วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553

4 เกร็ดน่ารู้ในวันเกิดที่แท้จริงของกูเกิล

ใครที่เข้าสู่เว็บไซต์กูเกิล google.com ในวันที่ 27 กันยายนแล้วพบกับภาพเค้กฉลองวันครบรอบวันเกิดปีที่ 12 ของกูเกิล ขอให้รู้ว่านี่คือวิธีที่กูเกิลแสดงออกเพื่อแบ่งปันเค้กวันเกิดแก่ผู้ใช้กูเกิลหลายล้านคนทั่วโลก ต่อไปนี้คือ 3 เกร็ดเล็กน้อยเกี่ยวกับวันเกิดกูเกิลที่คุณอาจยังไม่รู้

1. 27 ก.ย. คือวันคล้ายวันเกิดที่แท้จริงของกูเกิล

ต้องยอมรับว่าประวัติการก่อตั้งของกูเกิลสร้างความสับสนไม่น้อยว่าวันเกิดของกูเกิลคือวันใดกันแน่ บางคนบอกว่าควรจะเป็นวันที่ 7 ก.ย. เพราะวันนี้ในปี 1998 เป็นวันที่กูเกิลจดทะเบียนบริษัท บางคนบอกว่าอาจจะเป็นวันที่ 15 ก.ย. เนื่องจากเป็นวันที่ชื่อ google.com ถูกจดทะเบียน แต่ในที่สุด กูเกิลก็บอกให้โลกรู้ว่าวันเกิดอย่างเป็นทางการที่บริษัทเลือกคือวันที่ 27 ก.ย. เพราะกูเกิลได้เฉลิมฉลองวันคล้ายวันเกิดในวันนี้ติดต่อกันมาหลายปี แม้ว่าจะเคยเลือกฉลองในวันที่ 7 ก.ย. ในช่วง 2-3 ปีแรกก็ตาม

อย่างที่ทุกคนรู้กันดี กูเกิลก่อตั้งโดย แลร์รี เพจ และ เซอร์เกย์ บริน ขณะที่ทั้งคู่กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด โรงจอดรถของเพื่อนในเมืองเมนโลพาร์กถูกนำมาดัดแปลงเป็นสำนักงานชั่วคราวของพนักงาน 4 คน (รวมบรินและเพจแล้ว) จากนั้นทั้งคู่ตัดสินใจพักการเรียนและเดินหน้าหาระดมทุนจากครอบครัว เพื่อนฝูง และนักลงทุนเป็นจำนวนเงินกว่า 1.1 ล้านเหรียญสหรัฐ บริหารบริษัทให้เติบใหญ่จนกระทั่งเสนอขายหุ้นใหม่แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก เมื่อ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2004 เพิ่มมูลค่าของบริษัทเป็น 1.67 พันล้านเหรียญสหรัฐในเวลาเพียง 6 ปี

สำหรับชื่อ Google ยังไม่มีที่มาชัดเจน โดยในวิกิพีเดียระบุว่า อาจจะมาจากคำว่า "googol" ซึ่งหมายถึงจำนวนทางคณิตศาสตร์ที่หมายถึงเลข 1 แล้วตามด้วยเลข 0 อีกหนึ่งร้อยตัว หรือ 10100 เพื่อเป็นการแสดงถึงเป้าหมายของบริษัทที่จะจัดการกับข้อมูลจำนวนมหาศาล อีกกระแสหนึ่งบอกว่าชื่อ Google มาจากความผิดพลาดในการจดโดเมนเนมในช่วงก่อตั้ง

2. ภาพเค้กสุดคลาสสิกเป็นของศิลปินวัย 89 ปี

สัญลักษณ์ประจำเว็บไซต์หรือ Google Doogle ในวันที่ 27 กันยายน 2553 รูปเค้กคลาสสิคสไตล์ ‘Pop Art’ นั้นเป็นฝีมือของ Wayne Thiebaud คุณปู่ศิลปินวัย 89 ปีจากลอสแองเจลิส โดยกูเกิลได้รับอนุญาตให้เผยแพร่ภาพจากสมาคม Visual Artists and Gallery Association (VAGA) แห่งนิวยอร์ก ให้สามารถใช้ภาพของคุณปู่ Wayne เป็นสัญลักษณ์หรือโลโก้กูเกิลในวันนี้ได้

ปู่ Wayne เป็นศิลปินที่มีชื่อเสียงมากในช่วงการแห่งการเคลื่อนไหวด้านศิลปะสไตล์ Pop Art ในสหรัฐฯ ภาพวาดสร้างชื่อของคุณปู่ได้แก่ภาพเค้ก ภาพของเล่น ภาพลิปสติก และอีกนานาสิ่งของที่แสดงให้เห็นถึงกลิ่นอายของวัฒนธรรม Pop Art ทำให้แม้สัญลํกษณ์ฉลองวันเกิดของกูเกิลในปีนี้จะไม่มีลูกเล่นอินเทอร์แอคทีฟอย่างปีก่อน แต่ก็ถือเป็นคุณค่าทางศิลปะที่หาชมได้ยาก

3. Doodle เกิดขึ้นครั้งแรกในปี 1998

ต้องยอมรับว่า Google Doodle คือสิ่งที่ทำให้ชาวออนไลน์รู้ทันทีว่าวันที่ 27 ก.ย. คือวันเกิดกูเกิล ดังนั้นประวัติการเกิดขึ้นของ Google Doodle ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารเรื่องวันสำคัญได้อย่างมีประสิทธิภาพบนเว็บไซต์กูเกิลจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กัน

ประวัติศาสตร์ของ Google Doodle เริ่มในปี 1998 ซึ่งเป็นปีที่ผู้ก่อตั้งกูเกิลอย่างแลร์รี่และเซอร์เกย์ทดลองเล่นกับดีไซน์สัญลักษณ์กูเกิลในช่วงทดสอบเว็บ เพราะแรงบัลดาลใจจากงาน Burning Man festival เทศกาลศิลปะแบบสุดขั้วที่มีผู้ร่วมงานจำนวนมาก ภาพถูกเผยแพร่ในวันที่ 30 กันยายน 1998 จากนั้น 1 ปี Google Doodle ตัวจริงได้ฤกษ์เผยแพร่ต่อสาธารณชนในวัน Bastille Day โดยเป็นการออกแบบของเว็บมาสเตอร์ Dennis Hwang งานนี้ส้มหล่นใส่ Hwang เพราะนับจากนั้นเขาได้รับตำแหน่งเป็นประธานฝ่ายออกแบบ Doodle มาตลอด

ถึงวันนี้ กูเกิลได้ออกแบบ Doodle มากกว่า 300 ชิ้น แน่นอนว่าตัวเลขนี้จะเพิ่มต่อไปตามเทศกาลสำคัญ ซึ่งมีแต่คนกูเกิลที่จะรู้ว่า Doodle ชิ้นต่อไปจะปรากฏตัวบนเว็บไซต์กูเกิลในวันใด

4. ฉลองด้วยไอเดียและบุญ

2 ปีก่อนกูเกิลฉลองครบรอบ 10 ปีด้วยการตั้งโครงการ Project 10^100 (อ่านว่า "10 to the 100th” หรือ 10 ยกกำลัง 100) จุดประสงค์คือต้องการแสวงหา 5 ความคิดเยี่ยมเพื่อเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ โดยให้ผู้ใช้กูเกิลทั่วโลกร่วมกันเสนอสุดยอดแนวคิดเพื่อปรับปรุงคุณภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์ และกูเกิลพร้อมให้เงินงบประมาณกว่า 10 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อสานฝันสุดยอดไอเดีย 5 อันดับแรกให้เป็นความจริง ปีที่แล้วผ่านไปแบบไม่ได้ข้อสรุป มาปีนี้กูเกิลได้ฤกษ์ประกาศผล 5 สุดยอดไอเดียเปลี่ยนโลกจากทั้งหมด 150,000 ไอเดียอย่างเป็นทางการเสียที

รายแรกคือ สถาบัน Khan Academy ได้รับเงิน 2 ล้านเหรียญแก่โครงการบทเรียนออนไลน์ฟรี ประกอบด้วยวิดีโอ 1,800 ชิ้นซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุมทั้งคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และประวัติศาสตร์ รายที่ 2 คือ FIRST รับเงิน 3 ล้านเหรียญแก่โครงการจัดประกวดเพื่อเสริมสร้างความสนใจด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม โดยจะดึงวัยรุ่นมาประดิษฐ์หุ่นยนต์ และดึงเด็กมาร่วมแข่งขันประกอบตัวต่อเลโก้

รายที่ 3 คือกลุ่ม Public.Resource.Org ที่ได้รับเงินสนับสนุนไป 2 ล้านเหรียญแก่แนวคิดสร้างความโปร่งใสให้กับรัฐบาล ด้วยการเปิดทางให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลเอกสารภาครัฐฯโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ซึ่งปัจจุบันมีค่าบริการอยู่ที่ 8 เซนต์ต่อเอกสาร 1 แผ่น

รายที่ 4 คือบริษัท Shweeb ซึ่งได้รับเงินไป 1 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อโครงการนวัตกรรมขับขี่สาธารณะ โดยได้พัฒนายานที่มีลักษณะคล้ายรถราง monorail ที่มีระบบจักรยานให้ผู้ขับขี่ปั่นอยู่ภายใน และรายที่ 5 คือสถาบัน African Institute for Mathematical Sciences รับงบประมาณไป 2 ล้านเหรียญเพื่อการให้การศึกษาแก่เยาวชนในแอฟริกา จุดประสงค์หลักคือ AIMS ต้องการผลักดันให้นักศึกษาที่มีผลการเรียนดีได้รับโอกาสศึกษาคณิตศาสตร์ขั้นสูงขึ้น

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 27 กันยายน 2553 20:42 น.

วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553

"ทวิตเตอร์"สวรรค์ชั้น 7 แฮกเกอร์

เป็นเรื่องปกติที่โปรแกรมหรือบริการยอดนิยมจะถูกโจมตีจากนักแฮก ล่าสุด ภัยจู่โจมผู้ใช้ทวิตเตอร์ (Twitter) ที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็วเมื่อวันที่ 21-22 กันยายนที่ผ่านมา กลายเป็นสัญญาณชัดเจนว่าทวิตเตอร์กำลังจะเป็นเวทีแห่งใหม่ที่แฮกเกอร์นักเจาะระบบใช้เป็นเป้าหมายในการดำเนินการ ตอกย้ำว่าทวิตเตอร์นั้นเป็นบริการทรงอิทธิพลจนทำให้นักแฮกต้องการ "ลองของ"ในขณะนี้

วันที่ 21-22 กันยายน 2553 สื่อต่างประเทศรายงานว่าเว็บไซต์ทวิตเตอร์นั้นถูกเจาะระบบจนทำให้เว็บไซต์อนาจารของญี่ปุ่นปรากฏบนหน้าจอของเครื่องที่เปิดใช้งานทวิตเตอร์อยู่โดยที่ผู้ใช้ไม่ได้ตั้งใจ (Redirect) โดยปัญหานี้เกิดขึ้นจากข้อบกพร่องของระบบทวิตเตอร์ ซึ่งทำให้นักแฮกสามารถเขียนโปรแกรมขึ้นมาเพื่อรีไดเรกต์ผู้ใช้ไปยังเว็บอื่นได้แม้จะไม่มีการคลิกบนลิงก์เว็บไซต์ใดๆ

รายงานระบุว่า เมื่อผู้ใช้ทวิตเตอร์ถูกส่งเข้าไปที่หน้าเว็บไซต์อื่น เครื่องคอมพิวเตอร์จะติดเชื้อหนอน (Worm) ทันที ทำให้ข้อความอัปเดตสถานะที่ผู้ใช้พิมพ์ไปนั้นไม่ถูกแสดงตามปกติ แต่จะเป็นลักษณะโปรแกรมชุดคำสั่ง Code HTML แทน (ในภาพ 1) ซึ่งเพียงผู้รับข้อความลากเมาส์ผ่าน ข้อความดังกล่าวจะถูกส่งต่อหรือ RT ไปยังรายชื่อผู้ติดตาม (follower) ของสมาชิกโดยอัตโนมัติ

ปรากฏว่าผู้ใช้ทวิตเตอร์หลายหมื่นคนทั่วโลกได้รับผลกระทบจากการโจมตีข้อบกพร่องนี้ของทวิตเตอร์ จุดนี้ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาความปลอดภัยวิเคราะห์กันว่า แม้ทวิตเตอร์จะออกมาระบุว่าได้แก้ไขปัญหาข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นแล้ว และยืนยันว่าการแพร่กระจายนั้นจะไม่เกิดขึ้นอีกต่อไป แต่ทวิตเตอร์ก็ควรจะเพิ่มการรักษาความปลอดภัยให่รัดกุมกว่านี้ เหมือนที่ไมโครซอฟท์ อโดบี และเฟซบุ๊กต้องออกมาประกาศมาตรการรักษาความปลอดภัยอยู่เสมอ หากทวิตเตอร์ต้องการจะรักษาความเชื่อมั่นไว้ โดยเฉพาะกับหน่วยงานองค์กรที่สนใจใช้ทวิตเตอร์เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร

ในทางเทคนิค นักแฮกนั้นเลือกใช้คำสั่ง onMouseOver ในภาษา JavaScript ซึ่งอาศัยข้อบกพร่องในเว็บไซต์ทวิตเตอร์เพื่อทำให้แฮกเกอร์สามารถรีไดเรกต์เหยื่อไปยังหน้าเว็บไซต์ฝังโปรแกรมอันตรายไว้ จุดนี้ Beth Jones นักวิจัยภัยคุกคามอาวุโสของบริษัท Sophos ตั้งข้อสังเกตว่า การโจมตีระบบของทวิตเตอร์นั้นไม่ได้แปลว่าเว็บไซต์ทวิตเตอร์มีข้อบกพร่องมากกว่าเว็บไซต์ทั่วไป แต่เป็นเพราะแฮกเกอร์ให้ความสนใจกับทวิตเตอร์มากกว่า โดยเฉพาะความท้าทายในการทดสอบว่า หนอนร้ายจะแพร่กระจายตัวรวดเร็วเท่าใดในเครือข่ายสังคมยอดนิยมอย่างทวิตเตอร์

แน่นอนว่าหนอนร้ายแพร่กระจายไปสู่ผู้ใช้ทวิตเตอร์แบบไฟลามทุ่ง อย่างไรก็ตาม ชาวออนไลน์นั้นเชื่อกันว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะทวิตเตอร์นั้นละเลยกับแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขั้น โดย Masato Kinugawa นักแฮกชาวญี่ปุ่นออกมาประกาศว่าได้ค้นพบข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคมที่ผ่านมา และได้แจ้งเตือนทวิตเตอร์ให้รับทราบแต่ไม่มีการดำเนินการแก้ไขใดๆ ทั้งที่พนักงานทวิตเตอร์ก็รับรู้ถึงข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นแล้ว

อย่างไรก็ตาม Bob Lord ประธานฝ่ายรักษาความปลอดภัยทวิตเตอร์ยืนยันว่าบริษัทไม่เคยรับแจ้งเรื่องความเสี่ยงในการเกิดอันตรายของข้อบกพร่องในระบบทวิตเตอร์มาก่อน โดยระบุว่าทวิตเตอร์พบข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นเองและได้แก้ไขเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา แต่การปรับเว็บไซต์ทวิตเตอร์เวอร์ชันใหม่กลับทำให้ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นอีกครั้งโดยไม่ตั้งใจ ซึ่งหลังการแก้ไขข้อบกพร่องครั้งล่าสุดนี้ สมาชิกจะไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนรหัสผ่านหรือดำเนินการใดๆเพิ่มเติม

การปรับเว็บไซต์เวอร์ชันใหม่ที่ผู้บริหารทวิตเตอร์พูดถึงนั้นถูกแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 15 กันยายนที่ผ่านมา โดยหน้าเว็บไซต์ทวิตเตอร์โฉมใหม่จะแบ่งหน้าจอออกเป็นฝั่งซ้ายและขวา เพื่อให้ผู้ใช้สามารถอ่านข้อความทวีตตามปกติได้จากฝั่งซ้าย และเรียกดูคอนเทนต์ที่ต้องการได้ทันทีในฝั่งขวาของหน้าจอ ทั้งภาพถ่าย แผนที่ และคลิปวิดีโอ ผลคือผู้ใช้งานจะสามารถอ่านข้อความทวีตได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น

นักวิเคราะห์เชื่อว่าความสามารถใหม่ของทวิตเตอร์นั้นมีส่วนในการทำให้ทวิตเตอร์ตกเป็นเป้าโจมตีเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน การพัฒนาให้ทวิตเตอร์เป็นข้อมูลเรียลไทม์ที่เสิร์ชเอนจิ้นอย่าง Google และค่ายอื่นสามารถค้นหาพบ ก็เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ทวิตเตอร์ตกเป็นเค้กก้อนใหญ่ที่แฮกเกอร์จ้องจะ"ลองของ"ตาเป็นมัน และลงมือทดลองปั่นป่วนระบบเพื่อพิสูจน์ฝีมือที่ตัวเองมี

ที่สำคัญ นักวิเคราะห์ตั้งข้อสังเกตว่า ทวิตเตอร์นั้นกำหนดนโยบายรักษาความปลอดภัยพื้นฐานผิดพลาด โดยควรจะไม่อนุญาตให้มีการทวีตข้อความภาษา Javascript ตั้งแต่แรก เช่นเดียวกับที่เว็บไซต์ Web 2.0 หรือเว็บไซต์ที่เปิดให้ผู้ใช้สามารถโพสต์ข้อความได้อย่างอิสระเริ่มทยอยปรับปรุงระบบอย่างต่อเนื่อง สำหรับผู้บริโภค ทวิตเตอร์แนะนำให้ผู้ใช้ไม่คลิกลิงก์ที่ไม่น่าไว้วางใจ เพื่อป้องกันความเสียดายที่อาจเกิดขึ้นแม้ทวิตเตอร์จะแก้ไขข้อบกพร่องแล้ว

ทวิตเตอร์นั้นเป็นดาวรุ่งในวงการอินเทอร์เน็ตนับตั้งแต่เริ่มให้บริการในปี 2006 ในฐานะบริการที่เปิดให้ชาวเน็ตสามารถแบ่งปันความคิด สถานการณ์รอบตัว และกิจกรรมที่กำลังทำอยู่ได้เป็นข้อความไม่เกิน 140 ตัวอักษร มียอดการรับส่งข้อความสั้นราว 70 ล้านข้อความ (Tweet) ต่อวันทั่วโลก เป็นสถิติที่เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 53 ราว 20 ล้านทวีตต่อวัน โดยตัวเลข 70 ล้านทวีตต่อวันนั้นเท่ากับสมาชิกทวิตเตอร์นั้นโพสต์ข้อความทวีตโดยเฉลี่ย 800 ข้อความต่อวินาที

Company Related Link :
Twitter

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 23 กันยายน 2553 09:38 น.

เอเชียเซฟเทคเปิดตัว“เน็ตคลีน” บล็อกคอนเทนต์ล่วงละเมิดเด็ก

เอเชีย เซฟ เทค เปิดตัวเน็ตคลีนในไทย ช่วยบล็อกเนื้อหาการล่วงละเมิดทางเพศก่อนรุกตลาดทั่วเอเชีย กลุ่มเป้าหมายเป็นองค์กรธุรกิจ โรงแรม รีสอร์ต ผู้ใช้งานทั่วไป หลังมีผู้ใช้กว่าครึ่งล้านไลเซนส์ทั่วโลก

นายคริสเตียน สโฮเบิร์ก ผู้ก่อตั้งเน็ตคลีน กล่าวว่า เมื่อปี 2546 ปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศเด็กในสวีเดนเกิดขึ้นมากและต่อเนื่องไม่มีเครื่องมืออะไรที่ยับยั้งได้ เมื่อไม่มีเครื่องมือตนจึงได้ร่วมมือเป็นพันธมิตรกับองค์กร Word Childhood Foundation และ Save the Children รวมถึงหน่วยงานสืบสวนคดีอาชญากรรมของสวีเดนและได้เริ่มพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ใช้บล็อกเนื้อหาการล่วงละเมิดทางเพศเด็กที่เจ้าหน้าที่เป็นผู้บ่งชี้และจัดประเภทภาพเหล่านี้

ภายใน 1 ปีหลังจากเกิดความร่วมมือและการเดินหน้าพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อบล็อกเรื่องดังกล่าว เน็ตคลีนจึงเกิดขึ้นและมีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนเม.ย. 2548 ภายใต้ชื่อ “NetClean ProActive” สำหรับภาคธุรกิจและหน่วยงานราชการขึ้น โดยมีสมเด็จพระราชินีแห่งสวีเดนเสด็จฯร่วมงานด้วย

จนกระทั่ง 3 ปีที่ผ่านมาคริสเตียนได้พบกับเจคอบ โบห์เซน ผู้อำนวยการบริหาร บริษัท เอเชีย เซฟ เทค จนเกิดเป็นความร่วมมือขึ้น หลังมีการใช้งานซอฟต์แวร์ดังกล่าวแล้วกว่าครึ่งล้านไลเซนส์ทั่วโลก เอเชีย เซฟ เทคจึงมีแผนที่จะนำซอฟต์แวร์ดังกล่าวเข้ามาทำตลาดในเอเชีย ซึ่งเป็นแหล่งของการเกิดการล่วงละเมิดทางเพศเด็กจำนวนมากและมีการเปิดตัวในไทยอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 21 ก.ย.ที่ผ่านมา โดยเอเชีย เซฟ เทคจะเป็นผู้จัดจำหน่ายซอฟต์แวร์เน็ตคลีนแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย

“กลุ่มเป้าหลายหลักเราจะเป็นองค์กรธุรกิจ โรงแรม รีสอร์ท รวมถึงผู้ใช้ทั่วไปที่ไม่ต้องการให้การละเมิดทางเพศผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ใช้อยู่” เจคอบกล่าว

ด้านนายอันจัน โบเซ่ จาก ECPAT International กล่าวว่า การเกิดขึ้นของ NetClean ProActive เหมือนเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนการป้องกันการล่วงละเมิดทางเพศเด็กได้ดีขึ้น จากเดิมที่ไม่ค่อยมีเครื่องมืออะไรเข้ามาจัดการกับเรื่องดังกล่าว
เพิ่มวิดีโอ

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 23 กันยายน 2553 09:50 น.

แพนด้าฆ่าไวรัส !!

"ทอม" กลับมาแล้ว หลังซื้อกิจการแพนด้า ซิเคียวริตี้เอเชีย เปิดตัว Panda Cloud Office Protection แอนติไวรัสบนคลาวด์คอมพิวติ้ง หวังเจาะตลาดลูกค้าคอนซูเมอร์ ทั้งสมาร์ทโฟน พีซี โน้ตบุ๊ก ราคาสุดถูกแค่เดือนละ 30 บาท ตั้งเป้าลูกค้า 1 ล้านรายใน 2 ปี ชูจุดเด่นราคาถูก ใช้งานง่าย เหมือนมีที่ปรึกษาส่วนตัว

นายทอม เครือโสภณ ประธาน บริษัท แพนด้า ซิเคียวริตี้เอเชีย กล่าวว่า ได้เข้าซื้อกิจการของแพนด้าเอเชีย โดยถือหุ้นในสัดส่วน 49% เนื่องจากเล็งเห็นว่าสินค้าแอนติไวรัสของแพนด้าสามารถตอบโจทย์ความต้องการและพลิกโฉมแอนติไวรัสรูปแบบเดิมๆ โดยเฉพาะแอนติไวรัสที่ทำงานบนคลาวด์คอมพิวติ้ง ซึ่งสามารถดูแลเฝ้าระวังไวรัสบนคลาวคอมพิวติ้งแบบเรียลไทม์ โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีการลงทุนเซิร์ฟเวอร์ และวิ่งไปซื้อซอฟต์แวร์มาเป็นกล่องลงโปรแกรมเองและต้องคอยอัปเดตโปรแกรม และสแกนไวรัสด้วยตัวเองอย่างสม่ำเสมอ

'แพนด้าต้องการปลดล็อกบริการแอนติไวรัสแบบเดิมจึงได้นำเอาแอนติไวรัสไปไว้บนคลาวด์คอมพิวติ้งเพื่อช่วยให้ผู้ใช้บริการลดความซ้ำซ้อน และสะดวกสบายในการใช้บริการมากขึ้น ซึ่งผมมองว่าตลาดแอนติไวรัสบนคลาวด์คอมพิวติ้งใหญ่มากเพราะกระแสโซเชียลเน็ตเวิร์กกำลังมาแรง และไวรัสได้ถูกฝังตัวอยู่บนสื่อเหล่านี้'

อย่างไรก็ตามในเดือนต.ค.นี้แพนด้าจะเปิดแอนติไวรัสตัวใหม่ชื่อ "Panda Cloud Office Protection" เจาะกลุ่มลูกค้าคอนซูเมอร์ หลังจากได้เปิดให้บริการแก่ลูกค้าองค์กรในประเทศและต่างประเทศมาระยะหนึ่งแล้ว โดยที่ผ่านมาแอนติไวรัสตัวดังกล่าวได้รับการตอบรับจากประเทศจีนเป็นอย่างมากเนื่องจากใช้งานง่าย และสามารถลดต้นทุนการติดตั้งเพราะลูกค้าไม่จำเป็นตั้งเซิร์ฟเวอร์และดูแลหรือจัดการเอง โดยในครึ่งปีแรกทำรายได้ไปแล้ว 1.8 ล้านยูโร ส่วนในประเทศไทยก็มีบริษัท ทีโอที และบริษัท ทรูมูฟ นำไปใช้งานแล้วส่วนบริษัท กสท โทรคมนาคมอยู่ระหว่างเจรจา

สำหรับ Panda Cloud Office Protection มีค่าบริการเพียงเดือนละ 30 บาท หรือปีละ 300 บาทมีจุดเด่นที่แตกต่างจากแอนติไวรัสทั่วไปตรงที่ลูกค้าไม่จำเป็นต้องเดินทางไปหาซื้อแอนติไวรัสเป็นกล่องราคา 600 กว่าบาทมาลงโปรแกรม และอัปเดตการใช้งานเอง เพราะแอนติไวรัสตัวนี้ลูกค้าสามารถสั่งซื้อผ่านคอลเซ็นเตอร์ของแพนด้า

จากนั้นบริษัทจะจัดส่งอีเมล์แนบโปรแกรมให้ลูกค้าติดตั้งโปรแกรม หลังจากนั้นพนักงานของแพนด้าก็จะเห็นคอมพิวเตอร์ของลูกค้าผ่านระบบคลาวด์คอมพิวติ้งทันที และเมื่อลูกค้าทำการสแกนไวรัส หรือแพนด้าซึ่งจะคอยติดตามคอมพิวเตอร์เมื่อพบไวรัสต้องสงสัยก็จะส่งอีเมล์แจงลูกค้าว่าจะลบออกเอง หรือให้แพนด้าลบให้ และยังจะค่อยเคลียร์ขยะที่ไม่ใช้งานในเครื่องโดยการแจ้งไปยังลูกค้าลบเองหรือแพนด้าขออนุญาตลบให้

นอกจากนี้จุดเด่นหนึ่งที่แพนด้าแตกต่างจากคู่แข่งคือแพนด้าจะมอนิเตอร์ดูแลคอมพิวเตอร์ให้พร้อมทั้งดูแลและแนะนำเมื่อลูกค้าเกิดปัญหาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย โดยลูกค้าสามารถขอความช่วยเหลือผ่าน คอลเซ็นเตอร์ และ e-mail chat และหากลูกค้าไม่สามารถแก้ไขได้เองแพนด้าจะขออนุญาตเข้าไปแก้ไขให้เมื่อลูกค้าอนุญาต โดยทุกกรณีลูกค้าจะต้องอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ เพื่อความมั่นใจในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในเครื่อง

นายทอมกล่าวว่า แพนด้าตั้งเป้าจะมีลูกค้าที่ใช้บริการแอนติไวรัสตัวนี้ 1 ล้านรายภายใน 2 ปี ทั้งนี้มองว่าตลาดของซอฟต์แวร์ดังกล่าวมีขนาดใหญ่มาก โดยเฉพาะตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่สมาร์ทโฟน ซึ่งมีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้นเมื่อไทยมีเทคโนโลยี 3G ให้บริการรวมถึงตลาดเครื่องโน้ตบุ๊กพีซี เพราะแอนติไวรัสตัวนี้มีราคาถูก และใช้บริการได้ง่ายไม่ยุ่งยาก

Company Related Link :
Panda Security

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 22 กันยายน 2553 09:28 น.

วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

"Sandy Bridge" ชิปใหม่อินเทลบุกไทยปีหน้า

อินเทล (Intel) โชว์สถาปัตยกรรมชิปใหม่ "Sandy Bridge" กลางงานประชุมนักพัฒนาประจำปี Intel Developer Forum 2010 (IDF 2010) ซึ่งจัดขึ้นที่ซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา อินเทลเผยคอมพิวเตอร์พีซีและโน้ตบุ๊กที่มาพร้อมชิป Sandy Bridge จะวางจำหน่ายในประเทศไทยช่วงไตรมาสแรกปี 2011 ก่อนจะวางจำหน่ายรุ่นสำหรับองค์กรทั้งคอมพิวเตอร์แม่ข่ายและลูกข่ายในช่วงครึ่งปีหลัง เชื่อชิปใหม่จะทำให้คอมพิวเตอร์ทุกชนิดทั้งตั้งโต๊ะ พกพา เครื่องลูกข่าย และแม่ข่าย สามารถเคลื่อนตัวสู่โลกอนาคตได้อย่างภาคภูมิ

Stephen Smith รองประธานและผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจเครื่องลูกข่ายส่วนบุคคลของอินเทล ระบุว่าอินเทลพัฒนา Sandy Bridge ตามทิศทางพัฒนาการของเครื่องลูกข่ายในปัจจุบัน ซึ่งเห็นได้ชัดเจนว่าคอมพิวเตอร์พกพานั้นมีบทบาทมากกว่าคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะทำให้ Sandy Bridge เน้นตอบโจทย์ความสามารถด้านการใช้งานขณะเคลื่อนที่ ซึ่งจะมีจุดแข็งเรื่องการประหยัดพลังงานเต็มขั้น

สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้อินเทลออกแบบให้ Sandy Bridge ใช้เทคโนโลยีการผลิต 32 นาโนเมตร โดยชิปตระกูล Sandy Bridge รุ่นแรกที่จะวางจำหน่ายนั้นจะมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า Second Generation Intel Core ในช่วงครึ่งปีหลังของปีหน้า (2011) อินเทลย้ำว่าจะเป็นชิปที่สามารถใช้กับคอมพิวเตอร์พกพา คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ เซิร์ฟเวอร์ และเวิร์กสเตชัน

จุดแตกต่างสำคัญของ Sandy Bridge เมื่อเทียบกับชิปตระกูล Core i Series ที่อินเทลทำการตลาดในปัจจุบัน คือการออกแบบคอร์ประมวลผล CPU และส่วนประมวลผลกราฟิก GPU เพราะ Core i Series นั้นใช้ชิปหลายชิ้นประกอบกัน แต่ Sandy Bridge นั้นออกแบบให้ CPU และ GPU นั้นอยู่บนชิปแผ่นเดียวกัน ทั้งหมดนี้ทำให้เทคโนโลยีเปิดปิดคอร์ประมวลผลอัตโนมัติตามการใช้งาน "Intel Turbo Boost" ซึ่งอินเทลใช้เป็นจุดขายใน Core i Series จะสามารถทำงานบน GPU ได้ด้วย แทนที่จะทำงานบน CPU อย่างเดียวเช่นในปัจจุบัน

"ยกตัวอย่างเช่น หากผู้ใช้กำลังเล่นเกม ระบบก็จะเทพลังงานไปให้การประมวลผลกราฟิกมากขึ้น แต่หากผู้ใช้จะประมวลผลภาพ 3D ระบบก็จะเทพลังงานไปที่คอร์ประมวลผลมากกว่า ทั้งหมดนี้ชัดเจนว่าการประมวลผลภาพกราฟิกในเทคโนโลยี 32 นาโนเมตรจะให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่า"

นักวิเคราะห์เห็นด้วยกับผู้บริหารอินเทล โดยมองว่า Sandy Bridge จะสามารถประหยัดพลังงานได้มากกว่า Core i Series และแม้อินเทลจะยังไม่ยืนยันตัวเลขประสิทธิภาพที่แน่นอนของ Sandy Bridge แต่เชื่อว่าชิปใหม่จะมีความเร็วเหนือกว่า Core i Series โดยในช่วงแรก อินเทลจะวางจำหน่ายเฉพาะรุ่น 4 คอร์ที่สามารถทำงานได้ 8 โพรเซสพร้อมกันสำหรับกลุ่มผู้ใช้งานทั่วไป หลังจากนั้นจึงจะออกรุ่น 6 และ 8 คอร์สำหรับตลาดระดับบน

อินเทลแย้มว่ามีแผนพัฒนา Sandy Bridge รุ่นใหม่เทคโนโลยี 22 นาโนเมตรในชื่อรหัส "Ivy Bridge" ช่วงปี 2012 จุดนี้ Paul Otellini ซีอีโออินเทลระบุว่า Ivy Bridge นั้นกำลังรอคิวสู่การผลิตจริงในโรงงานแล้ว

งานนี้ซีอีโออินเทลให้สัมภาษณ์ถึงกรณีการซื้อบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์แอนตีไวรัส McAfee และแผนกผลิตชิปเทคโนโลยีไร้สายจากบริษัท Infineon Tecnologies ว่าจะเป็นการยกระดับการปกป้องผู้ใช้งานอินเทลอีกขั้น ซึ่งจะมีผลอย่างมากในตลาดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เคลื่อนที่ ทั้งหมดนี้เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ขยายตลาดใหม่ หลังจากปัจจุบัน อินเทลสามารถครองส่วนแบ่งตลาดหน่วยประมวลผลบนคอมพิวเตอร์พีซีได้มากกว่า 80% ทั่วโลก

Company Related Link :
Intel




หลังฮุบไซเบส เอสเอพีลุย "เอ็นเตอร์ไพรซ์ โมบิลิตี"

เอสเอพี ไซเบสแถลงกลยุทธ์หลังควบรวมกิจการ ตั้งมั่นเปลี่ยนโฉมหน้าของเอ็นเตอร์ไพร้ซ์โมบิลิตี เร่งปล่อยแผนยุทธศาสตร์ทิศทางสินค้า เดินทางเตรียมขึ้นเป็นผู้นำตลาดเอนเตอร์ไพร์ซแอปพลิเคชัน การวิเคราะห์ธุรกิจ และโครงสร้างโมบายล์

หลังจากที่ยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ระบบงานสัญชาติเยอรมนีอย่างเอสเอพี (SAP) ตัดสินใจซื้อบริษัทไซเบส (sybase Inc.) ด้วยมูลค่า 5.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ 1.92 แสนล้านบาท เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดยที่สื่ออเมริกันยกให้การเข้าซื้อกิจการในครั้งนี้ เป็นการประเดิมการลงทุนครั้งใหญ่ที่สุดของประธานบริหารร่วมหรือ co-CEO คนใหม่ของเอสเอพีนาม Bill McDermott และ Jim Hagemann Snabe ซึ่งเพิ่งรับตำแหน่งเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา หลังจากซีอีโอคนก่อน Leo Apotheker ลาตำแหน่งไป

โดยใช้ช่วงแรกนั้นเอสเอพีถูกวิพากวิจารณ์อย่างหนักว่าการเข้าซื้อไซเบสจะส่งผลให้เอสเอพีขาดสภาพคล่อง แม้จะมีนักวิเคราะห์ออกมายอมรับว่าประเด็นดังกล่าวจะส่งผลให้ยักษ์ใหญ่อย่างออราเคิลหวั่นไหว เนื่องจากเอสเอพีนั้นพยายามสร้างซอฟต์แวร์เพื่อให้องค์กรธุรกิจสามารถจัดการข้อมูลมหาศาลได้ดียิ่งขึ้น ผลคือเนื้องานของเอสเอพีและออราเคิลมีส่วนทับกัน นำไปสู่การแข่งขันโดยอ้อมๆ มาตลอด

เอสเอพีนั้นเล็งเห็นจุดเด่นในด้านโครงสร้างธุรกิจของไซเบส จึงให้ไซเบสดำเนินธุรกิจเป็นส่วนธุรกิจเอกเทศ และยังคงสนับสนุนการลงทุนของลูกค้าในโปรดักส์ของไซเบสต่อไป ล่าสุดทั้ง 2 บริษัทออกมาแถลงข่าวประกาศแผนยุทธศาสตร์และนวัตกรรมของโปรดักส์โดยจะแบ่งเป็น 3 ทิศทางคือ 1. เอ็นเตอร์ไพรซ์โมบิลิตี 2. การวิเคราะห์ธุรกิจ และ 3. การบริหารข้อมูลของเอ็นเตอร์ไพรซ์

โดย 9 เดือนต่อจากนี้ เอสเอพีและไซเบสจะร่วมมือผลักดันเทคโนโลยีแพลตฟอร์มโมบายล์สำหรับธุรกิจ ที่เป็นมาตรฐานแบบเปิด ส่งผลให้ลูกค้าได้รับประโยชน์จากเอ็นเตอร์ไพรซ์แอปพลิเคชันต่างๆ อาทิ SAP Business Suite, Business ByDesign ผ่านการใช้งานแบบสื่อสารไร้สาย นอกจากนี้ยังมีในส่วนของการพัฒนาโซลูชันพอร์ตโฟลิโอสำหรับ EIM ให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น และการปรับปรุงโครงสร้างเพื่อการวิเคราะห์ธุรกิจ เพื่อเหมาะสมการใช้ในภาวะการดำเนินธุรกิจ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเรียกใช้ข้อมูลจำเพาะทางธุรกิจได้บนเซิร์ฟเวอร์บริหารข้อมูลผ่านแอปพลิเคชัน SAP BusinessObjects business intelligent (BI) solutions

รายงานจากบริษัทวิจัยการ์ตเนอร์ระบุว่า การจากคาดการณ์อัตราการขยายตัวของการสื่อสารเคลื่อนที่ไร้สายนั้นจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 90% ภายในปี 2557

มร. บิล แมคเดอร์มอทท์ ประธานบริหารบริษัทเอสเอพี กล่าวว่า การรวมตัวของเอสเอพีและไซเบสเป็นรหัสสำคัญของการเปลี่ยนโฉมหน้าอุตสาหกรรมไอที หลังประกาศการตัดสินใจซื้อกิจการไซเบสได้ไม่ถึงสามเดือน บริษัทก็ได้จัดการประกาศตัวโปรดักส์สำคัญร่วมกัน ที่เชื่อมั่นว่าจะได้เข้ามามีผลในการเปลี่ยนแปลงวิถีปฏิบัติเชิงธุรกิจขององค์กรธุรกิจและผู้ใช้งานทั่วไป

"แผนยุทธศาสตร์โปรดักส์ทั้งหมดนี้ จะส่งผลให้เอสเอพีกลายเป็นเพียงบริษัทเดียวที่มีความพร้อม และสมรรถนะในการนำเสนอเอ็นเตอร์ไพรซ์ซอฟท์แวร์ รวมไปถึงการนำข้อมูลที่มีอยู่มาทำรายงานในรูปแบบต่างๆ เพื่อประโยชน์การตัดสินใจเชิงธุรกิจและรองรับการใช้งานบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ไร้สายได้ตามเวลาที่ต้องการ"

ล่าสุดเมื่อวันที่ 9 สิงหาคมที่ผ่านมา ไซเบสพาร์ตเนอร์ได้ทำการเปิดตัวโมบายล์แอปพลิเคชันสำหรับใช้กับเอสเอพีโซลูชันบน Sybase Unwired Platform โดยการเติบโตของระบบ Ecosystem ช่วยให้บริษัทสามารถเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเอ็นเตอร์ไพร้ซ์ ได้อย่างอิสระในการทำงานทั่วโลก รวมถึงความสามารถในการเข้าถึงผู้ใช้งานมากกว่า 4,000ล้านรายทั่วโลก ผ่านระบบส่งข้อความของไซเบสและ 900 โมบายล์โอเปอเรเตอร์

Company Related Links :
SAP
Sybase

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 14 กันยายน 2553 13:47 น.

ลือเอชพีทุ่มอีก 1.5 พันล้านเหรียญซื้อบ.ซีเคียวริตี้

สื่ออเมริกันรายงาน เอชพี (Hewlett-Packard) กำลังใกล้บรรลุการเจรจาเพื่อซื้อบริษัทซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์นามว่า ArcSight Inc. ด้วยเงินสด 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 46,000 ล้านบาท ยังไม่มีการยืนยันแต่คาดว่าเอชพีจะออกแถลงการณ์ภายในวันที่ 13 กันยายน 2553 ตามเวลาสหรัฐฯ

หนังสือพิมพ์ Wall Street Journal รายงานว่า มูลค่าเงิน 1,500 ล้านเหรียญที่เอชพีเตรียมไว้ในการซื้อ ArcSight นั้นคำนวณไว้สูงกว่ามูลค่าตลาด ArcSight ซึ่งอยู่ที่ราว 1,210 ล้านเหรียญเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา

ข่าวนี้สร้างความฮือฮาให้กับวงการไอทีอย่างมาก เนื่องจากก่อนหน้านี้ เอชพีนั้นประกาศซื้อบริษัทน้อยใหญ่หลากประเภทอย่างต่อเนื่อง เช่นผู้ผลิตสมาร์ทโฟนอย่างปาล์ม ผู้ให้บริการงานไอที บริษัทผู้ผลิตเครื่องมืออุปกรณ์เครือข่าย ทั้งหมดล้วนไม่อยู่ในกลุ่มธุรกิจจำหน่ายเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งมีสัดส่วนกำไรต่ำ โดยล่าสุด เอชพีสามารถเอาชนะเดลล์ในการประมูลเพื่อซื้อบริษัท 3Par ผู้พัฒนาระบบเก็บข้อมูลสำหรับองค์กรด้วยเงิน 2,350 ล้านเหรียญ สูงกว่ามูลค่าหุ้น 9.65 เหรียญของ 3Par ถึง 3 เท่าตัว

นักวิเคราะห์นั้นมองว่า การประกาศซื้อกิจการของเอชพีนั้นแสดงให้เห็นถึงการเน้นใช้เงินสดในการบริหารงาน สาเหตุหลักคือเพราะเอชพีมองว่าธุรกิจหลักที่เอชพีจับอยู่นั้นอาจไม่สามารถรักษาการเติบโตได้ยั่งยืนในอนาคต สำหรับ ArcSight นักวิเคราะห์เชื่อว่า เอชพีจะสามารถสร้างจุดขายในการให้บริการศูนย์กลางข้อมูลหรือดาต้าเซ็นเตอร์ได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น

สำหรับ ArcSight นั้นเป็นบริษัทที่มีฐานลูกค้ามากกว่า 1,000 รายในสหรัฐฯ ผลกำไรสุทธิในปีที่ผ่านมาคิดเป็น 28.4 ล้านเหรียญ คิดเป็นสัดส่วนเติบโตขึ้น 3 เท่าตัว เฉพาะยอดขายนั้นทะลุหลัก 181.4 ล้านเหรียญ แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการเติบโตได้เป็นอย่างดี

เอชพีไม่ใช่บริษัทเดียวที่สนใจในบริษัทซีเคียวริตี้ โดยก่อนหน้านี้ อินเทล (Intel) ก็ประกาศเทเงิน 7,680 ล้านเหรียญเพื่อซื้อ McAfee ผู้ผลิตโปรแกรมแอนตี้ไวรัสชื่อดังในมูลค่าหุ้นที่สูงกว่าตลาดถึง 60% ซึ่งอินเทลก็เชื่อว่า McAfee จะทำให้อินเทลมีจุดขายที่เหนือกว่าคู่แข่งได้

หลังข่าวลือถูกประกาศไป มูลค่าหุ้น ArcSight พุ่งขึ้นสวนทางกับมูลค่าหุ้นเอชพี ที่ตกลงต่อเนื่องนับตั้งแต่การลาตำแหน่งของซีอีโอเอชพี

Company Related Link :
HP

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 13 กันยายน 2553 17:45 น.

วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553

IBM โชว์ชิปคอมพ์เร็วสุดในโลก

ยักษ์ใหญ่สีฟ้าไอบีเอ็ม ประกาศความสำเร็จในการพัฒนาชิปประมวลผลคอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลก ให้ชื่อรุ่นว่า z196 เป็นชิปสำหรับคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์แบบ 4 คอร์ประมวลผลซึ่งประกอบด้วยทรานซิสเตอร์ 1,400 ล้านตัว บนพื้นที่ 512 มิลลิเมตร

ไอบีเอ็มอ้างว่า z196 สามารถจัดการงาน 50,000 ล้านคำสั่งต่อ 1 วินาที ทำงานที่สัญญาณนาฬิกา 5.2GHz โดยที่ยังไม่ผ่านการโอเวอร์คล็อกหรือการตั้งค่าพิเศษใดๆ ผลิตบนเทคโนโลยี 45 นาโนเมตรพร้อมเทคโนโลยี DRAM มีคิวติดตั้งในเครื่องเมนเฟรมรุ่นล่าสุดของไอบีเอ็มนามว่า zEnterprise 196 เพื่อวางจำหน่ายในวันที่ 10 กันยายนนี้

เมนเฟรมรุ่นดังกล่าว ไอบีเอ็มให้ข้อมูลว่าใช้เงินทุนวิจัยและพัฒนาถึง 1,500 ล้านเหรียญตลอด 3 ปีที่ผ่านมา โดยระบบ IBM zEnterprise System นี้จะมาพร้อมความสามารถที่สูงขึ้นกว่า System z10 เมนเฟรมรุ่นก่อนของไอบีเอ็มราว 60% ซึ่ง System z10 นี้ก็มีความสามารถเพิ่มขึ้นถึง 17,000 เท่าตัวเมื่อเทียบกับ Model 91 เมนเฟรมซึ่งไอบีเอ็มเปิดตัวในปี 1970

อย่างไรก็ตาม z196 ยังมีความเร็วน้อยกว่าชิป Venus CPU จากฟูจิตสึ ซึ่งประกาศว่าสามารถพัฒนาชิปที่สามารถทำงาน 128,000 ล้านคำสั่งต่อ 1 วินาที แต่ติดที่ชิปจากฟูจิตสึนั้นยังไม่พร้อมจะติดตั้งลงในสุดยอดคอมพิวเตอร์ในขณะนี้

Company Related Link :
IBM

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 8 กันยายน 2553 10:36 น.

วันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2553

หัวเว่ยทำได้ สมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ 100 เหรียญ

บริษัทจีนนั้นสามารถทำให้โลกตกตะลึงได้เสมอ ล่าสุดหัวเหว่ย (Hauwei) นำโทรศัพท์สมาร์ทโฟนตระกูล Ideos มาโชว์ในงาน IFA 2010 โดยยกจุดขายว่าจะเป็นสมาร์ทโฟนราคาเอื้อมถึงหรือ affordable smartphone ตัวแรกของโลก คาดว่าจะวางจำหน่ายในราคาราว 100-200 เหรียญสหรัฐ (ราว 3,200-6,400 บาท) วางคิวลุยตลาดทั้งในยุโรป เอเชีย อเมริกาเหนือ และลาตินอเมริกา

สมาร์ทโฟนจากหัวเหว่ยมีชื่อรุ่นอย่างเป็นทางการว่า Ideos U8150 มาพร้อมหน้าจอ QVGA ระบบสัมผัสแบบ capacitive ขนาด 2.8 นิ้ว กล้องดิจิตอล 3.2 ล้านพิกเซล รองรับระบบ 7.2Mbps HSDPA, 3G, WiFi, สามารถกระจายสัญญาณไว-ไฟแก่อุปกรณ์อื่นราว 8 ตัวพร้อมกัน, ใช้ระบบปฏิบัติการ Android 2.2 (Froyo) มีสีฟ้า ดำ ม่วง และเหลืองให้เลือก

อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้อาจจะต้องเผื่อใจไว้สำหรับความเร็วในการประมวลผล เนื่องจาก Ideos U8150 มาพร้อมหน่วยประมวลผล 528 MHz ไม่ใช่ชิป 1GHz ซึ่งถูกใช้ในสมาร์ทโฟนรุ่นบน โดยล่าสุดมีข่าวว่า ทีโมบายล์ของสหรัฐฯกำลังอยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อเป็นตัวแทนจำหน่ายสมาร์ทโฟนมังกรในแดนลุงแซม

นอกจากสมาร์ทโฟน หัวเหว่ยยังนำ 2 แท็บเล็ตหรือคอมพิวเตอร์พกพาหน้าจอสัมผัสทรงกระดานชนวนมาโชว์ด้วย หนึ่งคือต้นแบบ “media terminal” เครื่องเล่นมัลติมีเดียพกพาซึ่งหัวเหว่ยให้ชื่อว่า Hx ข้อมูลคุณสมบัติยังไม่ปรากฏแต่เชื่อว่าจุดประสงค์ในการสร้างคือเพื่อเจาะตลาดคอเกมและนักเซิร์ฟเน็ต คาดว่าจะวางจำหน่ายในราคาประหยัด

อีกรุ่นคือ Ideos Tablet S7 ซึ่งหัวเหว่ยเปิดตัวตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา มาพร้อมหน้าจอ 7 นิ้วความละเอียด 800x480 พิกเซล สามารถเซิร์ฟเน็ต ดูภาพ และเล่นวิดีโอได้ทุกที่ทุกเวลา มาพร้อมระบบปฏิบัติการ Android 2.1 ซึ่งจะเปลี่ยนเป็น 2.2 ได้ในเดือนพฤศจิกายนนี้ แต่ตัวเลขอายุแบตเตอรี่ใช้งานต่อเนื่องยังไม่โดดเด่น โดยข้อมูลเบื้องต้นระบุว่าสามารถเล่นวิดีโอความละเอียดสูง HD 720p ต่อเนื่องเพียง 3 ชั่วโมงและ 4 ชั่วโมงขึ้นไปสำหรับการเล่นวิดีโอธรรมดา

Ideos Tablet S7 มีกล้องดิจิตอล 2 ล้านพิกเซล มีพอร์ต microUSB แต่ไม่สามารถชาร์จไฟได้ โดยการชาร์จไฟจะทำผ่านสายชาร์จทั่วไป ไม่เพียงรองรับเครือข่ายไร้สาย WCDMA/HSPA GSM/GPRS/EDGE แท็บเล็ต Ideos S7 ยังรองรับการสื่อสารด้านเสียง เอสเอ็มเอส และเอ็มเอ็มเอสด้วย รองรับไว-ไฟ WiFi 802.11b/g/n ขนาดเครื่องบาง 15.5 มม น้ำหนัก 500 กรัม

คาดว่า Ideos Tablet S7 จะวางจำหน่ายราว 380 ยูโร (ราว 15,300 บาท) ซึ่งถือว่าราคายั่วใจไม่แพ้สมาร์ทโฟน




โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 5 กันยายน 2553 21:42 น.

วันเสาร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2553

เดลล์ยอมถอย ปล่อยเอชพีฮุบ 3PAR

เอชพี (Hewlett-Packard) ประสบความสำเร็จในการซื้อกิจการบริษัทเทคโนโลยีระบบจัดเก็บข้อมูลสำหรัลองค์กรนามว่า 3PAR แล้วอย่างเป็นทางการ หลังจากเดลล์ (Dell) ยอมถอยด้วยการปฏิเสธที่จะให้ราคาเกทับตามเอชพี ซึ่งเสนอราคาสูงถึง 33 เหรียญต่อหุ้น ส่งผลให้เอชพีสามารถฮุบ 3PAR ได้ในราคาเบ็ดเสร็จราว 2,400 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 78,000 ล้านบาท

การตัดสินใจจบศึกชิงนางกับเอชพีของเดลล์ จะทำให้เดลล์ได้รับเงินประกันมูลค่า 72 ล้านเหรียญ และเดลล์จะต้องหาทางสู้เอชพีต่อไปให้ได้ แม้จะไม่มีเขี้ยวเล็บจาก 3PAR มาเสริมความแข็งแกร่งในธุรกิจคลาวด์คอมพิวติง

ศึกชิงนางระหว่างเอชพีและเดลล์ (Dell) นั้นเริ่มตั้งแต่ช่วงกลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โดยเดลล์ยื่นข้อเสนอซื้อบริษัท 3PAR ด้วยเงิน 18 เหรียญสหรัฐต่อหุ้น จากนั้นไม่นาน เอชพีออกมาประกาศให้ราคาสูงกว่าถึง 24 เหรียญต่อหุ้น ก่อนจะขยับมาเป็น 27, 30 กระทั่งล่าสุดคือ 33 เหรียญต่อหุ้น ซึ่งทุกครั้งเดลล์นั้นประกาศสู้ราคาตามโดยตลอด ก่อนจะยกธงขาวที่ราคาสุดท้ายคือ 32 เหรียญต่อหุ้น

3PAR นั้นเป็นผู้ให้บริการโซลูชันระบบจัดเก็บข้อมูลสำหรับการใช้งานระดับสูง ซึ่งได้รับการออกแบบขึ้นเพื่อใช้เป็นระบบจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานสำหรับคอมพิวเตอร์ จะช่วยให้องค์กรด้านไอทีสามารถให้บริการซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ผ่านเซิร์ฟเวอร์ได้

นี่เองที่เป็นเหตุผลให้เอชพีและเดลล์ต้องแย่งชิงกันซื้อ 3PAR เนื่องจาก 3PAR คือตัวแปรสำคัญที่จะทำให้บริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ทั้งเครื่องลูกข่ายและแม่ข่ายอย่างเดลล์และเอชพีสามารถเสริมความแข็งแกร่งธุรกิจบริการที่เกี่ยวกับคลาวด์คอมพิวติงได้แบบก้าวกระโดด และโลกนี้ก็ไม่ได้มีบริษัทสตอเรจให้เลือกซื้อมากนัก

อ่านรายละเอียดสงครามของเดลล์และเอชพีเพิ่มเติมได้ที่ข่าว เปิดศึกชิงนาง "เอชพี VS เดลล์"

Company Related Links :
Dell
HP

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 กันยายน 2553 18:42 น.

Google exec worries over 'rudderless' Java

As if Oracle did not have enough work convincing MySQL users of its good intentions, the company also should set its sites on getting the Java platform back on track, contends a Google chief architect.

The Java platform has "appeared rudderless for the last few years," said Google's chief Java architect, Josh Bloch, speaking Wednesday at the Red Hat Middleware 2020 virtual conference. "A malaise [has fallen] over the community and the end is not in sight."

While Bloch admitted that the platform, which supports not only the Java language but other languages that run on the Java Virtual Machine such as Groovy and JavaFX, remains popular, he also stated that it has been beset by a number of problems.

"Technical and licensing disputes over the last few years have been highly detrimental. They've sapped the energy of the community and caused plenty of bad press," he said.

The problems around Java that Bloch mentioned largely predate Oracle's acquisition of Sun Microsystems, which oversaw the Java development process, and Bloch called on Oracle to step up as the prime steward of the language and associated platform software.

"Oracle should take the lead of Java once again," he said.

Bloch cited a number of shortcomings: the length of time between new versions of Java continue to grow; Java 7's ship date keeps slipping back; the future of the Java Community Process (JCP) remains murky. He noted that the code base is, for the first time, in danger of being forked.

Perhaps the largest drag on Java is its myriad licensing conditions, Bloch said. "The main thing that is hurting Java now is that there is a jungle of licensing," he said. As an example, he pointed to the existence of Apache Java Harmony, an alternative open-source implementation of Java that was developed to avoid Sun's licensing restrictions.

Bloch singled out the Java 2 Micro Edition (J2ME) as stagnating and falling behind the times. J2ME was not designed for the amount of power that devices have today. "It doesn't make sense to use a restrictive platform," he said, adding that the platform is in no shape to compete with the likes of Apple's iPhone.

At least one index of programming-language usage has found that Java is on a downward trend. Tiobe Software surveys the usage of programming languages by checking the number of mentions each language gets on Web search engines. For the first time in four years, Java, normally the most-cited language, has been surpassed in popularity by the C programming language. Tiobe attributes this decline to the growing use of other, simpler, languages that use the Java Virtual Machine.

Oracle has been under increasing scrutiny for its handling of Sun's open-source technology, not only with Java, but with MySQL as well. Not helping with the perception, Java founder James Gosling has left the company.

Yet Bloch sees Oracle as Java's savior. He pointed to the December 2007 resolution that Oracle put forth to the JCP of "an open independent vendor-neutral Standards Organization where all members participate on a level playing field."

Bloch said that the future success of Java would depend on this vendor-neutral setting, and he said he saw no reason why Oracle would no longer support this move. He also called on Oracle to simplify Java licensing.

The company could also provide a "true leader" for Java, one who "commands the respect of the technical community and one who can get releases out on a regular schedule with a clear focus," Bloch said.

Despite these issues, Bloch nonetheless expressed optimism for the future of the language, noting that any technology with as much inertia as Java will be around for a while. "The king is not dead. The king is alive and well. He has a slight cold," he said.

Later in the Web conference, Vijay Seetharaman, Hewlett-Packard's global Java capability lead manager for the company's enterprise services division, echoed many of Bloch's concerns, noting that the development of the language has stagnated and that it has been outgunned in the mobile space. But, like, Bloch, he saw Java as continuing to be a presence for some time to come.

"Java will remain a dominant platform in the enterprise space," he said.

http://www.pcworld.idg.com.au/article/343012/google_exec_worries_over_rudderless_java/