รายงานข่าวล่าสุด ผู้ไม่หวังดีตั้งเป้าโจมตีช่องโหว่ในซอฟต์แวร์ระบบปฎิบัติการของไมโครซอฟท์ (Microsoft) โดยเฉพาะโอเอสที่มีอายุร่วมสิบปีแล้วอย่าง Windows XP อีกทั้งยังมีส่วนแบ่งตลาดผู้ใช้ค่อนข้างมาก ผลทำให้ตกเป็นเป้าเสี่ยงต่อการโจมตีช่องโหว่มากกว่าสองเท่าของโอเอสรุ่นใหม่ 2 ตัวรวมกันอย่าง Windows 7 และ Windows Vista
Net Application เปิดเผยว่า ส่วนแบ่งตลาด ณ.สิ้นเดือนมีนาคม 2010 มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ Windows XP อยู่ประมาณ 64.46% ในขณะที่ Windows Vista 16.01% และ Windows 7 10.23% (ประมาณร้อยล้านเครือ่ง) สำหรับรายงานข้อมูลการถูกโจมตีที่เปิดเผยโดยไมโครซอฟท์ระบุว่า ทางบริษัทวิเคราะห์จากความพยายามโจมตีช่องโหว่ในโอเอสผ่านทางเว็บไซต์ต่างๆ ตลอดครึ่งหลังของปี 2009 ซึ่งได้ข้อสรุปว่า ผู้ใช้ที่ใช้ Windows 7 และ Vista จะปลอดภัยกว่า Windows XP
นอกจากเรื่องของส่วนแบ่งตลาดที่ทำให้ XP ตกเป็นเป้าโจมตีมากกว่าโอเอสตัวอื่นแล้ว ความพยายามในการเจาะช่องโหว่ของ Windows 7 และ Vista ยังแตกต่างและยากกว่า XP ค่อนข้างมากอีกด้วย อีกทั้งตัว XP เองก็ยังไม่ได้รับการปรับปรุงเรื่องของระบบรักษาความปลอดภัยเช่นเดียวกับโอเอสรุ่นใหม่ที่ได้รับการพัฒนาในเรื่องนี้แล้ว "สำหรับ Windows XP พบว่ามีการถูกโจมตีผ่านทางช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการคิดเป็น 59.2% ในขณะที่ Windows Vista รวมกับ WIndows 7 สัดส่วนของการถูกโจมตีแค่ 24.6%" ไมโครซอฟท์แนะผู้ใช้ Windows XP ให้อัพเกรดโอเอส เพื่อลดความเสี่ยงต่อการถูกโจมตีที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นตลอดเวลา
ข้อมูลจาก: E-commerce Times
วันพฤหัสบดีที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2553
NOKIA ทวงบัลลังก์สมาร์ทโฟนด้วย N8
โนเกีย (NOKIA) ประกาศเปิดตัว N8 สมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ล่าสุดอย่างเป็นทางการแล้ว หลังจากที่ได้มีการนำออกมายั่วน้ำลายสาวกในงาน CTIA ที่ผ่านมา ท่ามกลางสมรภูมิที่ร้อนแรงของมือถือ คงต้องติดตามกันดูว่า NOKIA N8 จะทำให้ผู้บริโภคเกิดอยากเปลี่ยนใจจาก iPhone ของ Apple หรือมือถือแอนดรอยด์ (Android phone) ได้ หรือไม่?
สำหรับคุณสมบัติของ N8 จะประกอบด้วยกล้อง 12 ล้านพิกเซล (เลนส์ Carl Zeiss และแฟลช Xenon) หน้าจอระบบสัมผัส 3.5 นิ้ว มีเอาท์พุตสำหรับพอร์ต HDMI หน่วยความจำภายใน 16GB มีช่องเพิ่มการ์ดหน่วยความจำ microSD สามารถบันทึกวิดีโอไฮเดฟฯ เข้าถึงบริการ Ovi Store apps ได้ พร้อม Ovi Maps ฟรีระบบนำทางที่ใช้ได้กับการเดินทางทั้งด้วยรถยนต์และเท้าเปล่า และแน่นอนที่ขาดไม่ได้นั่นก็คือ ระบบปฏิบัติการ Symbian 3
NOKIA N8 จะมาพร้อมกับระบบปรับแต่งหน้าจอโฮมสกรีนได้หลากหลายตามความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งหน้าจอโฮมสกรีนแต่ละอันสามารถโหลดขึ้นมาพร้อมแอพฯ และวิดเจ็ตต่างๆ ได้ตามลักษณะงานนั้นๆ สนับสนุนการทำงานแบบมัลติทาสกิ้ง และระบบการใช้นิ้วแบบหลายสัมผัส (multitouch gestures) ซึ่งทำงานร่วมกับสภาพแวดล้อมการพัฒนาซอฟต์แวร์ Qt สำหรับกำหนดการวางตลาดจะเป็นไตรมาสที่สนนราคาอยู่ที่ประมาณ 494 เหรียญฯ หรือประมาณ 16,000 บาท
สำหรับคุณสมบัติของ N8 จะประกอบด้วยกล้อง 12 ล้านพิกเซล (เลนส์ Carl Zeiss และแฟลช Xenon) หน้าจอระบบสัมผัส 3.5 นิ้ว มีเอาท์พุตสำหรับพอร์ต HDMI หน่วยความจำภายใน 16GB มีช่องเพิ่มการ์ดหน่วยความจำ microSD สามารถบันทึกวิดีโอไฮเดฟฯ เข้าถึงบริการ Ovi Store apps ได้ พร้อม Ovi Maps ฟรีระบบนำทางที่ใช้ได้กับการเดินทางทั้งด้วยรถยนต์และเท้าเปล่า และแน่นอนที่ขาดไม่ได้นั่นก็คือ ระบบปฏิบัติการ Symbian 3
NOKIA N8 จะมาพร้อมกับระบบปรับแต่งหน้าจอโฮมสกรีนได้หลากหลายตามความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งหน้าจอโฮมสกรีนแต่ละอันสามารถโหลดขึ้นมาพร้อมแอพฯ และวิดเจ็ตต่างๆ ได้ตามลักษณะงานนั้นๆ สนับสนุนการทำงานแบบมัลติทาสกิ้ง และระบบการใช้นิ้วแบบหลายสัมผัส (multitouch gestures) ซึ่งทำงานร่วมกับสภาพแวดล้อมการพัฒนาซอฟต์แวร์ Qt สำหรับกำหนดการวางตลาดจะเป็นไตรมาสที่สนนราคาอยู่ที่ประมาณ 494 เหรียญฯ หรือประมาณ 16,000 บาท
วันพุธที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2553
กลัวไม่ส่วนตัว วุฒิสมาชิกมะกันขอเฟสบุ๊กปรับนโยบายใหม่
การปรับเปลี่ยนนโยบายความเป็นส่วนตัวบนเฟสบุ๊กครั้งล่าสุดกลายเป็นประเด็นร้อนเมื่อ 4 วุฒิสมาชิกสหรัฐฯ ร่อนจดหมายเปิดผนึกถึงเฟสบุ๊ก ขอให้เฟสบุ๊กลงมือปรับนโยบายใหม่ให้ผู้ใช้มีความเป็นส่วนตัวมากขึ้นโดยเร็ว ขู่ทับว่าหากไร้ความเคลื่อนไหวที่น่าพอใจ คณะกรรมาธิการการค้าสหรัฐฯหรือ FTC อาจต้องเข้ามาตรวจสอบให้เป็นเรื่องเป็นราว
4 วุฒิสมาชิกผู้ห่วงใยความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตได้แก่ อัล แฟรงเคน, ชาลร์ส สคูเมอร์, ไมเคิล เบนเน็ต และมาร์ก เบกิช ทั้งหมดปรากฏชื่อในจดหมายเปิดผนึกซึ่งส่งถึงเฟสบุ๊กเมื่อวันอังคาร (27) ที่ผ่านมา
ความกังวลของทั้ง 4 วุฒิสมาชิกอเมริกันมีต้นเหตุจากฟีเจอร์ใหม่ของเฟสบุ๊กซึ่งถูกเปิดตัวในงาน f8 งานประชุมนักพัฒนาที่เฟสบุ๊กเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นเมื่อวันที่ 21 เมษายน ฟีเจอร์ที่เป็นปัญหาคือส่วนหนึ่งของความสามารถในกลุ่ม Social Plugin (โปรแกรมเสริมที่เว็บไซต์ทั่วไปสามารถนำไปติดตั้งได้อย่างเสรี เพื่อเป็นช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลจากเฟสบุ๊ก) เช่น ระบบแสดงกิจกรรมอัตโนมัติ Activity Feed และระบบแสดงสถิติความนิยม Recommendation
ยกตัวอย่างเช่นในเว็บไซต์ข่าว CNN.com รายงานระบุว่า Activity Feed จะทำให้กิจกรรมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์และกลุ่มเพื่อนในเฟสบุ๊ก ถูกดึงไปแสดงบน CNN.com โดยผู้ใช้จะเห็นหน้าต่าง Friend Activity ซึ่งจะแจงข้อมูลว่าเพื่อนในเฟสบุ๊กได้เลือกแบ่งปันหรือแชร์ข่าวใดของ CNN บ้าง ขณะที่ Recommendation จะเป็นหน้าต่างแสดงเนื้อหาของ CNN ที่ชาวเฟสบุ๊กกดปุ่ม Like ให้คะแนนความชื่นชอบบนเฟสบุ๊กมากที่สุด
สิ่งที่เกิดขึ้นคือข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้จะกลายเป็นข้อมูลสาธารณะ ทั้งข้อมูลเมืองหรือเขตที่อยู่, ความชื่นชอบหรือ Like, ความสนใจ รวมถึงรายละเอียดกลุ่มเพื่อน นี่เองที่วุฒิสมาชิกสหรัฐฯมองว่าอาจนำไปสู่การขยายตัวของระบบการโฆษณาไม่พึงประสงค์
รายงานระบุว่า สคูเมอร์นั้นเป็นตัวแทนกลุ่มในการร่างจดหมายเปิดผนึกถึงเฟสบุ๊ก โดยสิ่งที่สคูเมอร์เรียกร้องคือเฟสบุ๊กควรเปลี่ยนแปลงนโยบายการแบ่งปันเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ โดยควรให้ผู้ใช้เลือกตกลงเผยแพร่ข้อมูล (opt-in) แทนที่จะมัดมือเผยแพร่ข้อมูลก่อนแล้วจึงเปิดให้ผู้ใช้เลือกยกเลิกเผยแพร่ (opt-out) ซึ่งรายงานระบุว่าบางกรณีไม่สามารถยกเลิกได้
"นโยบาย (ของเฟสบุ๊ก) ในขณะนี้ทำให้ผู้ใช้ที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีมีความเสี่ยง" สคูเมอร์เชื่อว่าบางรายไม่มีความรู้ในการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่า หรือแม้แต่ไม่ได้ทราบเลยว่าเฟสบุ๊กได้เปลี่ยนนโยบายใหม่แล้ว
สคูเมอร์ระบุว่าได้ส่งเรื่องไปยัง FTC ให้เข้ามาตรวจสอบนโยบายการปกปิดข้อมูลความเป็นส่วนตัวของเว็บไซต์เครือข่ายสังคมอย่างจริงจัง เพื่อนำไปเป็นกรอบหรือมาตรฐานสำหรับการปฏิบัติว่าเครือข่ายสังคมจะนำข้อมูลส่วนตัวเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์อย่างใดได้บ้าง โดยสคูเมอร์ระบุว่าหาก FTC มองว่ายังไม่มีเครื่องมือหรืออำนาจพอในการกำหนดขอบเขตให้ผู้ประกอบการเครือข่ายสังคม ทางวุฒิสมาชิกก็พร้อมจะอำนวยความสะดวกในการเสนอร่างตามขั้นตอนทางกฏหมายต่อไป
ไม่ใช่เพียงวุฒิสมาชิกสหรัฐฯ แต่ก่อนหน้านี้ ศูนย์เรียกร้องด้านความเป็นส่วนตัวของข้อมูลบนระบบอิเล็กทรอนิกส์นาม Electronic Privacy Information Center (EPIC) ได้เรียกร้องให้ FTC เข้ามาสอบสวนการเปลี่ยนแปลงนโยบายความเป็นส่วนตัวครั้งล่าสุดของเฟสบุ๊กด้วย ซึ่งจุดนี้ เฟสบุ๊กนั้นระบุว่าได้ปรึกษากับผู้กำกับดูแลหรือ regulator จำนวนไม่น้อยถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่งประกาศไปแล้ว ก่อนจะเกิดกระแสต่อต้านในภาคสาธารณะเช่นนี้
เบื้องหลังการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของ Activity Feed และ Recommendation นั้นเป็นผลจากการยกเลิกฟีเจอร์ Facebook Connect ซึ่งเฟสบุ๊กตั้งใจอำนวยความสะดวกด้วยการเปิดกว้างให้ผู้ใช้สามารถล็อกอินเข้าเว็บไซต์โดยใช้ชื่อบัญชีเฟสบุ๊กด้วยการกดปุ่มคอนเฟิร์มครั้งเดียว ผลที่เกิดขึ้นคือไม่ว่าผู้ใช้จะไปหน้าเว็บไหนๆ ล็อกอินเฟสบุ๊กก็จะติดตามไปด้วยโดยอัติโนมัติ นี่เองทำให้ผู้ใช้เฟสบุ๊กสามารถรู้ได้ว่ากลุ่มเพื่อนกำลังฟังเพลงใดอยู่ ชอบข่าวไหน หรือมีบทความแนะนำใดบ้าง
ความสามารถนี้มีพันธมิตรของเฟสบุ๊กอีกหลายเว็บไซต์ที่พร้อมเชื่อมโยงเครือข่ายได้แบบทันใจ เช่น Yelp, IMDb, ESPN และ Microsoft โดยรายหลังสุดกำลังอยู่ระหว่างเตรียมให้บริการ Docs.com หรือที่รู้จักในนาม Docs for Facebook แอปพลิเคชันออนไลน์ที่ผู้ใช้เฟสบุ๊กจะสามารถแก้ไขเอกสารที่สร้างจากโปรแกรมไมโครซอฟท์ออฟฟิศผ่านหน้าเว็บได้ คาดว่านี่จะเป็นคู่แข่งสำคัญของบริการ Google Docs
สำหรับอนาคต เฟสบุ๊กระบุว่ากำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาฟีเจอร์ใหม่นาม Social Bar มีลักษณะเป็นแถบเมนูของเฟสบุ๊กที่จะติดตามผู้ใช้ไปบนเว็บต่างๆ ผลคือผู้ใช้จะสามารถเข้าถึงบริการของเฟสบุ๊กได้จากทุกที่ทุกเวลา เช่น การแชตหรือการส่งข้อความสนทนาถึงกันจากหน้าเว็บ CNN ได้เลย ยังไม่มีกำหนดให้บริการฟีเจอร์ที่แน่นอนในขณะนี้
ยังมี Facebook Credit ซึ่งเฟสบุ๊กเตรียมไว้สำหรับเป็นค่าเงินกลางเพื่อการใช้จ่ายค่าสินค้าหรือบริการบนเฟสบุ๊ก โดยข้อมูลเบื้องต้นระบุว่า Facebook Credits จะต้องถูกเปลี่ยนไปเป็นค่าเงินจริงอย่างดอลลาร์หรือปอนด์สเตอริง คาดว่าจะได้รับความนิยมแก่สาวกเกมในเฟสบุ๊ก
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 28 เมษายน 2553 10:02 น.
4 วุฒิสมาชิกผู้ห่วงใยความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตได้แก่ อัล แฟรงเคน, ชาลร์ส สคูเมอร์, ไมเคิล เบนเน็ต และมาร์ก เบกิช ทั้งหมดปรากฏชื่อในจดหมายเปิดผนึกซึ่งส่งถึงเฟสบุ๊กเมื่อวันอังคาร (27) ที่ผ่านมา
ความกังวลของทั้ง 4 วุฒิสมาชิกอเมริกันมีต้นเหตุจากฟีเจอร์ใหม่ของเฟสบุ๊กซึ่งถูกเปิดตัวในงาน f8 งานประชุมนักพัฒนาที่เฟสบุ๊กเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นเมื่อวันที่ 21 เมษายน ฟีเจอร์ที่เป็นปัญหาคือส่วนหนึ่งของความสามารถในกลุ่ม Social Plugin (โปรแกรมเสริมที่เว็บไซต์ทั่วไปสามารถนำไปติดตั้งได้อย่างเสรี เพื่อเป็นช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลจากเฟสบุ๊ก) เช่น ระบบแสดงกิจกรรมอัตโนมัติ Activity Feed และระบบแสดงสถิติความนิยม Recommendation
ยกตัวอย่างเช่นในเว็บไซต์ข่าว CNN.com รายงานระบุว่า Activity Feed จะทำให้กิจกรรมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์และกลุ่มเพื่อนในเฟสบุ๊ก ถูกดึงไปแสดงบน CNN.com โดยผู้ใช้จะเห็นหน้าต่าง Friend Activity ซึ่งจะแจงข้อมูลว่าเพื่อนในเฟสบุ๊กได้เลือกแบ่งปันหรือแชร์ข่าวใดของ CNN บ้าง ขณะที่ Recommendation จะเป็นหน้าต่างแสดงเนื้อหาของ CNN ที่ชาวเฟสบุ๊กกดปุ่ม Like ให้คะแนนความชื่นชอบบนเฟสบุ๊กมากที่สุด
สิ่งที่เกิดขึ้นคือข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้จะกลายเป็นข้อมูลสาธารณะ ทั้งข้อมูลเมืองหรือเขตที่อยู่, ความชื่นชอบหรือ Like, ความสนใจ รวมถึงรายละเอียดกลุ่มเพื่อน นี่เองที่วุฒิสมาชิกสหรัฐฯมองว่าอาจนำไปสู่การขยายตัวของระบบการโฆษณาไม่พึงประสงค์
รายงานระบุว่า สคูเมอร์นั้นเป็นตัวแทนกลุ่มในการร่างจดหมายเปิดผนึกถึงเฟสบุ๊ก โดยสิ่งที่สคูเมอร์เรียกร้องคือเฟสบุ๊กควรเปลี่ยนแปลงนโยบายการแบ่งปันเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ โดยควรให้ผู้ใช้เลือกตกลงเผยแพร่ข้อมูล (opt-in) แทนที่จะมัดมือเผยแพร่ข้อมูลก่อนแล้วจึงเปิดให้ผู้ใช้เลือกยกเลิกเผยแพร่ (opt-out) ซึ่งรายงานระบุว่าบางกรณีไม่สามารถยกเลิกได้
"นโยบาย (ของเฟสบุ๊ก) ในขณะนี้ทำให้ผู้ใช้ที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีมีความเสี่ยง" สคูเมอร์เชื่อว่าบางรายไม่มีความรู้ในการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่า หรือแม้แต่ไม่ได้ทราบเลยว่าเฟสบุ๊กได้เปลี่ยนนโยบายใหม่แล้ว
สคูเมอร์ระบุว่าได้ส่งเรื่องไปยัง FTC ให้เข้ามาตรวจสอบนโยบายการปกปิดข้อมูลความเป็นส่วนตัวของเว็บไซต์เครือข่ายสังคมอย่างจริงจัง เพื่อนำไปเป็นกรอบหรือมาตรฐานสำหรับการปฏิบัติว่าเครือข่ายสังคมจะนำข้อมูลส่วนตัวเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์อย่างใดได้บ้าง โดยสคูเมอร์ระบุว่าหาก FTC มองว่ายังไม่มีเครื่องมือหรืออำนาจพอในการกำหนดขอบเขตให้ผู้ประกอบการเครือข่ายสังคม ทางวุฒิสมาชิกก็พร้อมจะอำนวยความสะดวกในการเสนอร่างตามขั้นตอนทางกฏหมายต่อไป
ไม่ใช่เพียงวุฒิสมาชิกสหรัฐฯ แต่ก่อนหน้านี้ ศูนย์เรียกร้องด้านความเป็นส่วนตัวของข้อมูลบนระบบอิเล็กทรอนิกส์นาม Electronic Privacy Information Center (EPIC) ได้เรียกร้องให้ FTC เข้ามาสอบสวนการเปลี่ยนแปลงนโยบายความเป็นส่วนตัวครั้งล่าสุดของเฟสบุ๊กด้วย ซึ่งจุดนี้ เฟสบุ๊กนั้นระบุว่าได้ปรึกษากับผู้กำกับดูแลหรือ regulator จำนวนไม่น้อยถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่งประกาศไปแล้ว ก่อนจะเกิดกระแสต่อต้านในภาคสาธารณะเช่นนี้
เบื้องหลังการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของ Activity Feed และ Recommendation นั้นเป็นผลจากการยกเลิกฟีเจอร์ Facebook Connect ซึ่งเฟสบุ๊กตั้งใจอำนวยความสะดวกด้วยการเปิดกว้างให้ผู้ใช้สามารถล็อกอินเข้าเว็บไซต์โดยใช้ชื่อบัญชีเฟสบุ๊กด้วยการกดปุ่มคอนเฟิร์มครั้งเดียว ผลที่เกิดขึ้นคือไม่ว่าผู้ใช้จะไปหน้าเว็บไหนๆ ล็อกอินเฟสบุ๊กก็จะติดตามไปด้วยโดยอัติโนมัติ นี่เองทำให้ผู้ใช้เฟสบุ๊กสามารถรู้ได้ว่ากลุ่มเพื่อนกำลังฟังเพลงใดอยู่ ชอบข่าวไหน หรือมีบทความแนะนำใดบ้าง
ความสามารถนี้มีพันธมิตรของเฟสบุ๊กอีกหลายเว็บไซต์ที่พร้อมเชื่อมโยงเครือข่ายได้แบบทันใจ เช่น Yelp, IMDb, ESPN และ Microsoft โดยรายหลังสุดกำลังอยู่ระหว่างเตรียมให้บริการ Docs.com หรือที่รู้จักในนาม Docs for Facebook แอปพลิเคชันออนไลน์ที่ผู้ใช้เฟสบุ๊กจะสามารถแก้ไขเอกสารที่สร้างจากโปรแกรมไมโครซอฟท์ออฟฟิศผ่านหน้าเว็บได้ คาดว่านี่จะเป็นคู่แข่งสำคัญของบริการ Google Docs
สำหรับอนาคต เฟสบุ๊กระบุว่ากำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาฟีเจอร์ใหม่นาม Social Bar มีลักษณะเป็นแถบเมนูของเฟสบุ๊กที่จะติดตามผู้ใช้ไปบนเว็บต่างๆ ผลคือผู้ใช้จะสามารถเข้าถึงบริการของเฟสบุ๊กได้จากทุกที่ทุกเวลา เช่น การแชตหรือการส่งข้อความสนทนาถึงกันจากหน้าเว็บ CNN ได้เลย ยังไม่มีกำหนดให้บริการฟีเจอร์ที่แน่นอนในขณะนี้
ยังมี Facebook Credit ซึ่งเฟสบุ๊กเตรียมไว้สำหรับเป็นค่าเงินกลางเพื่อการใช้จ่ายค่าสินค้าหรือบริการบนเฟสบุ๊ก โดยข้อมูลเบื้องต้นระบุว่า Facebook Credits จะต้องถูกเปลี่ยนไปเป็นค่าเงินจริงอย่างดอลลาร์หรือปอนด์สเตอริง คาดว่าจะได้รับความนิยมแก่สาวกเกมในเฟสบุ๊ก
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 28 เมษายน 2553 10:02 น.
กลุ่ม"คนไทยเกิน 60 ล้านคนไม่มั่นใจว่าพี่แม๊วอยู่ไหน" เรียกเสียงฮาบนเฟสบุ๊ก
ความพยายามล่าสุดในการยืนยันว่ายังมีชีวิตปกติของ"ทักษิณ ชินวัตร"ดูจะกลายเป็นการลวงโลกทันทีที่ชาวเครือข่ายสังคมในประเทศไทยลุกขึ้นมาตรวจสอบและเผยแพร่รวดเร็วยิ่งกว่าไฟลามทุ่ง ล่าสุดนอกเหนือจากการแสดงพลังการตรวจสอบที่ล้ำเลิศ เครือข่ายสังคมในไทยยังแสดงให้เห็นพลังสร้างสรรค์และล้อเลียนซึ่งเชื่อว่าท่านอดีตนายกฯและชาวไทยจะจดจำไปอีกนาน ด้วยการแจ้งเกิดกลุ่ม"คนไทยเกิน 60 ล้านคนไม่มั่นใจว่าพี่แม๊วอยู่ไหน" ที่เรียกฮาได้อย่างคึกคัก
ประมวลพลังออนไลน์ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมานั้นมีจุดเริ่มต้นทั้งในทวิตเตอร์ เฟสบุ๊ก บล็อก รวมไปถึงเว็บบอร์ดอย่างราชดำเนิน ซึ่งมีการนำชุดรูปภาพออกมาพิสูจน์ให้เห็นกันว่า รูปอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ที่โพสต์สู่เฟสบุ๊กชุดล่าสุดนั้นเป็นการตัดต่อที่ไม่แนบเนียน
โดยภาพชุดดังกล่าวถูกโพสขึ้นในเฟสบุ๊ก Thaksinlivedotcom วันที่ 25 เม.ย. 53 หลังจากการโพสต์ภาพดังกล่าวไม่นาน กระแสเครือข่ายสังคมออนไลน์ อย่างทวิตเตอร์ และเฟสบุ๊ก ก็ได้มีการนำภาพดังกล่าวมาจับผิดว่าเป็นการตัดต่อหรือไม่
แม้แต่ในเว็บบอร์ดอย่างพันทิปห้องราชดำเนินเอง ก็มีการตั้งกระทู้ถามถึง "ภาพพวกนี้ตัดต่อรึป่าวคับ?" ซึ่งภายในกระทู้เองก็มีการนำภาพ ไปขยายเพื่อพิสูจน์ผลกัน โดยภาพส่วนใหญ่ทั้งหมดพบว่า บริเวณขอบของภาพ เมื่อขยายให้เห็นถึงเม็ดพิกเซลแล้ว จะไม่เนียนไปกับฉากหลัง มีจุดตัดที่ทำให้เชื่อได้ว่าภาพดังกล่าวเกิดขึ้นจากการตัดต่อทั้งหมด
ซึ่งในประเด็นของภาพตัดต่อนั้น เมื่อมีการพิสูจน์กันแล้ว ขอให้ผู้อ่านใช้วิจารณญาณในการตัดสิน ข้อเท็จจริง เนื่องจากมีกลุ่มคนบางกลุ่มพยายามที่จะเบี่ยงประเด็นออกไปว่า ถึงเป็นรูปตัดต่อแล้วจะเสียหายตรงไหน แน่นอนว่ากลุ่มนี้ไม่ทราบว่า ขบวนการโพสต์ภาพตัดต่อมีจุดประสงค์เพื่อยืนยันว่า อดีตนายกฯทักษิณไม่ได้ป่วยอย่างที่มีข่าวลือหลุดออกมา
ขณะที่คนออนไลน์หลายคนจ้องจับผิดรูปภาพตัดต่อ ภายในเฟสบุ๊กกลับมีการเคลื่อนไหวอีกรูปแบบหนึ่งซึ่งน่าสนใจมาก โดย "@iannnnn" หรือไอ้แอนนนนน ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ f0nt.com ที่เป็นที่รู้จักกันในวงกว้างของชาวไซเบอร์เมืองไทย ได้สร้างหน้าเพจเฟสบุ๊กขึ้นมาหน้าหนึ่งในชื่อ "คนไทยเกิน 60 ล้านคนไม่มั่นใจว่าพี่แม๊วอยู่ไหน" เลียนแบบ "มั่นใจว่าคนไทยเกิน 1 ล้านต่อต้านการยุบสภา"
ขอบคุณภาพจาก : เฟสบุ๊ก "คนไทยเกิน 60 ล้านคนไม่มั่นใจว่าพี่แม๊วอยู่ไหน"
ประมวลพลังออนไลน์ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมานั้นมีจุดเริ่มต้นทั้งในทวิตเตอร์ เฟสบุ๊ก บล็อก รวมไปถึงเว็บบอร์ดอย่างราชดำเนิน ซึ่งมีการนำชุดรูปภาพออกมาพิสูจน์ให้เห็นกันว่า รูปอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ที่โพสต์สู่เฟสบุ๊กชุดล่าสุดนั้นเป็นการตัดต่อที่ไม่แนบเนียน
โดยภาพชุดดังกล่าวถูกโพสขึ้นในเฟสบุ๊ก Thaksinlivedotcom วันที่ 25 เม.ย. 53 หลังจากการโพสต์ภาพดังกล่าวไม่นาน กระแสเครือข่ายสังคมออนไลน์ อย่างทวิตเตอร์ และเฟสบุ๊ก ก็ได้มีการนำภาพดังกล่าวมาจับผิดว่าเป็นการตัดต่อหรือไม่
แม้แต่ในเว็บบอร์ดอย่างพันทิปห้องราชดำเนินเอง ก็มีการตั้งกระทู้ถามถึง "ภาพพวกนี้ตัดต่อรึป่าวคับ?" ซึ่งภายในกระทู้เองก็มีการนำภาพ ไปขยายเพื่อพิสูจน์ผลกัน โดยภาพส่วนใหญ่ทั้งหมดพบว่า บริเวณขอบของภาพ เมื่อขยายให้เห็นถึงเม็ดพิกเซลแล้ว จะไม่เนียนไปกับฉากหลัง มีจุดตัดที่ทำให้เชื่อได้ว่าภาพดังกล่าวเกิดขึ้นจากการตัดต่อทั้งหมด
ซึ่งในประเด็นของภาพตัดต่อนั้น เมื่อมีการพิสูจน์กันแล้ว ขอให้ผู้อ่านใช้วิจารณญาณในการตัดสิน ข้อเท็จจริง เนื่องจากมีกลุ่มคนบางกลุ่มพยายามที่จะเบี่ยงประเด็นออกไปว่า ถึงเป็นรูปตัดต่อแล้วจะเสียหายตรงไหน แน่นอนว่ากลุ่มนี้ไม่ทราบว่า ขบวนการโพสต์ภาพตัดต่อมีจุดประสงค์เพื่อยืนยันว่า อดีตนายกฯทักษิณไม่ได้ป่วยอย่างที่มีข่าวลือหลุดออกมา
ขณะที่คนออนไลน์หลายคนจ้องจับผิดรูปภาพตัดต่อ ภายในเฟสบุ๊กกลับมีการเคลื่อนไหวอีกรูปแบบหนึ่งซึ่งน่าสนใจมาก โดย "@iannnnn" หรือไอ้แอนนนนน ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ f0nt.com ที่เป็นที่รู้จักกันในวงกว้างของชาวไซเบอร์เมืองไทย ได้สร้างหน้าเพจเฟสบุ๊กขึ้นมาหน้าหนึ่งในชื่อ "คนไทยเกิน 60 ล้านคนไม่มั่นใจว่าพี่แม๊วอยู่ไหน" เลียนแบบ "มั่นใจว่าคนไทยเกิน 1 ล้านต่อต้านการยุบสภา"
ผู้ที่เข้าร่วมกลุ่ม"คนไทยเกิน 60 ล้านคนไม่มั่นใจว่าพี่แม๊วอยู่ไหน" สามารถดาวน์โหลดไฟล์นามสกุล psd ที่มีเพียงรูปทักษิณ ยืนอยู่กลางภาพ พร้อมวันที่บริเวณมุมขวา เพื่อนำไปสร้างสรรค์รูปว่า ขณะนี้ ทักษิณอยู่ที่ใด
ภาพส่วนใหญ่ที่ปรากฏสามารถเรียกเสียงฮาได้น่าประทับใจ บางภาพ อดีตนายกฯทักษิณกลายเป็นนินจาเต่ากลมกลืนอยู่กับเพื่อนซึ่งตัดต่อให้ดูเหมือนเพิ่งถ่ายไปเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา บางภาพอดีตนายกฯกลายเป็นคุณปู่ในภาพยนตร์เรื่อง Ups ขณะที่บางภาพกลายเป็นเซเลอร์มูนคิกขุอาโนเนะ
ขณะนี้ มีผู้ส่งรูปเข้าเข้ามาร่วมประมาณ 187 รูปแล้ว (13.17 น. 26 เม.ย. 53) หลังจากมีการตั้งกลุ่มดังกล่าวเมื่อคืนวันที่ 25 เม.ย. ซึ่งรูปส่วนใหญ่จะเกิดจากการนำรูปสถานที่ต่างๆ ที่มีอยู่จริง รวมไปถึงภาพที่ทำขึ้น มาเพื่อให้ทักษิณได้ไปปรากฏตัวอยู่ตามสถานที่นั้นๆ โดยภายในคำบรรยายของเฟสบุ๊กยังได้มีการเตือนไว้ว่า "ถ้าคิดจะมาเกรียน มาทะเลาะ หรือใช้เป็นเครื่องมือโจมตีใคร เชิญไปใน ที่ที่คุณมาเลยจ้ะ"
อย่างไรก็ตาม ขอเตือนผู้ที่จะเข้าไปร่วมในกลุ่มดังกล่าวว่า ประเทศไทยมี พ.ร.บ.การกระทำผิดบนคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ที่สามารถเอาผิดกับผู้ที่นำรูปดังกล่าวไปสร้างความเสียหายให้กับบุคคลใดๆ ดังนั้นในการทำรูปดีงกล่าวควรคำนึงถึงกฏหมาย ไม่เช่นนั้นอาจจะเข้าข่ายกระทำผิดได้
นี่ถือเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจจากวงการเครือข่ายสังคมประเทศไทย ในวันที่อนาคตชาติไทยยังไม่ชัดเจน
ภาพส่วนใหญ่ที่ปรากฏสามารถเรียกเสียงฮาได้น่าประทับใจ บางภาพ อดีตนายกฯทักษิณกลายเป็นนินจาเต่ากลมกลืนอยู่กับเพื่อนซึ่งตัดต่อให้ดูเหมือนเพิ่งถ่ายไปเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา บางภาพอดีตนายกฯกลายเป็นคุณปู่ในภาพยนตร์เรื่อง Ups ขณะที่บางภาพกลายเป็นเซเลอร์มูนคิกขุอาโนเนะ
ขณะนี้ มีผู้ส่งรูปเข้าเข้ามาร่วมประมาณ 187 รูปแล้ว (13.17 น. 26 เม.ย. 53) หลังจากมีการตั้งกลุ่มดังกล่าวเมื่อคืนวันที่ 25 เม.ย. ซึ่งรูปส่วนใหญ่จะเกิดจากการนำรูปสถานที่ต่างๆ ที่มีอยู่จริง รวมไปถึงภาพที่ทำขึ้น มาเพื่อให้ทักษิณได้ไปปรากฏตัวอยู่ตามสถานที่นั้นๆ โดยภายในคำบรรยายของเฟสบุ๊กยังได้มีการเตือนไว้ว่า "ถ้าคิดจะมาเกรียน มาทะเลาะ หรือใช้เป็นเครื่องมือโจมตีใคร เชิญไปใน ที่ที่คุณมาเลยจ้ะ"
อย่างไรก็ตาม ขอเตือนผู้ที่จะเข้าไปร่วมในกลุ่มดังกล่าวว่า ประเทศไทยมี พ.ร.บ.การกระทำผิดบนคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ที่สามารถเอาผิดกับผู้ที่นำรูปดังกล่าวไปสร้างความเสียหายให้กับบุคคลใดๆ ดังนั้นในการทำรูปดีงกล่าวควรคำนึงถึงกฏหมาย ไม่เช่นนั้นอาจจะเข้าข่ายกระทำผิดได้
นี่ถือเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจจากวงการเครือข่ายสังคมประเทศไทย ในวันที่อนาคตชาติไทยยังไม่ชัดเจน
ขอบคุณภาพจาก : เฟสบุ๊ก "คนไทยเกิน 60 ล้านคนไม่มั่นใจว่าพี่แม๊วอยู่ไหน"
ซิสโก้เปิดตัวฮัลโหลไอพีรีไซเคิล
ซิสโก้ส่งโทรศัพท์ไอพีที่ทำจากวัสดุรีไซเคิลลงตลาด รองรับการใช้งานแบบมัลติมีเดีย จับลูกค้าประเภทองค์กรขนาดกลางถึงใหญ่ ตั้งดันยอดขายไอพีโฟนปีนี้โตอีก 30%
นายมงคล อัศวโกวิทกรณ์ ผู้อำนวยการ ฝ่ายเทคโนโลยีขั้นสูง บริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า ซิสโก้เปิดตัวผลิตภัณฑ์โทรศัพท์แบบไอพีรุ่นใหม่ ที่รองรับการใช้งานแบบมัลติมีเดีย และรองรับการใช้แอปพลิเคชันที่หลากหลาย สำหรับโทรศัพท์รุ่นนี้เป็นการผลิตขึ้นจากวัสดุรีไซเคิลมีด้วยกัน 2 สีคือสีขาวและสีเทา โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือองค์กรขนาดกลางถึงใหญ่
ส่วนคุณสมบัติของโทรศัพท์รุ่นนี้เป็นวิดีโอคอลแบบ 2 ทาง และสามารถพัฒนา แอปพลิเคชันให้แสดง Video streaming จาก IP Video surveillance หรือ Video source อื่นๆ บนหน้าจอ IP Phone โดยสามารถรองรับการรับส่ง Video ได้ 30 เฟรมต่อวินาที รองรับ HD audio ด้วย codec G.722, iSAC มีพอร์ตสำหรับเชื่อมต่อแบบ Bluetooth, SDIO และ USB สำหรับเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ ต่างๆ เช่น Bluetooth headset, USB headset
นอกจากนี้ ยังมีพอร์ต switch สำหรับเชื่อมต่อ network แบบ Gigabit Ethernet 2 พอร์ต และรองรับ Wi-Fi สำหรับรุ่น 9971 รองรับแอปพลิเคชั่นแบบ xml, Java Midlet และ web 2.0 capable browser รองรับหน้าจอแบบสัมผัส แสดงผลภาษาไทย ซึ่งทำให้ซิสโก้มั่นใจว่าจะช่วยผลักดันให้ยอดขายโทรศัพท์แบบไอพีปีนี้โตขึ้นอีก 30%
นายมงคล อัศวโกวิทกรณ์ ผู้อำนวยการ ฝ่ายเทคโนโลยีขั้นสูง บริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า ซิสโก้เปิดตัวผลิตภัณฑ์โทรศัพท์แบบไอพีรุ่นใหม่ ที่รองรับการใช้งานแบบมัลติมีเดีย และรองรับการใช้แอปพลิเคชันที่หลากหลาย สำหรับโทรศัพท์รุ่นนี้เป็นการผลิตขึ้นจากวัสดุรีไซเคิลมีด้วยกัน 2 สีคือสีขาวและสีเทา โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือองค์กรขนาดกลางถึงใหญ่
ส่วนคุณสมบัติของโทรศัพท์รุ่นนี้เป็นวิดีโอคอลแบบ 2 ทาง และสามารถพัฒนา แอปพลิเคชันให้แสดง Video streaming จาก IP Video surveillance หรือ Video source อื่นๆ บนหน้าจอ IP Phone โดยสามารถรองรับการรับส่ง Video ได้ 30 เฟรมต่อวินาที รองรับ HD audio ด้วย codec G.722, iSAC มีพอร์ตสำหรับเชื่อมต่อแบบ Bluetooth, SDIO และ USB สำหรับเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ ต่างๆ เช่น Bluetooth headset, USB headset
นอกจากนี้ ยังมีพอร์ต switch สำหรับเชื่อมต่อ network แบบ Gigabit Ethernet 2 พอร์ต และรองรับ Wi-Fi สำหรับรุ่น 9971 รองรับแอปพลิเคชั่นแบบ xml, Java Midlet และ web 2.0 capable browser รองรับหน้าจอแบบสัมผัส แสดงผลภาษาไทย ซึ่งทำให้ซิสโก้มั่นใจว่าจะช่วยผลักดันให้ยอดขายโทรศัพท์แบบไอพีปีนี้โตขึ้นอีก 30%
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 27 เมษายน 2553 11:22 น.
การเมืองระอุ "Facebook" ยิ่งเดือด!!!
การเมืองไทยนาทีนี้ร้อนเท่าใด เครือข่ายสังคมออนไลน์บนเฟสบุ๊ก (Facebook) ก็ทวีความดุเดือดมากขึ้นเท่านั้น แน่นอนว่าในระดับโลก นี่คือเรื่องปกติที่แนวรบไซเบอร์จะสามารถยึดเฟสบุ๊กเป็นเวทีแสดงความคิดเห็นทางการเมืองได้อย่างอิสระ แต่สิ่งพิเศษที่เราคนไทยจะสามารถเรียนรู้ได้จากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น คือความสมัครสมานสามัคคี อารมณ์ร่วมรุนแรง และความสามารถในการตรวจสอบพร้อมกดดันของพลังเงียบออนไลน์ ก็มีอิทธิพลไม่แพ้การชุมนุม
นาทีนี้ ประชากรเฟสบุ๊กสัญชาติไทยหลายคนถูกแบ่งเป็นหลายกลุ่มก้อนด้วยการสมัครเป็นแฟน (fan) เพื่อแสดงจุดยืนทางการเมืองที่ชัดเจนในแฟนเพจ (Facebook Fan Page) อย่าง "มั่นใจว่าคนไทยเกิน 1 ล้าน ต่อต้านการยุบสภา" ซึ่งมีผู้ใช้สมัครเป็นแฟนมากกว่า 420,000 คนแล้ว (17.00น. วันที่ 24 เมษายน 2553) บางคนเป็นแฟนของเพจ "รวมพลัง 1 ล้านคน สนับสนุนให้ยุบสภา" ขณะที่หลายคนเป็นแฟนของเพจ "หยุดการกระทำของคนกลุ่มเสื้อสีชมพู" ยังมีเพจ "ไม่เอาเสื้อ เบื่อเต็มทีกับพวกที่ชอบบ่อนทำลายประเทศนี้"
ซึ่งการรวมตัวกันของกลุ่มคนเหล่านี้ ผ่านทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ ที่มีเฟสบุ๊กเป็นแกนหลัก ตามติดมาด้วยทวิตเตอร์ ทำให้เกิดปรากฏการรวมตัวกันทุกๆ วันของกลุ่มเสื้อหลากสี ตั้งแต่เวลาประมาณ 16.00 - 18.00 นาฬิกา ในทุกๆ วันเริ่มจากอนุเสาวรีย์ฯ ไปสวนจตุจักร ลานพระบรมรูปฯ และวงเวียนใหญ่ ตามลำดับในช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้เกิดการตื่นตัวในการเรียกร้องสิทธิของประชาชนมากขึ้น
ส่วนในวันนี้ (24 เมษายน 2553) ก็ยังมีการรวมตัวกันอยู่เช่นเดิมที่ สวนจตุจักร ตั้งแต่เวลา 16.00น. กลุ่มคนเสื้อหลากสีที่สนใจสามารถไปเข้าร่วมกันได้
**ทำไมต้องเฟสบุ๊ก**
ถามว่าทำไมเฟสบุ๊กจึงเป็นเวทีที่การแสดงจุดยืนทางการเมืองของชาวออนไลน์เป็นไปอย่างชัดเจนและมีพลัง คำตอบคือจำนวนผู้ใช้มหาศาลของเฟสบุ๊ก และอิทธิพลทางสังคมของพลังเงียบซึ่งหลายคนเรียกว่าคลื่นใต้น้ำ
เฟสบุ๊กนั้นเป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ผู้คนสามารถทำความรู้จักเพื่อนของเพื่อน เชื่อมโยงกันไปไม่รู้จบ ถือกำเนิดวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2548 โดยมาร์ก ซัคเกอร์เบิร์ก (Mark Zuckerburg) ซึ่งช่วงแรกเปิดให้ใช้เฉพาะนักศึกษามหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ก่อนจะโด่งดังขึ้นมาในชั่วพริบตา ขยายความนิยมออกจากฮาร์เวิร์ดสู่มหาวิทยาลัยใกล้เคียงกว่า 30 แห่งได้ในเวลาเพียง 4 เดือน
ตลอดเวลา เฟสบุ๊กกอบโกยสมาชิกเพิ่มขึ้นได้แบบก้าวกระโดด เพราะการเปิดให้องค์กรธุรกิจต่างๆ ร่วมเป็นสมาชิก และการเปิดให้ทุกคนที่มีอีเมลเป็นสมาชิกในปี 2550 ทำให้ฤดูใบไม้ร่วงปี 2551 เฟสบุ๊กมีสมาชิกสมัครใหม่มากกว่า 1 ล้านคนต่อสัปดาห์ โดยเฉลี่ยอยู่ที่วันละ 200,000 คน
ขณะนี้เฟสบุ๊กคือเว็บไซต์ที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของสหรัฐฯ และเป็นเว็บที่มีผู้อัปโหลดรูปภาพสูงที่สุด ข้อมูลจาก www.checkfacebook.com พบว่าประเทศไทยมีผู้ใช้เฟสบุ๊กจำนวนมากกว่า 1,632,880 คนแล้ว (ข้อมูลกลางเดือนเมษายน 53) มีอัตราเติบโตเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากโปแลนด์
จำนวนผู้ใช้มหาศาลทำให้เฟสบุ๊กกลายเป็นเครื่องมือการตลาดที่ยอดเยี่ยม หลายแบรนด์สินค้าเลือกที่จะอัปเดทความเป็นไปของบริษัทเพื่อเพิ่มความเป็นกันเองระหว่างผู้บริโภค ขณะที่สมาชิกผู้ใช้ด้วยกันเองเลือกที่จะตั้งคำถามเพื่อเชื้อเชิญให้กลุ่มเพื่อนเกิดการมีส่วนร่วม แสดงความคิดเห็นส่วนตัว ซึ่งจะทำให้สมาชิกสามารถรู้จักตัวตนของเพื่อนได้ดียิ่งขึ้น
นี่เองที่นำไปสู่การตั้งกลุ่มก้อนทางการเมืองบนโลกออนไลน์ เพราะชาวไทยหลายคนมองว่าเฟสบุ๊กคือหนทางแสดงออกทางการเมืองที่ไม่ต้องไปร่วมชุมนุมจนสังคมเดือดร้อน เฟสบุ๊กจึงถูกใช้เป็นช่องทางการสื่อสาร เกิดเป็นข้อมูลนานาประเภทที่สามารถเป็นเครื่องมือชั้นยอดในการปลุกพลังเงียบของมวลชน
ขณะนี้ หากทดลองค้นหาคำว่า"เสื้อ"ในแฟนเพจของเฟสบุ๊ก จะปรากฏชื่อเพจนานาประเภท เช่น กลุ่มกู ไม่เอา "เสื้อแดง", กลุ่มเสื้อแดงผู้เกลียดชัง"กองพันทหารรักษาพระองค์", แนวร่วมพิทักษ์ผู้ต่อต้านเสื้อแดง และองค์กรคนเสื้อขาวพลังนักศึกษา ซึ่งเพจทั้งหมดนี้ล้วนมีสมาชิกกลุ่มหลักร้อยขึ้นไป
ล่าสุดเมื่อสงกรานต์ที่ผ่านมา ชาวเฟสบุ๊กหลายร้อยคนร่วมเป็นแฟนของ "กลุ่มคนเสื้อลายดอก ! ไม่ชุมนุม เน้นเล่นน้ำและชมนม" ด้วย
**สามัคคีถล่มเกรียน**
สิ่งที่เราสามารถเรียนรู้ได้จากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นคือ ชาวเฟสบุ๊กไทยนั้นมีพลังล้นเหลือในการร่วมกันตรวจสอบและกดดันผู้กระทำสิ่งที่ไม่เหมาะสมอย่างสามัคคี กรณีศึกษาที่ดีที่สุดคือแฟนเพจ "พ.ต.อ.สมเพียร เอกสมญา หนึ่งตำรวจดีคนตาย เพื่ออีกล้านคนชาวไทยตื่น"
เพจนี้มีแฟนชาวไทยจำนวน 21,998 ราย ทุกคนต้องการเข้ามาแสดงพลังส่งแรงใจให้จ่าเพียรกระดูกเหล็ก กระทั่งช่วงการปะทะ "10 เมษายน 53" แฟนเพจของ พ.ต.อ.สมเพียร เอกสมญา มีการเปลี่ยนภาพดิสเพลย์เป็น “ยุบสภา” ทำให้ชาวออนไลน์จำนวนมากส่งข้อความทั้งหยาบคายและสุภาพเข้ามาต่อว่าผู้บริหารจัดการเพจ ทำให้ภาพดิสเพลย์ถูกเปลี่ยนกลับในที่สุด
"อ้ายพวกไพร่ชอบจริงเรื่องแอบอ้างคนอื่น ครั้งนี้เอาชื่อ พล.ต.อ.สมเพียร เอกสมญา มาเลยนะ เลวกันจริงๆๆ คนที่เขาเสียสละให้ประเทศ ไปเอาเขามาอยู่ในที่ต่ำ มึงนี้เกิดมาเป็นคนหาจิตสำนึกไม่ได้เลย", "น่าจะเอาผ้าถุงมานุ่งหรือก็คลุมหัวนะ ไม่มีแนวร่วมรึไงต้องมาหลอกกันแบบนี้ หน้าตัวเมีย" และ "เลวจริงๆ หลอกกูเข้ามา" เหล่านี้คือคำต่อว่าของสมาชิกซึ่งมองว่าผู้สร้างแฟนเพจใช้ชื่อวีรบุรุษอย่างจ่าเพียรบังหน้า เพื่อหาทางดึงชาวออนไลน์ไปสนับสนุนคนเสื้อแดง
นอกจากการเมือง เฟสบุ๊กเมืองไทยยังมีกรณีศึกษาที่น่าสนใจมากคือการเปิดแฟนเพจ "Anti Prof. Dr. Utumporn Jamornmann! (สมาคมคนต่อต้าน ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน)" จำนวนแฟนขณะนี้คือ 18,502 คน เพื่อเป็นแหล่งรวมตัวของคนไทยที่อ้างตัวว่าเป็นผู้ห่วงใยต่ออนาคตการศึกษา
แฟนในเพจนี้ระบุว่าพบปัญหาในมาตรฐานข้อสอบและวิธีการจัดสอบ Ordinary National Educational Test (O-net) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการทดสอบวัดผลเพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลาง ปัญหาใหญ่คือเนื้อหาข้อสอบกำกวมและก่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบ กลุ่มจึงรวมตัวต่อต้าน ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ซึ่งเป็นผู้ควบคุมระบบการออกข้อสอบและการจัดสอบ O-net
คาดว่ากระแสต่อต้านจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในการสอบ O-net ปีหน้า ซึ่งถือเป็นบทเรียนราคาแพงของผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด
**ต่างประเทศก็มี**
เฟสบุ๊กนั้นเติบโตอย่างยิ่งใหญ่ในตลาดต่างประเทศ และถูกใช้เป็นเครื่องสร้างกระแสปฏิวัติผ่านสังคมออนไลน์เต็มรูปแบบ เช่น อียิปต์ กลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลเลือกใช้เฟสบุ๊กและเครือข่ายสังคมออนไลน์อื่นๆ เพื่อจุดชนวนให้ประชาชนลุกขึ้นมาประท้วงรัฐบาลอย่างได้ผล
ในอิหร่านและจอร์เจียก็เช่นกัน ทั้งๆ ที่ประเทศเหล่านี้มีระบบควบคุมและคัดกรองข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตอย่างเข้มงวด แต่ก็ยังสามารถปลุกกระแสมวลชนบนโลกออนไลน์อย่างมีพลังน่าเกรงขาม เนื่องจากผู้ใช้จะสามารถรับรู้ข้อมูลการนัดชุมนุม รับส่งข่าวสารวงในที่รู้มา การส่งต่อที่อยู่เว็บไซต์ที่มีการโพสต์ภาพ หรือวีดิโอคลิป ซึ่งเป็นหลักฐานแสดงถึงการใช้ความรุนแรงในการเข้าปราบปรามจากฝ่ายตรงข้าม
บทสรุปของประมวลเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคือ เมื่อรวมพัฒนาการของเทคโนโลยีที่เอื้อต่อการสื่อสาร เข้ากับความแน่นแฟ้นของผู้ใช้ในรูปสังคมออนไลน์ที่มีความใกล้ชิดสนิทสนม ผลลัพท์ที่เกิดขึ้นจึงเป็นความเข้าใจที่มากขึ้นของชนชั้นกลางคนรุ่นใหม่ ซึ่งสามารถเรียนรู้และเข้าถึงข้อมูลที่กว้างขวางหลากหลายได้ดีกว่าเดิม เทียบกับในอดีตที่การปกปิดความจริงในสถานการณ์ต่างๆ สามารถทำได้ง่ายดายนัก
ฉะนั้น คนหนุ่มสาวส่วนใหญ่อาจจะกลัวแดดรักสบายจนไม่ออกมาร่วมชุมนุมจริง แต่เรื่องจริงมากกว่านั้นคือการรวมตัวบนโลกออนไลน์ก็มีพลังไร้ขีดจำกัดอย่างน่ากลัวไม่แพ้กัน!!!
นาทีนี้ ประชากรเฟสบุ๊กสัญชาติไทยหลายคนถูกแบ่งเป็นหลายกลุ่มก้อนด้วยการสมัครเป็นแฟน (fan) เพื่อแสดงจุดยืนทางการเมืองที่ชัดเจนในแฟนเพจ (Facebook Fan Page) อย่าง "มั่นใจว่าคนไทยเกิน 1 ล้าน ต่อต้านการยุบสภา" ซึ่งมีผู้ใช้สมัครเป็นแฟนมากกว่า 420,000 คนแล้ว (17.00น. วันที่ 24 เมษายน 2553) บางคนเป็นแฟนของเพจ "รวมพลัง 1 ล้านคน สนับสนุนให้ยุบสภา" ขณะที่หลายคนเป็นแฟนของเพจ "หยุดการกระทำของคนกลุ่มเสื้อสีชมพู" ยังมีเพจ "ไม่เอาเสื้อ เบื่อเต็มทีกับพวกที่ชอบบ่อนทำลายประเทศนี้"
ซึ่งการรวมตัวกันของกลุ่มคนเหล่านี้ ผ่านทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ ที่มีเฟสบุ๊กเป็นแกนหลัก ตามติดมาด้วยทวิตเตอร์ ทำให้เกิดปรากฏการรวมตัวกันทุกๆ วันของกลุ่มเสื้อหลากสี ตั้งแต่เวลาประมาณ 16.00 - 18.00 นาฬิกา ในทุกๆ วันเริ่มจากอนุเสาวรีย์ฯ ไปสวนจตุจักร ลานพระบรมรูปฯ และวงเวียนใหญ่ ตามลำดับในช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้เกิดการตื่นตัวในการเรียกร้องสิทธิของประชาชนมากขึ้น
ส่วนในวันนี้ (24 เมษายน 2553) ก็ยังมีการรวมตัวกันอยู่เช่นเดิมที่ สวนจตุจักร ตั้งแต่เวลา 16.00น. กลุ่มคนเสื้อหลากสีที่สนใจสามารถไปเข้าร่วมกันได้
**ทำไมต้องเฟสบุ๊ก**
ถามว่าทำไมเฟสบุ๊กจึงเป็นเวทีที่การแสดงจุดยืนทางการเมืองของชาวออนไลน์เป็นไปอย่างชัดเจนและมีพลัง คำตอบคือจำนวนผู้ใช้มหาศาลของเฟสบุ๊ก และอิทธิพลทางสังคมของพลังเงียบซึ่งหลายคนเรียกว่าคลื่นใต้น้ำ
เฟสบุ๊กนั้นเป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ผู้คนสามารถทำความรู้จักเพื่อนของเพื่อน เชื่อมโยงกันไปไม่รู้จบ ถือกำเนิดวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2548 โดยมาร์ก ซัคเกอร์เบิร์ก (Mark Zuckerburg) ซึ่งช่วงแรกเปิดให้ใช้เฉพาะนักศึกษามหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ก่อนจะโด่งดังขึ้นมาในชั่วพริบตา ขยายความนิยมออกจากฮาร์เวิร์ดสู่มหาวิทยาลัยใกล้เคียงกว่า 30 แห่งได้ในเวลาเพียง 4 เดือน
ตลอดเวลา เฟสบุ๊กกอบโกยสมาชิกเพิ่มขึ้นได้แบบก้าวกระโดด เพราะการเปิดให้องค์กรธุรกิจต่างๆ ร่วมเป็นสมาชิก และการเปิดให้ทุกคนที่มีอีเมลเป็นสมาชิกในปี 2550 ทำให้ฤดูใบไม้ร่วงปี 2551 เฟสบุ๊กมีสมาชิกสมัครใหม่มากกว่า 1 ล้านคนต่อสัปดาห์ โดยเฉลี่ยอยู่ที่วันละ 200,000 คน
ขณะนี้เฟสบุ๊กคือเว็บไซต์ที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของสหรัฐฯ และเป็นเว็บที่มีผู้อัปโหลดรูปภาพสูงที่สุด ข้อมูลจาก www.checkfacebook.com พบว่าประเทศไทยมีผู้ใช้เฟสบุ๊กจำนวนมากกว่า 1,632,880 คนแล้ว (ข้อมูลกลางเดือนเมษายน 53) มีอัตราเติบโตเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากโปแลนด์
จำนวนผู้ใช้มหาศาลทำให้เฟสบุ๊กกลายเป็นเครื่องมือการตลาดที่ยอดเยี่ยม หลายแบรนด์สินค้าเลือกที่จะอัปเดทความเป็นไปของบริษัทเพื่อเพิ่มความเป็นกันเองระหว่างผู้บริโภค ขณะที่สมาชิกผู้ใช้ด้วยกันเองเลือกที่จะตั้งคำถามเพื่อเชื้อเชิญให้กลุ่มเพื่อนเกิดการมีส่วนร่วม แสดงความคิดเห็นส่วนตัว ซึ่งจะทำให้สมาชิกสามารถรู้จักตัวตนของเพื่อนได้ดียิ่งขึ้น
นี่เองที่นำไปสู่การตั้งกลุ่มก้อนทางการเมืองบนโลกออนไลน์ เพราะชาวไทยหลายคนมองว่าเฟสบุ๊กคือหนทางแสดงออกทางการเมืองที่ไม่ต้องไปร่วมชุมนุมจนสังคมเดือดร้อน เฟสบุ๊กจึงถูกใช้เป็นช่องทางการสื่อสาร เกิดเป็นข้อมูลนานาประเภทที่สามารถเป็นเครื่องมือชั้นยอดในการปลุกพลังเงียบของมวลชน
ขณะนี้ หากทดลองค้นหาคำว่า"เสื้อ"ในแฟนเพจของเฟสบุ๊ก จะปรากฏชื่อเพจนานาประเภท เช่น กลุ่มกู ไม่เอา "เสื้อแดง", กลุ่มเสื้อแดงผู้เกลียดชัง"กองพันทหารรักษาพระองค์", แนวร่วมพิทักษ์ผู้ต่อต้านเสื้อแดง และองค์กรคนเสื้อขาวพลังนักศึกษา ซึ่งเพจทั้งหมดนี้ล้วนมีสมาชิกกลุ่มหลักร้อยขึ้นไป
ล่าสุดเมื่อสงกรานต์ที่ผ่านมา ชาวเฟสบุ๊กหลายร้อยคนร่วมเป็นแฟนของ "กลุ่มคนเสื้อลายดอก ! ไม่ชุมนุม เน้นเล่นน้ำและชมนม" ด้วย
**สามัคคีถล่มเกรียน**
สิ่งที่เราสามารถเรียนรู้ได้จากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นคือ ชาวเฟสบุ๊กไทยนั้นมีพลังล้นเหลือในการร่วมกันตรวจสอบและกดดันผู้กระทำสิ่งที่ไม่เหมาะสมอย่างสามัคคี กรณีศึกษาที่ดีที่สุดคือแฟนเพจ "พ.ต.อ.สมเพียร เอกสมญา หนึ่งตำรวจดีคนตาย เพื่ออีกล้านคนชาวไทยตื่น"
เพจนี้มีแฟนชาวไทยจำนวน 21,998 ราย ทุกคนต้องการเข้ามาแสดงพลังส่งแรงใจให้จ่าเพียรกระดูกเหล็ก กระทั่งช่วงการปะทะ "10 เมษายน 53" แฟนเพจของ พ.ต.อ.สมเพียร เอกสมญา มีการเปลี่ยนภาพดิสเพลย์เป็น “ยุบสภา” ทำให้ชาวออนไลน์จำนวนมากส่งข้อความทั้งหยาบคายและสุภาพเข้ามาต่อว่าผู้บริหารจัดการเพจ ทำให้ภาพดิสเพลย์ถูกเปลี่ยนกลับในที่สุด
"อ้ายพวกไพร่ชอบจริงเรื่องแอบอ้างคนอื่น ครั้งนี้เอาชื่อ พล.ต.อ.สมเพียร เอกสมญา มาเลยนะ เลวกันจริงๆๆ คนที่เขาเสียสละให้ประเทศ ไปเอาเขามาอยู่ในที่ต่ำ มึงนี้เกิดมาเป็นคนหาจิตสำนึกไม่ได้เลย", "น่าจะเอาผ้าถุงมานุ่งหรือก็คลุมหัวนะ ไม่มีแนวร่วมรึไงต้องมาหลอกกันแบบนี้ หน้าตัวเมีย" และ "เลวจริงๆ หลอกกูเข้ามา" เหล่านี้คือคำต่อว่าของสมาชิกซึ่งมองว่าผู้สร้างแฟนเพจใช้ชื่อวีรบุรุษอย่างจ่าเพียรบังหน้า เพื่อหาทางดึงชาวออนไลน์ไปสนับสนุนคนเสื้อแดง
นอกจากการเมือง เฟสบุ๊กเมืองไทยยังมีกรณีศึกษาที่น่าสนใจมากคือการเปิดแฟนเพจ "Anti Prof. Dr. Utumporn Jamornmann! (สมาคมคนต่อต้าน ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน)" จำนวนแฟนขณะนี้คือ 18,502 คน เพื่อเป็นแหล่งรวมตัวของคนไทยที่อ้างตัวว่าเป็นผู้ห่วงใยต่ออนาคตการศึกษา
แฟนในเพจนี้ระบุว่าพบปัญหาในมาตรฐานข้อสอบและวิธีการจัดสอบ Ordinary National Educational Test (O-net) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการทดสอบวัดผลเพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลาง ปัญหาใหญ่คือเนื้อหาข้อสอบกำกวมและก่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบ กลุ่มจึงรวมตัวต่อต้าน ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ซึ่งเป็นผู้ควบคุมระบบการออกข้อสอบและการจัดสอบ O-net
คาดว่ากระแสต่อต้านจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในการสอบ O-net ปีหน้า ซึ่งถือเป็นบทเรียนราคาแพงของผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด
**ต่างประเทศก็มี**
เฟสบุ๊กนั้นเติบโตอย่างยิ่งใหญ่ในตลาดต่างประเทศ และถูกใช้เป็นเครื่องสร้างกระแสปฏิวัติผ่านสังคมออนไลน์เต็มรูปแบบ เช่น อียิปต์ กลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลเลือกใช้เฟสบุ๊กและเครือข่ายสังคมออนไลน์อื่นๆ เพื่อจุดชนวนให้ประชาชนลุกขึ้นมาประท้วงรัฐบาลอย่างได้ผล
ในอิหร่านและจอร์เจียก็เช่นกัน ทั้งๆ ที่ประเทศเหล่านี้มีระบบควบคุมและคัดกรองข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตอย่างเข้มงวด แต่ก็ยังสามารถปลุกกระแสมวลชนบนโลกออนไลน์อย่างมีพลังน่าเกรงขาม เนื่องจากผู้ใช้จะสามารถรับรู้ข้อมูลการนัดชุมนุม รับส่งข่าวสารวงในที่รู้มา การส่งต่อที่อยู่เว็บไซต์ที่มีการโพสต์ภาพ หรือวีดิโอคลิป ซึ่งเป็นหลักฐานแสดงถึงการใช้ความรุนแรงในการเข้าปราบปรามจากฝ่ายตรงข้าม
บทสรุปของประมวลเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคือ เมื่อรวมพัฒนาการของเทคโนโลยีที่เอื้อต่อการสื่อสาร เข้ากับความแน่นแฟ้นของผู้ใช้ในรูปสังคมออนไลน์ที่มีความใกล้ชิดสนิทสนม ผลลัพท์ที่เกิดขึ้นจึงเป็นความเข้าใจที่มากขึ้นของชนชั้นกลางคนรุ่นใหม่ ซึ่งสามารถเรียนรู้และเข้าถึงข้อมูลที่กว้างขวางหลากหลายได้ดีกว่าเดิม เทียบกับในอดีตที่การปกปิดความจริงในสถานการณ์ต่างๆ สามารถทำได้ง่ายดายนัก
ฉะนั้น คนหนุ่มสาวส่วนใหญ่อาจจะกลัวแดดรักสบายจนไม่ออกมาร่วมชุมนุมจริง แต่เรื่องจริงมากกว่านั้นคือการรวมตัวบนโลกออนไลน์ก็มีพลังไร้ขีดจำกัดอย่างน่ากลัวไม่แพ้กัน!!!
เอเอ็มดีคลอดชิป 6 คอร์ราคาไม่ถึงหมื่น
เอเอ็มดี (Advanced Micro Devices) เปิดตัวชิปรุ่นล่าสุด Phenom II X6 ชิป 6 คอร์ที่ยังขาดคุณสมบัติเมื่อเทียบกับ Core i7 ของอินเทล แต่ราคายั่วใจกินขาดทำให้ชาวไอทีน้ำลายไหลเป็นแทบ
เอเอ็มดีเปิดตัว Phenom II ครั้งนี้จำนวน 2 รุ่น ได้แก่ 2.8 GHz Phenom II X6 1055T สนนราคา 199 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 6,400 บาท และ 3.2 GHz Phenom II X6 1090T "Black Edition" ราคา 295 เหรียญสหรัฐหรือประมาณ 9,504 บาท โดยทั้ง 2 รุ่นเป็นที่รู้จักในนามชิป "ทูบัน (Thuban)" ทั้งสองรุ่นสามารถทำงานบนระบบไฟ 125 วัตต์ มีแคช L2 ขนาด 3MB และ แคช L3 ขนาด 6MB ใช้บัส 4 GHz HyperTransport ในการรับส่งข้อมูล
เอเอ็มดีนั้นออกแบบให้ชิป 6 คอร์นี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดชิปเซ็ต 890FX ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นแพลตฟอร์มร้อนแรงที่เอเอ็มดีจะเริ่มทำตลาดในกลางปีนี้
สิ่งที่น่าสนใจที่สุดคือราคา โดยนักวิเคราะห์นำราคา 199 เหรียญของชิปใหม่เอเอ็มดีไปเทียบกับว่าสามารถซื้อได้เพียงชิป 2.66-GHz core i5-661 ซึ่งอินเทลขายที่ 196 เหรียญ ขณะที่ราคา 295 เหรียญนั้นเปรียบเทียบได้กับชิป 2.80GHz Core i7-930 ซึ่งจำหน่ายที่ 294 เหรียญ ถือเป็นการเล่นสงครามราคาที่เอเอ็มดีทำบ่อยครั้งในการแก้เกมตลาดชิป
ความสามารถที่สำคัญของชิปใหม่เอเอ็มดีคือการเปิดการทำงานในโหมดที่คล้ายคลึงกับ "turbo boost" ใน Intel Core i5 และ i7 ผลคือ Phenom II X6 จะสามารถถูก overclock ให้ชิปสามารถทำงานที่ความเร็วเพิ่มขึ้นได้ รายงานระบุว่า 1055T นั้นสามารถเพิ่มความเร็วได้ถึง 3.3 GHz จาก 2.8 GHz ขณะที่ 1090T Black Edition สามารถเพิ่มความเร็วได้ถึง 3.6 GHz จาก 3.2 GHz จุดนี้เอเอ็มดีระบุว่า Black Edition นี้ไม่มีข้อจำกัดในการ overclock ทำให้เซียนไอทีสามารถปรับแต่งระบบเพื่อเพิ่มความเร็วชิปได้ตามต้องการ แต่มีข้อแม้ว่าต้องใช้ระบบทำความเย็นขั้นเทพ
เอเอ็มดีเชื่อว่านี่คือจุดขายที่คอเกมต้องการ โดย Phenom II X6 ทั้ง 2 รุ่นสามารถรองรับเทคโนโลยีล่าสุดอย่าง USB 3.0 และ 6-Gbit SATA โดยชิปใหม่นี้มีวางจำหน่ายแล้วผ่านร้านค้าปลีกในสหรัฐฯ เช่น BOXX, iBuyPower, CyberPower, Systemax, MainGear, NCS Technology, Velocity Micro และ ZT Systems ยังไม่มีรายละเอียดการวางจำหน่ายในประเทศไทยขณะนี้
เอเอ็มดีเปิดตัว Phenom II ครั้งนี้จำนวน 2 รุ่น ได้แก่ 2.8 GHz Phenom II X6 1055T สนนราคา 199 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 6,400 บาท และ 3.2 GHz Phenom II X6 1090T "Black Edition" ราคา 295 เหรียญสหรัฐหรือประมาณ 9,504 บาท โดยทั้ง 2 รุ่นเป็นที่รู้จักในนามชิป "ทูบัน (Thuban)" ทั้งสองรุ่นสามารถทำงานบนระบบไฟ 125 วัตต์ มีแคช L2 ขนาด 3MB และ แคช L3 ขนาด 6MB ใช้บัส 4 GHz HyperTransport ในการรับส่งข้อมูล
เอเอ็มดีนั้นออกแบบให้ชิป 6 คอร์นี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดชิปเซ็ต 890FX ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นแพลตฟอร์มร้อนแรงที่เอเอ็มดีจะเริ่มทำตลาดในกลางปีนี้
สิ่งที่น่าสนใจที่สุดคือราคา โดยนักวิเคราะห์นำราคา 199 เหรียญของชิปใหม่เอเอ็มดีไปเทียบกับว่าสามารถซื้อได้เพียงชิป 2.66-GHz core i5-661 ซึ่งอินเทลขายที่ 196 เหรียญ ขณะที่ราคา 295 เหรียญนั้นเปรียบเทียบได้กับชิป 2.80GHz Core i7-930 ซึ่งจำหน่ายที่ 294 เหรียญ ถือเป็นการเล่นสงครามราคาที่เอเอ็มดีทำบ่อยครั้งในการแก้เกมตลาดชิป
ความสามารถที่สำคัญของชิปใหม่เอเอ็มดีคือการเปิดการทำงานในโหมดที่คล้ายคลึงกับ "turbo boost" ใน Intel Core i5 และ i7 ผลคือ Phenom II X6 จะสามารถถูก overclock ให้ชิปสามารถทำงานที่ความเร็วเพิ่มขึ้นได้ รายงานระบุว่า 1055T นั้นสามารถเพิ่มความเร็วได้ถึง 3.3 GHz จาก 2.8 GHz ขณะที่ 1090T Black Edition สามารถเพิ่มความเร็วได้ถึง 3.6 GHz จาก 3.2 GHz จุดนี้เอเอ็มดีระบุว่า Black Edition นี้ไม่มีข้อจำกัดในการ overclock ทำให้เซียนไอทีสามารถปรับแต่งระบบเพื่อเพิ่มความเร็วชิปได้ตามต้องการ แต่มีข้อแม้ว่าต้องใช้ระบบทำความเย็นขั้นเทพ
เอเอ็มดีเชื่อว่านี่คือจุดขายที่คอเกมต้องการ โดย Phenom II X6 ทั้ง 2 รุ่นสามารถรองรับเทคโนโลยีล่าสุดอย่าง USB 3.0 และ 6-Gbit SATA โดยชิปใหม่นี้มีวางจำหน่ายแล้วผ่านร้านค้าปลีกในสหรัฐฯ เช่น BOXX, iBuyPower, CyberPower, Systemax, MainGear, NCS Technology, Velocity Micro และ ZT Systems ยังไม่มีรายละเอียดการวางจำหน่ายในประเทศไทยขณะนี้
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 27 เมษายน 2553 17:17 น.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)