตได้ที่ 80 เมกะบิตต่อวินาทีเลยทีเดียว

FUJITSU PRIMERGY TX 120 เซิร์ฟเวอร์ที่มีขนาดเล็ก เงียบ และประหยัดพลังงานมากที่สุดในโลก

ไพรเมอร์จี ทีเอ็กซ์ 120 ของฟูจิตสึ เป็นที่สุดในโลกถึงสามด้าน เล็ก เงียบและประหยัด ให้ความสะดวกกับธุรกิจได้โดยไม่ต้องพึ่งพาห้องเซิร์ฟเวอร์ที่แยกสัดส่วนโดยเฉพาะ


ฟูจิตสึ คอมพิวเตอร์ ซิสเต็มส์ คอร์ปอเรชั่น ผู้ให้บริการโซลูชั่นเชิงกลยุทธ์แก่บริษัทชั้นนำของโลกมากมาย และพร้อมนำเสนอเทคโนโลยีอันทันสมัย ได้เปิดตัว ไพรเมอร์จี ทีเอ็กซ์ 120 (PRIMERGY TX120) เซิร์ฟเวอร์แบบทาวเวอร์ที่มีขนาดเล็กที่สุด เงียบที่สุด และใช้พลังงานได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุดในโลก ซึ่งออกแบบมาเพื่อธุรกิจขนาดเล็กและโฮมออฟฟิศที่มักไม่มีการจัดสรรพื้นที่ในบริษัทสำหรับดูแลเซิร์ฟเวอร์แยกต่างหากโดยเฉพาะ โดย ไพรเมอร์จี ทีเอ็กซ์ 120 มาพร้อมกับฟังก์ชันต่างๆ ครบถ้วนเช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์อื่นๆ ในกลุ่ม ไพรเมอร์จี ที่ได้รับรางวัลมาก่อนหน้านี้มากมาย ขณะเดียวกันก็ใช้พื้นที่ติดตั้งน้อยลง ปล่อยความร้อนและเสียงรบกวนน้อยกว่าเดิม ที่สำคัญยังประหยัดพลังงานมากกว่าด้วย



ปัจจุบันคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์สำหรับดูแลงานเฉพาะทาง กลายเป็นองค์ประกอบหนึ่งบนระบบไอทีที่พบเห็นได้ทั่วไป แม้กับในธุรกิจขนาดเล็ก ตั้งแต่สถาบันด้านสุขภาพ สำนักงานกฎหมาย โบรกเกอร์จัดการด้านการลงทุนและประกันภัย ฟรีแลนซ์ ร้านค้าปลีกขนาดเล็ก ไปจนถึงสำนักงานสาขาของบริษัทขนาดใหญ่ อย่างไรก็ดีมีบริษัทขนาดเล็กเหล่านี้จำนวนไม่มากที่มีพื้นที่เพียงพอสำหรับสร้างห้องเพื่อแยกจัดเก็บเซิร์ฟเวอร์และโครงสร้างพื้นฐานระบบไอที ทำให้บ่อยครั้งเซิร์ฟเวอร์เครื่องใหญ่ที่มีเสียงดังรบกวน จึงถูกตั้งห่างจากโต๊ะทำงานของพนักงานในบริษัทเพียงไม่กี่ฟุตเท่านั้น ตรงกันข้ามกับการออกแบบของ ไพรเมอร์จี ทีเอ็กซ์ 120 ที่มีขนาดเพียงหนึ่งในสามของเซิร์ฟเวอร์ทั่วไป ทำงานได้เงียบกว่า และไม่รบกวนบุคคลรอบข้าง ใช้พลังงานเพียง 163 วัตต์ ซึ่งทำให้ ไพรเมอร์จี ทีเอ็กซ์ 120 กินไฟเทียบเท่ากับหลอดไฟในสำนักงานทั่วไปเท่านั้น


ขนาดที่เล็กกว่า: ไพรเมอร์จี ทีเอ็กซ์ 120 กว้างเพียง 4 นิ้ว สูง 13 นิ้ว และยาวเพียง 16 นิ้วเท่านั้น


มีเสียงรบกวนน้อยกว่า: ไพรเมอร์จี ทีเอ็กซ์ 120 มีเสียงรบกวนในระดับ 28 เดซิเบล ในขณะที่ไม่มีการประมวลผล และเพียง 31 เดซิเบลในระหว่างการทำงาน ซึ่งถือว่ามีเสียงรบกวนต่ำกว่าเซิร์ฟเวอร์มาตรฐานทั่วไปถึง 50 เปอร์เซ็นต์ทีเดียว
ใช้พลังงานน้อยกว่า: ไพรเมอร์จี ทีเอ็กซ์ 120 ที่มีการตั้งค่าให้ทำงานอย่างเต็มสมรรถนะ ใช้พลังงานน้อยกว่าเซิร์ฟเวอร์มาตรฐานทั่วไปถึง 35-40 เปอร์เซ็ต์ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า 100 เหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 3,500 บาท) (1) ต่อปีต่อเซิร์ฟเวอร์ โดยการทำงานแบบเต็มที่ของ โพรเซสเซอร์ ดูอัล-คอร์ อินเทล ซีออน ยูพี (Dual-Core Intel Xeon UP) จะใช้พลังงานสูงสุดเพียง 163 วัตต์ เท่านั้น


ไพรเมอร์จี เซิร์ฟเวอร์ ทีเอ็กซ์ 120 มาพร้อมกับ ไพรเมอร์จี เซิร์ฟเวอร์วิว รีโมตแมเนจเมนต์ (PRIMERGY Server View Remote Management) ที่ทำให้การจัดการ ดูแลความปลอดภัยเซิร์ฟเวอร์เป็นเรื่องง่าย ประหยัด และทำได้จากสถานที่ใดเวลาใดก็ได้ สะดวกทั้งกับบริษัทขนาดเล็กที่พึ่งพาที่ปรึกษาในการดูแลบริหารเซิร์ฟเวอร์ ไปจนถึงสำนักงานสาขาของบริษัทขนาดใหญ่ที่มีฝ่ายไอทีจากสำนักงานใหญ่เป็นผู้ดูแลระบบ
"ไพรเมอร์จี ทีเอ็กซ์ 120 ถือเป็นก้าวสำคัญในการตอบสนองความต้องการของธุรกิจขนาดเล็ก ซึ่งทางฟูจิตสึ เล็งเห็นว่าเป็นตลาดที่สำคัญและกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว" ริชาร์ด แม็คคอร์แมค รองประธานอาวุโสฝ่ายการตลาดและเซิร์ฟเวอร์ ของ ฟูจิตสึ คอมพิวเตอร์ ซิสเต็มส์ กล่าวว่า "เครื่องไพรเมอร์จี เซิร์ฟเวอร์ ทีเอ็กซ์ 120 เป็นหนึ่งในผลงานของเราที่เกิดจากความมุ่งมั่นในการลดการปล่อยคาร์บอนอย่างจริงจังทั่วทั้งองค์กรในทุกผลิตภัณฑ์ที่เรามีอยู่"


ข้อมูลทางเทคนิค:
1. โพรเซสเซอร์ ดูอัล-คอร์ อินเทล ซีออน ยูพี พร้อมด้วยหน่วยความจำแบบเอสแอลซี (SLC - Single Level Cell) ขนาด 4 เมกะไบต์ และทำงานที่ความเร็วฟร้อนต์ไซด์บัส 1066 เมกะเฮิร์ตซ์ หรือโพรเซสเซอร์ อินเทล เซเลอรอน (Intel Celeron) (พร้อมวางจำหน่ายเดือนกันยายน 2550 นี้)
2. หน่วยความจำระบบแบบ DIMM จำนวน 4 แถว รองรับสูงสุดที่ 8 กิกะไบต์ พร้อมคุณสมบัติอีซีซี (ECC - error correction code)
3. 4 พอร์ตสำหรับควบคุมเอสเอเอส (SAS controller) พร้อมเรด (RAID) 0, 1 และ 1E
4. รองรับฮาร์ดดิสก์แบบเอสเอเอส (SAS - Serial Attached SCSI) ที่ถอดเปลี่ยนได้จำนวน 2 ลูก
5. มาพร้อมกับระบบควบคุมจัดการจากทางไกล (iRMC - Integrated Remote Management Controller) และชุดเสริมคุณสมบัติด้านการควบคุมชั้นสูง (iRMC Advanced Pack)
6. อีเธอร์เน็ตแบบ 1 กิกะบิตต่อวินาที พร้อมด้วยเซอร์วิสแลนสำหรับคุณสมบัติไออาร์เอ็มซี (Service LAN for iRMC)

แฮคเกอร์เจาะช่องโหว่ใน Windows 7

รายงานข่าวล่าสุดอีกชิ้นหนึ่งเกี่ยวกับ Windows 7 ซึ่งอาจจะเป็นข่าวที่ไม่ค่อยสู้ดีนัก เนื่องจากในงานประชุมเกี่ยวกับระบบรักษาความปลอดภัย Hack In The Box (HITB) ที่จัดขึ้นในดูไบเมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมา ทีมวิจัยได้สาธิตการแฮคเข้าไปในระบบปฏิบัติการ Windows 7 ด้วยซอฟต์แวร์ที่พวกเขาพัฒนาขึ้น

ซอฟต์แวร์ดังกล่าวมีชื่อว่า VBootkit 2.0 พัฒนาโดย Vipin Kumar และ Nitin Kumar สามารถใช้ช่องโหว่ในระบบปฏิบัติการ Windows 7 ผ่านเข้าไปควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ได้ในระหว่างที่กำลังบู๊ตเครื่อง ซึ่งการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ที่พบนี้จะไม่เหมือนกับวิธีทั่วไป เนื่องจากมันจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของ Windows 7 ไปเลยจนกว่าจะมีการเขียนทับ หรือติดตั้งโอเอสเข้าไปใหม่

"ไม่มีทางแก้ไขได้ และมันก็แก้ไขไม่ได้ เนื่องจากเป็นปัญหาของการออกแบบ(windows7)" Vipin กล่าว อย่างไรก็ตาม การแฮคดังกล่าวจะไม่สามารถกระทำระยะไกลผ่านทางเครือข่ายได้ แฮคเกอร์ที่ใช้วิธีนี้จะต้องกระทำการที่เครื่องของเหยื่อเท่านั้น โปรแกรม VBootkit 2.0 มีขนาดแค่ 3 กิโลไบต์เท่านั้น โดยมันสามารถเปลี่ยนให้โหลดไฟล์ต่างๆ ตามที่ต้องการผ่านเข้าไปในหน่วยความจำระบบระหว่างที่มีการบู๊ต Windows 7 เนื่องจากมันไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลใดๆ บนฮาร์ดดิสก์ VBootkit 2.0 จึงถูกตรวจจับได้ยาก ดังนั้นการรีบู๊ตเครื่องก็เท่ากับเป็นการเปิดโอกาสให้โปรแกรมอันตรายนี้โหลดโมดูลอื่นเข้าไปแทนโปรแกรมรักษาความปลอดภัยของเครื่อง เพื่อเปิดช่องให้แฮคเกอร์สามารถเข้าถึงจากบนเน็ต และทำการยกระดับสิทธิ์ในการเข้าถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ของเหยื่อ ตลอดจนแก้ไขพาสเวิร์ด ค้นข้อมูล ตลอดจนแก้ไขพาสเวิร์ดเดิมให้กับผู้ใช้ โดยที่เหยื่อไม่ทันรู้ตัวเลยด้วยซ้ำ

สำหรับ VBootkit 2.0 เป็นเวอร์ชั่นสองของโปรแกรม โดยเวอร์ชั่นแรกได้นำออกสาธิตการเจาะระบบ Windows Vista เมื่อปี 2007 เพื่อเผยให้เห็นช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการนั่นเอง อย่างไรก็ตาม ทางไมโครซอฟท์ยังไม่ได้ให้ความเห็นใดๆ ทั้งสิ้นต่อกรณีที่เกิดขึ้น

เน็ตบุ๊กแอนดรอยด์ราคาต่ำหมื่น!!!

รายงานข่าวจากซีเน็ตนิวส์อ้างว่า เน็ตบุ๊กตัวแรกทีใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ของกูเกิ้ลที่คาดว่าจะวางตลาดในอีกสามเดือนข้างหน้าจะมีราคาประมาณ 250 เหรียญฯ หรือคิดเป็นเงินไทยตกอยู่ที่ 8,750 บาทเท่านั้น

Alpha680 เน็ตบุ๊กแอนดรอยด์ตัวแรกกำลังจะผ่านการทดสอบขั้นสุดท้ายที่ Guangzhou Skytone Transmission Technologies โดยสเป็กของเครื่องจะใช้ซีพียู ARM 11 ทำงานที่ 533MHz หน้าจอแอลซีดีขนาด 7 นิ้ว พร้อมด้วยคีย์บอร์ด ทัชแพด และความสามารถในการเชื่อมต่อไร้สาย Wi-Fi อย่างไรก็ตาม Alpha 680 จะใช้แบตเตอรี่แค่ 2 เซลทำให้มันสามารถท่องเน็ตได้นาน 2-4 ชั่วโมง ซึ่งต่ำกว่าที่คาดการณ์กันไว้ถึง 12 ชั่วโมง



ก่อนหน้านี้ก็มีรายงานข่าวออกมาว่า HP บริษัทผู้ครองส่วนแบ่งตลาดโน้ตบุ๊กอันดับหนึ่งของโลกก็ได้คิดที่จะใช้ Android กับเน็ตบุ๊กราคาถูกของทางบริษัทเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ทางด้านผู้บริหารไม่ได้กล่าวแน่ชัดว่า แผนที่จะจำหน่ายเน็ตบุ๊กแอนดรอยด์จะเริ่มเมื่อไร ส่วน Asustek Computer ก็ได้ให้ข่าวถึงความสนใจในการใช้ Android กับเน็ตบุ๊กด้วยแล้วเหมือนกัน ในขณะที่ Dell ก็กำลังพิจารณาที่จะใช้แอนดรอยด์กับสมาร์ทโฟน ซึ่งกำลังจะวางตลาดในปีนี้
สาเหตุที่ Android ได้รับความสนใจก็เนื่องจากว่า มันเป็นของฟรี ในขณะที่ไมโครวอฟท์ชาร์จค่าไลเซ็นส์บนเน็ตบุ๊กทุกเครื่อง การที่จะแตะราคาต่ำสุดของเน็ตบุ๊กได้นั้น ทางผู้ผลิตจำเป็นต้องลดต้นทุนทุกทางเท่าที่สามารถทำได้

ช่องโหว่ JavaScript ใน PDF reader

ก่อนหน้านี้ทางกองบรรณาธิการเว็บไซต์เออาร์ไอพี (arip) ได้รายงานเกี่ยวกับช่องโหว่อันตรายที่เกิดจากการเปิด PDF reader ในบราวเซอร์ ล่่าสุดมีรายงานข่าวเกี่ยวกับช่องโหว่ใหม่ที่พบในโปรแกรมดังกล่าวอีกแล้ แต่คราวนี้มีสาเหตุจากฟังก์ชัน "getAnnots()" ในจาวาสตริปท์ (JavaScript)


"ช่องโหว่ใหม่ล่าสุดที่พบจะเปิดโอกาสให้ผู้ไม่หวังดีสามารถสั่งรันโค้ดอันตรายบนเครื่องของเหยื่อผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้" ข้อความแจ้งเตือนที่โพสต์ไว้บนโฮมเพจของ US-CERT นอกจากนี้ยังได้แนะนำให้ยกเลิก (disable) การทำงานของ JavaScript ใน Adobe Reader เพื่อลดความเสี่ยงด้วย สำหรับช่องโหว่ดังกล่าว ทาง Adobe ได้รับรายงานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว "เรากำลังอยู่ในระหว่างตรวจสอบ และจะอัพเดตให้ผู้ใช้ได้ทราบรายละเอียดกันอีกที" จากข้อความที่ปรากฎบล็อกของ Adobe เอง


สำหรับวิธียกเลิกการทำงานของจาวาสคริปท์ใน Acrobat Reader ให้คลิ้กเมนู Edit เลือกคำสัง Preferences ในกรอบ Categories: เลือก JavaScript คลิ้กเครื่องหมายถูกออกไปจากช่องหน้าข้อความ Enable Acrobat JavaScript แล้วคลิกปุ่ม OK เป็นขั้นตอนสุดท้าย

เมื่อเร็วๆ นี้ Mikko Hypponen ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิจัยจากบริษัท F-Secure ก็ได้ออกมาแนะนำให้ผู้ใช้ถอดโปรแกรม Adobe Reader ออกไป เพื่อความปลอดภัยจากช่องโหว่ที่เกิดจากการเรียกใช้ PDF viewer จากในบราวเซอร์โดยอัตโนมัติ เนื่องจากเปิดไฟล์ PDF อันตรายที่อาศัยช่องโหว่อย่างน้อย 6 แห่งใน PDF Reader

ในบรรดาโปรแกรมอ่านไฟล์ PDF ที่ให้ดาวน์โหลดฟรี ก็จะมี PDF Revu ของ Bluebeam ที่อ้างว่าเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่า(ให้ลองใช้ก่อน 30 วัน) โดยโปรแกรมดังกล่าวจะมีคุณสมบัติการเปิด PDF หลายไฟล์พร้อมกันได้ถึง 16 ไฟล์ โดยแยกเปิดแต่ละไฟล์เป็นแท็บแบบบราวเซอร์ ทั้งนี้ไฟล์ PDF ที่เปิดขึ้นมาในโปรแกรมทั้งหมดสามารถมาจากที่ต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นไดรฟ์บนเน็ตเวิร์ก หรือดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้ไฟล์ทั้งหมดจะเปิดในแอพพลิเคชัน PDF Revu แยกต่างหากแทนที่จะฝังตัวอยู่ในบราวเซอร์ Don Jacob โฆษกประจำบริษัท Bluebeam ยังกล่าวอีกด้วยว่า "ผู้ใช้ PDF ที่ปฎิบัติตามคำแนะนำของ Hypponen ด้วยการถอดถอด (uninstall) โปรแกรม Adobe Reader ออกไปแล้ว สามารถใช้ Bluebeam PDF Revu เพื่อความปลอดภัยในการวิวไฟล์ PDF ได้ เนื่องจากโปรแกรมใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยกว่า ทำให้ไม่ถูกโจมตีได้โดยง่ายอย่างที่ผู้ใช้ Adobe Reader กำลังได้รับผลกระทบอยู่ในขณะนี้"

Tags: pdf reader javascript bug flaw ช่องโหว่ บั๊ก จาวาสคริปท์ พีดีเอฟ

Wolfram เสิร์ชเอ็นจิ้นตัวใหม่ตอบได้ทุกเรื่อง

อีกไม่กี่สัปดาห์จากนี้ไป โลกจะได้รู้จักกับเสิร์ชเอ็นจิ้นตัวใหม่ ซึ่งทำงานด้วยซอฟต์แวร์ที่มีความสามารถในการคำนวณเป็นเลิศชื่อว่า Wolfram Alpha โดย Stephen Wolfram ผู้พัฒนาเรียกมันว่าเป็น "Computational Knowledge engine" และไม่ว่าจะเรียกกันอย่างไรก็ตาม Wolfram Alpha ไม่ใช่เสิร์ชเอ็นจิ้นแบบ Google ที่พยายามค้นหาหน้าเว็บที่คาดว่าจะมีคำตอบให้กับผู้ใช้ แต่มันจะพยายามค้นหาคำตอบให้กับสิ่งที่คุณถามโดยตรง


Danny Sullivan ผู้เชี่ยวชาญเสิร์ชเอ็นจิ้นเรียกระบบค้นหาดังกล่าวว่า เครื่องมือค้นหาข้อเท็จจริง (fact search engine) หรือ เครื่องมือค้นหาคำตอบ (answer search engine) ซึ่งเป็นคำที่เขาเคยใช้เรียกบริการที่สามารถค้นหาคำตอบโดยตรงให้กับผู้ใช้ได้ แทนที่จะพาไปยังเว็บเพจต่างๆ ที่อาจจะพบคำตอบให้เฉยๆ ดังเช่น เครื่องมือค้นหายอดฮิตอย่าง Google

ในงาน Webinar ที่จัดให้มีขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา Wolfram ได้แสดงความสามารถอันน่าทึ่งของเสิร์ชตัวนี้ให้กับผู้เข้าร่วมสัมมนา โดยคำตอบที่มันค้นหามาได้จะเกิดจากการนำข้อมูลที่ค้นพบมากมายบนเน็ตมาแสดงผลลัพธ์ด้วยเว็บเพียงหน้าเดียว ซึ่งประกอบด้วยสถิติตัวเลข และกราฟ ตลอดจนข้อมูลที่เกี่ยวข้องล่าสุด ตัวอย่างสิ่งที่คุณสามารถถาม Wolfram Alpha ให้ช่วยค้นหาคำตอบได้ ก็จะมีตั้งแต่เรื่องเล็กๆ อย่าง ลักษณะยีนของมนุษย์ น้ำหนักของโมเลกุลแคฟเฟอีน จำนวนของผู้ที่มีชื่อ Andrew ที่เกิดในปีที่เราระบุ หรือแม้แต่จำนวนของปลาที่จับได้ในฝรั่งเศษ สถิติของหุ้นไมโครซอฟท์ในช่วงทีผ่านมา ความสูงของภูเขาเอฟเวอเรสต์เปรียบเทียบกับความยาวของสะพานโกลเด้นเกต อย่างไรก็ตาม บริการWolfram Alpha กำลังอยู่ในระหว่างการเตรียมการเปิดให้บริการในเดือนนี้ สำหรับผู้สนใจคงต้องติดตามความคืบหน้ากันต่อไป

ซีรอกซ์เปิดตัวเครื่องพิมพ์สี"หมึกแข็ง"

ซีร็อกซ์ (Xerox) ประกาศตัวผลิตภัณฑ์เครื่องพิมพ์สีรุ่นใหม่สำหรับองค์กรที่ได้รับการออกแบบให้พิมพ์ได้เร็วกว่า และประหยัดกว่า โดยทางบริษัทกล่าวว่า เครื่องพิมพ์ ColorQube จะสามารถพิมพ์ได้ที่ความเร็วสูงสุดถึง 85 หน้าต่อนาที ในขณะที่ประหยัดต้นทุนไปได้ถึง 62% เมื่อเทียบกับระบบการพิมพ์ด้วยเลเซอร์สี


หัวใจของเครื่องพิมพ์รุ่นใหม่นี้จะอยู่ที่เทคโนโลยี "หมึกแข็ง" (solid ink) ที่มีลักษณะคล้ายกับก้อนดินน้ำมัน ซึ่งก้อนหมึกดังกล่าวจะละลายอยู่ภายในเครื่องพิมพ์ และถูกฉีดพ่นออกไปบนกระดาษด้วยความเร็วสูงถึง 150 ล้านหยดต่อวินาที (3,500 nozzle) ทั้งนี้ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เหล่าผู้ค้าเครื่องพิมพ์ต่างมองหาวิธีที่จะลดต้นทุน และความสูญเสียอันเกิดจากระบบพิมพ์แบบตลับหมึก (ink cartridge) ซึ่ง Dell เองก็ได้เปิดตัวระบบพิมพ์ไร้หมึกไปแล้วก่อนหน้านี้ Xerox กล่าวว่า ทางบริษัทได้พัฒนาระบบหมึกแข็งมาตั้งแต่สิบปีที่แล้ว

นอกจากความเร็วในการพิมพ์แล้ว ระบบหมึกแข็งยังพัฒนาประสิทธิภาพ และลดเวลาในการซ่อมบำรุงตลอดจนต้นทุนในการพิมพ์ โดยผู้ใช้เครื่องพิมพ์ ColorQube ไม่ต้องเปลี่ยนดรัม หรือตลับหมึก ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่าย และความสูญเสียได้มากทีเดียว ในส่วนของต้นทุนค่าพิมพ์ต่อแผ่น Xerox อ้างว่า ถ้าเป็นการพิมพ์ขาวดำจะตกแผ่นละ 2 เซนต์ (ประมาณ 72 สตางค์) ส่วนพิมพ์สีจะตกแผ่นละ 8 เซนต์ (ประมาณ 3 บาท) สำหรับราคาเครืองพิมพ์รุ่นนี้จะอยู่ที่ 23,500 เหรียญฯ (ประมาณ 850,000 บาท)